Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30684
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorอรญา อัญโย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-04-27T11:02:00Z-
dc.date.available2013-04-27T11:02:00Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30684-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟ 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟกับกลุ่มปกติ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟกับกลุ่มปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายนจำนวน 88 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 45 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 43 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟ และนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานด้านมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชันแบบทดสอบวัดความสามารถพื้นฐานในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชัน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟมีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study mathematical concepts of tenth grade students being taught by organizing mathematics learning activity by using multiple representations and graphic calculator. 2) to compare the mathematical concepts of tenth grade students between group being taught by organizing mathematics learning activity by using multiple representations and graphic calculator and by organizing conventional mathematics learning activities. 3) to compare the mathematical problem solving abilities of tenth grade students between group being taught by organizing mathematics learning activity by using multiple representations and graphic calculator and by using conventional mathematics learning activities The subjects were 88 tenth grade students in academic year 2010 of Deebukphangnga Wittayayon School. They were divided into two groups: an experimental group with 45 students and one control group with 43 students. Students in the experimental group were taught by organizing mathematics learning activity by using multiple representations and graphic calculator and those in the control group were taught by conventional mathematics learning activities. The research instruments were the mathematical concept test and the mathematical problem solving ability test. The experimental materials were lesson plans for organizing mathematics learning activity by using multiple representations and graphic calculator and those in the control group were taught by conventional mathematics learning activities and conventional lesson plans. The data were analyzed by using arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, and t-test. The results of the research revealed that: 1) Mathematical concepts of the students who were taught by using multiple representations and graphic calculator were higher than the minimum criteria of 50% at .05 level of significance. 2) Mathematical concepts of the students who were taught by using multiple representations and graphic calculator were also higher than those of the students who had been taught by conventional mathematics learning activities at .05 level of significance. 3) Mathematical problem solving abilities of the students who were taught by using multiple representations and graphic calculator were not differently higher than those of the students who had been taught by conventional mathematics learning activities at .05 level of significance.en
dc.format.extent3366937 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2041-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectฟังก์ชันen
dc.subjectการแก้ปัญหาen
dc.subjectความคิดรวบยอดen
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยบูรณาการการใช้ตัวแทนที่หลากหลายและเครื่องคำนวณเชิงกราฟที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชันen
dc.title.alternativeEffects of organizing mathematics learning activities by using multiple representations and graphic calculator on mathematics concept and problem solving ability of functionsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาคณิตศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAumporn.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.2041-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orraya_un.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.