Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30512
Title: | ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการออกกำลังกายด้วยชี่กงต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
Other Titles: | The effect of self-management program and Qi-Gong exercise on activity of daily living in persons with chronic obstructive pulmonary disease |
Authors: | ศุภลักษณ์ ไตรรัตนกุล |
Advisors: | สุรีพร ธนศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sureeporn.T@Chula.ac.th |
Subjects: | การออกกำลังกาย ปอด -- โรค ปอดอุดกั้น ซี่กง |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯและระหว่างทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เคยมีอาการกำเริบ และเข้ารับการรักษาที่งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางสะพานน้อย จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ราย จับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง จำนวนครั้งของการเกิดอาการกำเริบ เพศและอายุ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการออกกำลังกายด้วยชี่กง รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า 1. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังได้รับโปรแกรมฯของกลุ่มทดลองดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังได้รับโปรแกรมฯของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This quasi-experimental research aimed to compare to activity of daily living (ADL) between the experimental and control groups, and before and after the program. The subjects were COPD patients showing exacerbated symptoms, recruited from the emergency department, Bangsaphannoi Hospital, Prachuapkhirikhan province. Twenty pateins were assigned to each group: a control group and an experimental group that were matched in terms of frequency of exacerbation, sex and age. The control group received conventional care while the experimental group received the Self-management Program and Qi-gong exercise for six weeks. The instrument for collecting data was The London Chest Activity Of Daily Living Scale, with Cronbach’s alpha coefficient reliability of 0.89. Data were analyzed using descriptive statistics and t-tests. The major findings were as follows: The ADL of experimental group was significantly better (p<.05) after the program than before. After receiving the program, the ADL of the experimental group was significantly better than that of the control group (p<.05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30512 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1206 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1206 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supaluk_tr.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.