Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30522
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเยาวดี วิบูลย์ศรี-
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ ขัมภลิขิต-
dc.contributor.authorบัญชา แสนทวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-04-17T05:46:15Z-
dc.date.available2013-04-17T05:46:15Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745681164-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30522-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะนำรูปแบบขอราสช์มาประยุกต์ในการออกแบบโค้งแสดงสารสนเทศของแบบสอบด้วยการจัดข้อสอบที่มีระดับความยากง่ายให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของนักเรียน แล้วศึกษาความแม่นยำ (precision) ในการวัดของแบบสอบที่จัดข้อสอบตามระดับความสามารถของนักเรียนด้วยวิธีการหาค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าความสามารถของนักเรียนและค่าความเที่ยงของแบบสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2529 จำนวน 1,429 คน จากประชากรนักเรียน 10,527 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอนโดยการสุ่มแต่ละขั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่วัดจุดประสงค์เดียวกัน 2 ฉบับๆ ละ 60 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบผลสัมฤทธิ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นดังกล่าวมาแล้วไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบและโปรแกรมไบคาล (BICAL) เพื่อหาค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบและพารามิเตอร์ความสามารถของกลุ่มตัวอย่าง การจัดกลุ่มความสามารถของนักเรียนใช้เกณฑ์การพิจารณาช่วงของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นเกณฑ์ในการแบ่งความสามารถเป็น 3 ระดับ คือ ความสามารถสูง ความสามารถปานกลาง และความสามารถต่ำ นำค่าความยากของข้อสอบ (b) ที่เหมาะสมกับรูปแบบของราสช์มาคำนวณค่าฟังก์ชั่นแสดงสารสนเทศของข้อสอบและแบบสอบ (Item and test information function) ทำการเขียนโค้งแสดงสารสนเทศของแบบสอบ (Test information curve) ปรับปรุงโค้งให้เหมาะสมกับกลุ่มความสามารถที่ต้องการ นำข้อสอบที่บรรจุอยู่ในโค้งเหล่านั้นไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ระดับที่สุ่มไว้กลุ่มละ 200 คน เพื่อคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าความสามารถและค่าความเที่ยงของแบบสอบ ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าความสามารถระหว่างกลุ่มผู้ทดสอบต่างๆ กับแบบสอบที่วัดความสามารถทั้ง 3 ระดับโดยการใช้ Kruskall wallis test ส่วนค่าความเที่ยงของแบบสอบได้แปลงเป็นคะแนนมาตรฐานฟิชเชอร์ซี (Fisher Z : Z[subscript r]) แล้วทำการทดสอบรวมด้วยค่าไคสแควร์ (Chi square : X²) ก่อน เมื่อพบความแตกต่างจึงนำมาทดสอบเป็นรายคู่ด้วยสถิติ ทดสอบซี (Z-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มความสามารถต่ำและความสามารถสูง เมื่อทดสอบแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเองได้ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าความสามารถของนักเรียนแตกต่างจากแบบสอบที่เหมาะสมกับกลุ่มความสามารถอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (p < .01) ส่วนกลุ่มความสามารถปานกลางเมื่อทดสอบแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถต่างๆ ทั้ง 3 ระดับได้ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่าความสามารถไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (p < .05) 2. ค่าความเที่ยงของแบบสอบเมื่อกลุ่มความสามารถต่ำสอบแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถต่ำแล้วมีค่าสูงกว่าค่าความเที่ยงที่ได้จากแบบสอบฉบับอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (p < .01) กลุ่มความสามารถปานกลางสอบแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถปานกลางมีค่าความเที่ยงสูงกว่าที่ได้จากแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (p < .05) และมีค่าต่ำกว่าที่ได้จากแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (p < .01) ส่วนกลุ่มความสามารถสูงสอบแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถสูงได้ค่าความเที่ยงสูงกว่าที่ได้จากแบบสอบที่เหมาะสมกับความสามารถปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (p < .05)-
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this study was to apply the Rasch Model to design a test information curve by arranging the item difficulty indice of the test to suit best the students's abilities and then study its precision basing upon its standard errors of estimation and reliability coefficients. Of 10,527 Prathomsuksa 6 students in the academic year 1986, 1,429 were randomized by means of 2-stage simple sampling technique. Two 60-item mathematics achievement tests with 4 choices constructed by the author for the mentioned students were used as the instruments. The test were administered to the students and then the data were analyzed by BICAL Program to estimate their Q' s and b' s. Based upon ranges of the standard deviation of the test, the students were catigorized into 3 groups: high ability, moderate ability and low ability. The b' s of the items that their ICC's fit the expected ICC's of the model were used to calculate for their item and test information functions, and then a test information curve was drawn and smoothened to fit best the ability of the groups. All of the items under the curve were administered to 3 samples of the 3 groups, 200 students each. Their standard errors of estimation and reliability coefficients were calculated. The former were compared with the ones from the achievement tests by means of Kruskall Wallis Test while the later also with the ones from such tests by X²-tests after they were transformed into Fisher's Z' s. If any significant difference were found, multiple comparisons were test by z-tests. The findings can be summarized as follows: 1. When tested by the tests that suit their ability best, the standard errors of estimation of the low and high ability groups are significantly different from those of other group (p < .01) while those of the moderate ability group are insignificantly different (p < .05). 2. The reliability coefficient of the test that suits best the low ability group is the significantly highest of all (p < .01). When the test that suits best the moderate ability group was administered to the 3 ability groups, it yields significantly higher reliability coefficient for the moderate ability group than the one for the low ability group (p < .05), but significantly lower than the one for the high ability group (p < .01). In addition, when the test that suits best the high ability group was administered to the high ability group, it yields significantly higher reliability than one from the test that suits best the low ability group, but it is insignificantly different from the one of the test that suits best the moderate ability group (p < .05).-
dc.format.extent6601831 bytes-
dc.format.extent5039845 bytes-
dc.format.extent25119872 bytes-
dc.format.extent11054996 bytes-
dc.format.extent15332887 bytes-
dc.format.extent5571383 bytes-
dc.format.extent16421601 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการประยุกต์รูปแบบของราสช์ในการออกแบบโค้งแสดงสารสนเทศ ของแบบสอบผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ตามระดับความสามารถ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en
dc.title.alternativeAn application of reasch model to design test information curve for mathematics achieivement test according to the ability level of prathom suksa six studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bancha_sa_front.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open
Bancha_sa_ch1.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open
Bancha_sa_ch2.pdf24.53 MBAdobe PDFView/Open
Bancha_sa_ch3.pdf10.8 MBAdobe PDFView/Open
Bancha_sa_ch4.pdf14.97 MBAdobe PDFView/Open
Bancha_sa_ch5.pdf5.44 MBAdobe PDFView/Open
Bancha_sa_back.pdf16.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.