Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30721
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณชลัท สุริโยธิน-
dc.contributor.authorธนเดช ถมประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-05-01T09:28:16Z-
dc.date.available2013-05-01T09:28:16Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30721-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการออกแบบแสงสว่างนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมทัศนียภาพในเวลากลางคืน จะเห็นได้ว่าประเทศที่มีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวหลายแห่งได้นำการออกแบบแสงสว่างมาเป็นส่วนสำคัญหนึ่งสำหรับแผนพัฒนาภาพลักษณ์ของชุมชนเมือง (city beautification) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการออกแบบการส่องสว่างไปยังสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่มีรูปทรงโดดเด่น หรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สำหรับในประเทศไทยแล้ว พระเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นทางด้านรูปทรง เป็นหลักฐานที่สำคัญที่แสดงออกถึงศิลปะวัฒนธรรม และเป็นจุดหมายตา (landmark) สำคัญของชุมชนเมือง การศึกษานี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะทางที่ตั้งของพระเจดีย์ และลักษณะองค์ประกอบของพระเจดีย์ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการออกแบบแสงสว่าง โดยมีขอบเขตการศึกษาเป็นพระเจดีย์ในกรุงเทพมหานครจำนวน 30 พระเจดีย์ การศึกษาองค์ประกอบใช้วิธีการแยกองค์ประกอบของพระเจดีย์ออกเพื่อพิจารณาคุณสมบัติทางการมองเห็น (visual perception) ของแต่ละองค์ประกอบย่อยตามหลักมูลฐานการออกแบบ (design fundamentals) และเสนอทางเลือกการให้แสงด้วยวิธีการส่องเน้นแต่ละองค์ประกอบย่อยจากการประยุกต์องค์ความรู้ในการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พระเจดีย์ในกรุงเทพฯ มีความสูงตั้งแต่ 8 เมตร ถึง 94 เมตร ลักษณะรูปทรงของพระเจดีย์ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นชั้นๆตามนอน โดยลักษณะย่อยขององค์ประกอบสามารถจำแนกได้ 7 ลักษณะ พระเจดีย์ที่ความสูงมากกว่าบริบทโดยรอบมักจะสามารถมองเห็นได้จากทางสัญจรหลัก ได้แก่ ถนน และแม่น้ำ และระยะโดยรอบที่สามารถติดตั้งดวงโคมได้มี 4 ระยะ ซึ่งแต่ละระยะที่ติดตั้งดวงโคมจะส่งผลต่อลักษณะทางแสงเงาที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวการออกแบบแสงสว่างในช่วงเวลาปกติที่ไม่มีเทศกาลด้วยวิธีการสาดส่อง (floodlighting) หรือการส่องเน้นองค์ประกอบย่อย(detail lighting) โดยมีการคำนึงถึงการเน้นลักษณะสามมิติของรูปทรง เพื่อส่งเสริมการมองเห็นรูปทรงของพระเจดีย์ซึ่งมีลักษณะที่โดดเด่นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่อาจพิจารณาส่องเน้นแยกในแต่ละองค์ประกอบ เพื่อให้แสงกระจายได้ทั่วถึง จากรูปทรงส่วนใหญ่ที่มีการแบ่งชั้นตามทางนอน การให้แสงส่องเน้นแบบส่องขึ้น (uplighting) นั้นสามารถสร้างเงาที่เน้นการแบ่งชั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการติดตั้งดวงโคมในระยะใกล้ทำให้เกิดเงาตกทอดมากกว่า การไล่น้ำหนักแสง (gradient) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยขับเน้นลักษณะสามมิติของพระเจดีย์มากยิ่งขึ้น และการให้แสงโดยรวมไม่ควรมีความจ้ามากเกินไป เพื่อให้เกิดความรู้สึกสงบและสบายตาen
dc.description.abstractalternativeLighting design is an important component which helps promote security and improve the image of a city at night time. Governments in many countries consider lighting as a part of their “City Beautification” policies to attract tourists. One important part is to plan about illuminating attractive or historically significant structures. Considered with those qualifications, Thai stupas achieve both the uniqueness of their forms and the importance of their cultural background. These factors make them worthy enough to be considered to be lit. The purpose of this study is to analyze characteristics of the surroundings together with the shape of stupas’ components to find out possible lighting techniques, based on the collected data of 30 stupas from royal monasteries in Bangkok. Research shows that the height of stupas in Bangkok varies from 8 meters to 94 meters. Based on the characteristic of visual elements, the components of the sampling can be divided in 7 types. The stupas which are higher than the surrounding environment can be seen well from main roads or rivers. The setting of luminaries can be considered in 4 groups of distance, which can cause different effects of light and shadows on the stupas. Lighting design approaches for non-festival days are proposed. Floodlighting and detail lighting techniques are suggested for stupas to help revealing the dominant characteristic of form. For the good distribution of light for major parts of the stupas, the detail lighting techniques should be considered. Stupas are generally designed to show the horizontal lines and steps, therefore uplighting technique can reveal the shadows of each step more than illuminating from the other directions. Installing luminaires closer to stupas cast sharper and longer shadow. Gradation of the light intensity on the surface of form is a factor that helps enhance its three dimensional effect. To promote the sense of peace and visual comfort ,the overall light on the stupa should not be too bright.en
dc.format.extent17423259 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1226-
dc.subjectเจดีย์ -- ไทยen
dc.subjectเจดีย์ -- แสงสว่างen
dc.subjectสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาen
dc.subjectการออกแบบสถาปัตยกรรมen
dc.titleแนวทางการออกแบบแสงสว่างส่องพระเจดีย์ไทยในกรุงเทพฯen
dc.title.alternativeLighting Design approaches for Thai Stupas in Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsphancha@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1226-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanadej_th.pdf17.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.