Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30669
Title: ความหมายของการขัดขืนอำนาจของสังคมผ่านการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ไทย ระหว่าง พ.ศ. 2513 – 2550
Other Titles: Meaning of counter–social power through narrative form of Thai films during 1970–2007
Authors: ขจิตขวัญ กิจวิสาละ
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: ภาพยนตร์ไทย
อุดมการณ์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประกอบสร้างความหมายให้แก่บุคคลและกลุ่มคนที่ขัดขืนอำนาจของสังคม ผ่านระบบสัญญะของการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ไทย และศึกษาผลลัพธ์จากกระบวนการประกอบสร้างความหมาย ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร อุดมการณ์ และอัตลักษณ์ โดยใช้การวิเคราะห์ ตัวบท (textual analysis) ทำการศึกษาภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องการต่อสู้ของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ลุกขึ้นมาปฏิบัติการเพื่อปฏิเสธอำนาจควบคุมของสังคมที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2513 - 2550 ผลการวิจัย พบว่า จากจำนวนภาพยนตร์ทั้งสิ้น 57 เรื่อง ในด้านกระบวนการประกอบสร้างความหมาย ภาพยนตร์ประเภทขัดขืน/ ต่อสู้อำนาจของสังคมนั้น มีทั้งหลักไวยากรณ์ที่ไม่ต่างจากหลักการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ทั่วไป แต่ในอีกด้านก็มีลักษณะเฉพาะในกระบวนการประกอบสร้างความหมายผ่านการเล่าเรื่องในองค์ประกอบด้านตัวละคร โครงเรื่อง ตอนจบ แก่นเรื่อง และการสร้างพื้นที่จริงลวงในตัวบทภาพยนตร์ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขัดขืนกับสังคมพบว่าผู้ขัดขืนในภาพยนตร์ถูกประกอบสร้างให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและสังคม มีมิตรหลายลักษณะ แต่ครึ่งหนึ่งกลับเป็นมิตรที่เป็นอุปสรรคในการต่อสู้ ขณะที่ในกลุ่มศัตรูมักพบแต่ศัตรูในระดับปัจเจกบุคคลเป็นส่วนใหญ่ มีศัตรูเพียงส่วนน้อยที่จะเป็นระดับสถาบันหรือสังคม ในด้านอุดมการณ์ แม้จะเป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องผู้ขัดขืนอำนาจของสังคม แต่ครึ่งหนึ่งของภาพยนตร์กลับประกอบสร้างอุดมการณ์ให้ผู้ขัดขืนถอยออกจากการต่อสู้ ทั้งนี้ยังพบการทำงานของอุดมการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องลักษณะทางชนชั้น (Non- class Ideology) ที่ทำงานเป็นตาข่ายสนับสนุนอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชนชั้นโดยตรง (Class Ideology) เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ ได้แก่ อุดมการณ์ความมีน้ำใจ การประกอบอาชีพสุจริตไม่ผิดจารีต ความมุ่งมั่นในวิชาชีพ และความขยัน ในด้านอัตลักษณ์ ผู้ขัดขืนถูกประกอบสร้างให้เป็นชายมากกว่าหญิง อายุตั้งแต่ 15 – 60 ปี อาจเป็น ชนชั้นล่างหรือชนชั้นกลาง มีการศึกษาไม่สูงนัก มีทั้งที่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานทั่วไป และอาชีพที่ผิดจารีตของสังคม บุคลิกเรียบร้อย ปฏิบัติดีต่อครอบครัวและคนที่อ่อนแอกว่า มีน้ำใจ รักเพื่อนและขยัน พวกเขากล้าลุกขึ้นมาต่อสู้ (active) กล้าปกป้องสิทธิของตนเอง แต่ส่วนน้อยที่จะก้าวไปสู่การปกป้องสิทธิของคนอื่นและสังคม
Other Abstract: The aim of this research is to study the process of the meaning construction for individual and a group of individuals who counter social power through system of narrative form of Thai films. It is also aimed to study the outcome of the meaning construction process that compose of relationship between characters, ideology and identity by using textual analysis studying on an individual or people who were uprising against the social power during 1970-2007 film. The result of this research found that, from 57 studied movies, in a term of the meaning construction process, the social-counter power film genre, on one hand, has shared a common narrative structure to the other sorts of film. On the other hand, it has its specific character of the meaning construction process in terms of character, plot, theme and a construction in real and seemingness spaces. In the part of relationship between the resistant and public, this research discovered that the resistant in the films have been constructed as a person who has good relationship with their family and society. They also have various sorts of friends but a half of them are friends that incommode their fighting. Meanwhile enemy they have faced mostly are in form of personal level, only less of them are in form of institutional or social level. In the part of ideology, although, these films have told stories about the counter-social power people, half of them ideologically made these resistant retreating from their fights. Moreover, it has discovered a function of a non-class ideology that works supportively with a class ideology in order to support the fights. Non-class ideologies are namely generosity, a legal occupation in accordance with social norm, enthusiasm and sedulousness. In the part of identity, the resistant have been majorly constructed as a man, age between 15-60 year olds. They might be a lower or middle class man with a low education who is a white-collar shirt or a person who works dissonantly to social norm. They have a proper manner, generosity and sedulousness. They provide a well treat to their own family as same as to weakling and love to their friend. They actively protect their own rights but less of them are progressively protect rights of the others or of the public.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30669
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.363
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.363
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kajitkwan_ki.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.