Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30495
Title: ลัทธิพิธีการนับถือเจ้าแม่สองนางกับชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง
Other Titles: Chao Mae Song Nang Spirit Cult and the Mekong Riverine communities
Authors: ภาณุพงศ์ อุดมศิลป์
Advisors: สุกัญญา สุจฉายา
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ตำนาน -- ลุ่มน้ำโขง
ความเชื่อ
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อและตำนานเจ้าแม่สองนางที่พบในชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง บทบาทของลัทธิพิธีเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนางที่มีต่อชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะพิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนาง อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร โดยมีขอบเขตวิจัยในเขตจังหวัดหนองบัวลำภูเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และมุกดาหาร ในระหว่างปี พ.ศ.2550-2554 ผลการศึกษาพบว่า มีตำนานเจ้าแม่สองนางอยู่ใน 13 ชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขง 22 สำนวน สำนวนมุขปาฐะ 15 สำนวน และลายลักษณ์ 7 สำนวน แบ่งได้เป็น 3 แบบเรื่อง (tale type) แบบเรื่องที่ 1 ธิดาเจ้าเมืองอพยพหนีสงครามทางเรือแล้วเรือล่มเสียชีวิต แบบเรื่องที่ 2 ธิดาเจ้าเมืองอพยพมาทางบก ป่วยแล้วเสียชีวิต และแบบเรื่องที่ 3 ธิดาเจ้าเมืองอาศัยอยู่ในหัวเมืองจนกระทั่งเสียชีวิต แบบเรื่องที่พบมากที่สุด คือ แบบเรื่องที่ 1 ทั้ง 3 แบบเรื่องล้วนเกี่ยวกับความเชื่อว่าเจ้าแม่เป็นเทพประจำศาลหลักบ้านตั้งแต่ตั้งชุมชน ชาวบ้านในชุมชนชายฝั่งลุ่มน้ำโขงล้วนเกี่ยวข้องกับเจ้าแม่สองนางที่มาจากลาว พิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนาง อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหารเป็นพิธีกรรมใหญ่และสำคัญที่สุดเนื่องจากเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม 4 พิธี ได้แก่ พิธีบวงสรวงเจ้าแม่สองนาง ประเพณีส่วงเฮือประจำปี ประเพณีสงกรานต์และถวายเครื่องบรรณาการแด่เจ้าแม่สองนางและเจ้าพ่อฟ้ามุงเมือง และพิธีถวายเครื่องบรรณาการแด่องค์พระธาตุพนม ทุกพิธีกรรมประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่แสดงสถานภาพของเจ้าแม่สองนางเสมือนเจ้าเมืองมุกดาหารและบรรพบุรุษในอดีต ที่ลงมาพบปะลูกหลานและให้ความหวังเรื่องความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งแก่ชุมชน ขจัดปัดเป่าเคราะห์ภัยและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ลูกหลานและชุมชน พิธีกรรมเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนางแสดงให้เห็นบทบาทต่อชุมชนชายฝั่งโขงในหลายมิติ บทบาทเหล่านี้ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตำนานเจ้าแม่สองนางมีบทบาทในการแสดงสำนึกร่วมความเป็นชาวลาวเวียงจันทน์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันที่อพยพมาตั้งชุมชนตามชายฝั่งลุ่มน้ำโขงฝั่งไทยในอดีต พิธีกรรมมีบทบาทในการให้ความหวังเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความมั่งคั่งแก่ชุมชน มีบทบาทในการให้ความหวังด้านความปลอดภัย การปกป้องคุ้มครอง และขจัดปัดเป่าเคราะห์ภัย เพื่อเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้แก่ลูกหลาน มีบทบาทในการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันและมีบทบาทในการสร้างเครือข่ายผู้สืบทอดอำนาจหน้าที่ทางวัฒนธรรมให้แก่ชุมชนอีกด้วย
Other Abstract: This thesis aims to study the belief and mythical legend of Chao Mae Song Nang Spirit in the Mekong Riverine communities, the roles of rituals performed in honor of Chao Mae Song Nang in Mueang Mukdaharn District, Mukdaharn Province. The scope of the study includes the communities in the province of Nong Bua Lamphu, Loei, Nong Khai, Bueng Kan, Nakhorn Phanom and Mukdaharn during the years 2007-2011. Findings of the study show that the mythical legend of Chao Mae Song Nang can be categorised in 13 Mekong Riverine communities, and in 22 versions: 15 in oral and 7 in written forms. The mythical legend was told in three tale types. The first tale-type tells about a daughter of the governor of Vientiane who took refuge from a war by boat and was drown. The second relates about a daughter of a governor who fled on land and died of sickness. The third is about a daughter of a governor who lived all her life until she passed away. The most frequently found is the first tale-type. Evidently, all tale-types have the same focal belief that Chao Mae Song Nang has been the deity of the town hall since the town was first settled, and people in the Mekong Riverine communities are all related to Chao Mae Song Nang from Laos. The ritual ceremony of Chao Mae Song Nang Spirit in Mueang Mukdaharn District, Mukdaharn Province is very important and biggest ceremony because it involves 4 rituals: The annual worship to Chao Mae Song Nang, Suang Huea Annual Festival, Songkran Festival with the ceremony of offering tributes to Chao Mae Song Nang and Chao Pho Fa Mung Mueang, and the ceremony of offering tributes to the relic of Phra Thatphanom. It is evident that all rituals and ceremonies signify the status of Chao Mae Song Nang as the governor of Mukdaharn Province and as the ancestor who came down from heaven to meet the offspring with the promise of giving prosperity and wealth, waving away misfortune and harm, heightening the spirits and building up the morale of offspring and communities. Conclusively, Chao Mae Song Nang Spirit Cult show their roles of serving the Mekong Riverine communities in various dimensions. These roles have been adapted accordingly to social contexts. The mythical legend of Chao Mae Song Nang gives everybody in the communities the realization of being a Laotian who shares the same ancestors migrating from Laos to settle in communities along the Mekong River in Thailand. The rituals play the role of providing fertility, prosperity, wealth, security, protectiveness, and removing misfortune, danger, and harm. The rituals also motivate, encourage, and build up morale of offspring. Through the participation in rituals, people of different ethnic groups are united and joined in the network to restore and inherit cultures of the communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30495
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1194
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1194
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panupong_ud.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.