Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30576
Title: | เครื่องแก้ตัวประกอบกำลังแบบ 3 เฟสสำหรับโหลดเรียงกระแส |
Other Titles: | A three-phase power factor corrector for rectifier load |
Authors: | ธีรพล เดโชเกียรติถวัลย์ |
Advisors: | โคทม อารียา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้กล่าวถึงการออกแบบสร้างและทดสอบเครื่องแก้ตัวประกอบกำลังแบบ 3 เฟส สำหรับโหลด เรียงกระแส เพื่อให้กระแสของสายกำลังมีรูปคลื่นใกล้เคียงไซน์ที่มีเฟสตรงกับแรงดันสายกำลัง ซึ่งมีผลทำให้ตัวประกอบกำลังมีค่าใกล้เคียงหนึ่ง เครื่องแก้ตัวประกอบด้วยตัวเก็บประจุซึ่งมีพลังงานสะสมอยู่ ตัวเหนี่ยวนำ และสวิตช์กำลัง เครื่องแก้ตัวประกอบกำลังจะเป็นตัวจัดแจงกำลังไฟฟ้ารีแอกตีฟให้กับโหลด ตราบใดที่แรงดันตกคร่อมตัวเก็บประจุมีค่าสูงพอคือสูงกว่าค่ายอดของแรงดันสายกำลัง การตัดต่อสวิตช์จะสามารถควบคุมรูปคลื่นกระแสของสายกำลังให้เป็นไซน์คำสั่งที่ใช้กำหนดแอมพลิจูดของกระแสสายกำลังได้มาจากการเปรียบเทียบแรงดันตัวเก็บประจุของวงจรแก้ตัวประกอบกำลังกับแรงดันอ้างอิง ทั้งนี้เพื่อการคงค่าแรงดันตัวเก็บประจุ วงจรแก้ตัวประกอบกำลังที่สร้างได้นำไปทดสอบกับวงจรเรียงกระแส 3 เฟสซึ่งกำลังที่โหลดมีค่าประมาณ 850 W กำลังสูญเสียในวงจรแก้ตัวประกอบกำลังมีค่าประมาณ 6% ของกำลังด้านเข้า วงจรแก้ตัวประกอบกำลังได้ช่วยลดอัตราการเพี้ยนรวมจาก 19.9% เป็น 2.9%. |
Other Abstract: | This thesis presents the design, construction and testing of a three-phase power factor corrector for rectifier load. This circuit supplies reactive power to the load and consists of a capacitor to store energy, inductors and power switches. It the capacitor voltage is higher than the amplitude of the phase voltage, the inductor current waveform can be controlled by controlling the switches. The current feedback aims at achieving sinusoidal line current which is in phase with phase voltage so that the power factor is nearly unity. A voltage feedback is used to regulate the capacitor voltage. The power factor corrector was found to be about 6% of the input power. The use of the corrector resulted in improving the THD from 19.9% to 2.9%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30576 |
ISBN: | 9746355651 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teerapon_da_front.pdf | 706.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapon_da_ch1.pdf | 404.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapon_da_ch2.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapon_da_ch3.pdf | 868.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapon_da_ch4.pdf | 301.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teerapon_da_back.pdf | 333.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.