Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30734
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร | - |
dc.contributor.author | มณฑิณี ยิ่งเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-05-02T02:41:37Z | - |
dc.date.available | 2013-05-02T02:41:37Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30734 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | ค่าเสียหายเนื่องจากความล่าช้าเป็นหัวข้อหนึ่งในสัญญาที่เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างและผู้รับเหมาในจำนวนค่าเสียหายต่อวันที่ผู้รับเหมาจะรับผิดชอบในกรณีที่ผู้รับเหมาไม่สามารถดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาสิ้นสุดโครงการได้ การกำหนดจำนวนค่าเสียหายของงานก่อสร้างในประเทศไทยมักกำหนดด้วยอัตราสูงสุดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 โดยไม่มีเหตุผลรองรับ ปัญหาที่ตามมาคือการฟ้องร้องดำเนินคดีโดยผู้รับเหมา การตัดสินคดีความส่วนใหญ่สิ้นสุดลงที่การใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ในการลดจำนวนค่าเสียหายลงตามควร งานวิจัยมุ่งเน้นการศึกษาการกำหนดค่าเสียหายเนื่องจากความล่าช้าตามหลักของ Common Law System เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว วัตถุประสงค์ของงานวิจัยประกอบด้วยการศึกษาการเขียนสัญญาที่มีผลต่อการบังคับใช้หัวข้อค่าเสียหายเนื่องจากความล่าช้า การเสนอแนวทางในการประเมินความเสียหาย การประเมินความเสียหายโครงการตัวอย่างและการหาโอกาสการเกิดความเสียหาย งานวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ 3 ส่วนในการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการก่อสร้างทางรถไฟฟ้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทยและบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ได้นำมาวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของสัญญา การคำนวณค่าเสียหายและการคำนวณค่าความน่าจะเป็น ส่วนการเสนอแนวทางการประเมินความเสียหายมี 3 วิธีขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางข้อมูล ได้แก่ (1) การใช้สถิติสร้างสมการเมื่อมีข้อมูลเพียงพอ (2) การเลือกสมการที่เหมาะสมพร้อมเหตุผลเมื่อมีการนำเสนอแบบจำลองรองรับไว้แล้ว (3) การพิจารณาและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเมื่อไม่มีข้อมูลใดๆ สำหรับการสร้างสมการด้วยสถิติและไม่มีการนำเสนอแบบจำลองใดๆ รองรับไว้ ผลการวิจัยปรากฏว่าการเขียนสัญญามีรายละเอียดที่สำคัญครบถ้วนและยังไม่ปรากฏปัญหาใดๆ ค่าเสียหายที่ได้จากการคำนวณที่มีผลกระทบมากที่สุดในความเสียหายที่นายจ้างต้องประสบและความเสียหายที่มีต่อสาธารณะคือการสูญเสียรายได้จากการให้บริการและมูลค่าเวลาของผู้ใช้รถตามลำดับ ค่าเสียหายโดยรวมคิดเป็นร้อยละ 0.041 ของมูลค่าโครงการ การหาโอกาสการเกิดความเสียหายตามทฤษฎีการอนุมานทางสถิติแบบ Bayes ด้วยโปรแกรม WinBugs14 ปรากฏว่าความเสียหายที่มีโอกาสเกิดมากที่สุดมีหลายรายการโดยเฉพาะในหมวดความเสียหายจากการสูญเสียการใช้ประโยชน์ ค่าพารามิเตอร์ที่ได้สามารถนำไปใส่ในสมการของ Bayes สำหรับการสำรวจค่าความน่าจะเป็นของโครงการรถไฟฟ้าที่ศึกษาได้ใหม่ แต่เมื่อโครงการรถไฟฟ้าเสร็จสมบูรณ์เพิ่มขึ้นในอนาคต ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมต้องได้จากการเก็บข้อมูลและประมวลผลใหม่ตามสถานการณ์ขณะนั้น | en |
dc.description.abstractalternative | The liquidated damages are the contract provision stating that the owner and the contractor mutually agree to the predetermined cost per day that the contractor will compensate the owner in case the contractor fails to complete the project within the contract schedule. Establishing the liquidated damages for Thai construction project usually specifies the maximum rate of the Regulation of the Office of the Prime Minister on Procurement 2535 (ROPMP) with no reason (Punsak Daowruang, 2547). When the owner asserts to enforce the liquidated damages, the contractor’s protest may lead to the litigation. The rulings in most cases are that the damages charged are too high. So the court reduces the amount according to Civil and Commercial Code section 383. The research focuses on the studying of defining the liquidated damages according to the principles of Common Law System to avoid those problems. The objectives are (1) To study whether writing the contract at the present have important issues affecting the enforcement of the liquidated damages or not, (2) To present the formula for assessing the liquidated damages, (3) To compute the liquidated damages of the example project (MRT Blue Line) compared to the liquidated damages specified in the contract and (4) To find the probability of the damage occurring. The data was collected by using 3 structured interviews from the owners who are responsible for the mass transit construction projects that are already completed at the present. They are Mass Rapid Transit Authority of Thailand, State Railway of Thailand and Bangkok Mass Transit System Public Co., Ltd. The collected data was used to consider the completion of the contract details, to compute the damages of the MRT Blue Line and to find the probability of the damage occurring. The damage formula was done by 3 ways depending on the limitation of the data. They are (1) Forming data by using statistics in case the data exists, (2) Studying the presented formulas and considering the appropriate one for the project in case no data exists and (3) Considering the variables and creating their relationships reasonably in case no data and no presented formula exist. The results show that the contracts substantially include important issues and no problem has occurred. The use of the formula depends on what type of damages will occur for the specific project. Then, the selected damages will be included in the liquidated damages as the summation. The highest costs affecting the owner and the public are the lost revenue damages and the value of travel time respectively. The computed liquidated damages are 0.041% of the contract value. Bayesian Inference was used to find the probability of the damage occurring by using WinBugs14 program. Most of the highest probability damages are in the loss of use category. The parameters resulted from the program can be placed in the Bayes equation to find the revised probability whenever the update is needed. But these parameters have to be revised when there is the need to find the probability for the new completed projects in the future. | en |
dc.format.extent | 5366271 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.110 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การจัดการ | en |
dc.subject | ค่าเสียหาย | en |
dc.subject | การขนส่งมวลชน | en |
dc.subject | เบี้ยปรับ | - |
dc.subject | Liquidated damages | - |
dc.subject | Construction industry -- Management | - |
dc.subject | Damages | - |
dc.subject | Local transit | - |
dc.title | การกำหนดค่าเสียหายเนื่องจากความล่าช้าสำหรับโครงการก่อสร้างทางขนส่งมวลชน | en |
dc.title.alternative | Defining delay damages for mass transit construction project | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcevcc@eng.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.110 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
monthinee_yi.pdf | 5.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.