Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30682
Title: การวิเคราะห์ผลของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การทดลองแบบอนุกรมเวลา
Other Titles: An analysis of the effects of creative problem solving process on creative problem solving ability, teamwork skills, and self-esteem of lower secondary school students: a time series experiment
Authors: นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Auyporn.R@chula.ac.th
Subjects: การแก้ปัญหา
ความคิดสร้างสรรค์
การทำงานเป็นทีม
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
ความนับถือตนเอง
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ออกแบบกิจกรรมที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่มและการเห็นคุณค่าในตนเอง ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมแบบปกติ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่มและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนก่อนและหลังการทดลอง และ4) ศึกษาความคงทนของผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่มและการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (2) แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม 3) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าความเที่ยง 0.827, 0.964, และ 0.703 ตามลำดับ (4) แผนการจัดกิจกรรมแบบใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และแบบปกติ วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (repeated measure ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) กิจกรรมที่ใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การใช้คลิปวิดีโอ กระบวนการวิเคราะห์ SWOT วิธีการคิดแบบใยแมงมุม การระดมสมองโดยการเขียน การระดมสมองโดยการใช้การ์ด และกระบวนการการวิเคราะห์ RACI chat (2) ผลการเปรียบเทียบหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนทักษะการทำงานกลุ่มและการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานกลุ่ม และการเห็นคุณค่าในตนเองของหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีทักษะการทำงานกลุ่มและการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ผลการศึกษาความคงทนของผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองพบว่าไม่มีความคงทน ส่วนทักษะการทำงานกลุ่มและการเห็นคุณค่าในตนเองของทั้งสองกลุ่มมีความคงทน
Other Abstract: This research aimed to (1) design activities to be used in each stage of the creative problem solving process, (2) compare the creative problem solving ability, teamwork skills, and self-esteem of the students provided with creative problem solving process activities and those provided regular activities, (3) compare the creative problem solving ability, teamwork skills, and self-esteem of students before and after the experiment, and (4) study the duration of the development of creative problem solving ability, teamwork skills, and self-esteem of students in the experimental group and those in the control group. This research is a semi-experimental and time series experimental research methodology were employed in this study. The sample is 60 lower secondary school students. Research instrument were: (1) creative problem solving ability measurement form, (2) teamwork skills test, (3) and self-esteem measurement form, with reliability values of 0.827, 0.964, and 0.703, respectively; and (4) arrangement plans of creative problem solving process activities and regular activities. The research results were analyzed using repeated measure ANOVA. The research results can be summarized as follows: (1) Creative problem solving process activities included video clips, SWOT analysis process, web of abstraction, brainstorming writing, card brainstorming, and RACI chart analysis. (2) The comparison results after the experiment show that students in the experimental group had a higher creative problem solving ability than those in the control group at a statistically significant level of 0.05. Meanwhile, teamwork skills, and self-esteem of students in both groups were statistically significantly indifferent at the level of 0.05. (3) The experimental group had a higher level of creative problem solving ability, teamwork skills, and self-esteem after the experiment than before the experiment at a statistically significant level of 0.05. The control group had a higher level of teamwork skills and self-esteem after the experiment than before the experiment at a statistically significant level of 0.05. (4) The study of the duration of the development results of creative problem solving ability of the experimental group showed that the result was temporary while teamwork skills and self-esteem of both groups were longer-lasting.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30682
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2039
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2039
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipitporn_go.pdf30.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.