Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30480
Title: | การสืบทอดและบทบาทของพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาวกูย ที่บ้านละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | Transmission and the role of ancestral spirit worship of the Kui at Ban La-o, Amphoe Nam Kliang, Changwat Sisaket |
Authors: | พรรณวดี ศรีขาว |
Advisors: | สุกัญญา สุจฉายา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sukanya.Suj@Chula.ac.th |
Subjects: | กูย -- ไทย -- ศรีสะเกษ ความเชื่อ กูย -- ความเป็นอยู่และประเพณี พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสืบทอดและบทบาทของพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาวกูยที่บ้านละเอาะ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 โดยการสัมภาษณ์และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ผลการศึกษาพบว่า ชาวกูยบ้านละเอาะนับถือทั้งผีสะเอิงและผีแถนเป็นผีบรรพบุรุษประจำสายตระกูล ผีสะเอิงเป็นผีดั้งเดิมมีฐานะสูงกว่าผีแถนที่รับเข้ามา ทุกปีระหว่างเดือน 3 ถึงเดือน 6 จะจัดพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษขึ้น พิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษสืบทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้เพราะมีปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายใน คือ มีครูบาเป็นผู้สืบทอดองค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษและบริบทชุมชนบ้านละเอาะ รวมถึงปัจจัยภายนอก คือ นโยบายของภาครัฐที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกทางชาติพันธุ์ บทบาทของพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษที่มีต่อชุมชนบ้านละเอาะในปัจจุบัน คือ บทบาทในการสืบทอดฮีตคองของชาวกูยบ้านละเอาะ และบทบาทในการสั่งสอนลูกหลาน ขณะเดียวกันก็มีบทบาทในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชาวกูยและชาวลาว ทั้งยังมีบทบาทในการสร้างกำลังใจให้กับปัจเจกบุคคล รวมถึงมีบทบาทในการแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมของชาวกูยพิธีนี้สามารถตอบสนองความต้องการทางจิตใจและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน จึงดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้และกลายเป็นอัตลักษณ์สำคัญของชาวกูยบ้านละเอาะ |
Other Abstract: | This thesis aims to study the transmission and the role of ancestral spirit worship of the Kui at Ban La-o, Amphoe Namkliang, Changwat Sisaket. The researcher collected field data during 2010–2012 by interviewing and participant observation in the ancestral spirit worship. The analysis of the research found that the Kui at Ban La-o worship both Phi Sa-oeng and Phi Thaen as their family lineage’s ancestral spirits. Phi Sa-oeng is the original spirit with the higher status than Phi Thaen which is later acquired. Annually, during the third and the sixth month, villagers will arrange the ancestral spirit worship. The ancestral spirit worship is transmitted until today under many factors. The internal factors are Khru Ba, who transmits the knowledge about the ancestral spirit worship, and the context of Ban La-o community. The external factor is the government policy that promotes consciousness about ethnics. The ancestral spirit worship plays a role in Ban La-o community nowadays in terms of transmitting the customary law of the Kui at Ban La-o. At the same time, it also has roles in teaching descendants, uniting relationship between the Kui and the Lao, building the spirit for individuals in the community and showing possession of the ordinary area of the Kui. The worship can respond to the spiritual needs and build the strength in the community. These are the reasons why the worship is practiced until today and becomes the important identity of the Kui at Ban La-o. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30480 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1183 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1183 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pannawadee_sr.pdf | 4.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.