Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30737
Title: | การยืดอายุการเก็บรักษาไข่ไก่โดยเคลือบด้วยไคโตซานที่เตรียม จากการฉายรังสีแกมมา |
Other Titles: | Prolonging shelf life of hen eggs by coating with chitosan prepared from gamma irradiation |
Authors: | สุกัญญา ยาเสร็จ |
Advisors: | ดุลยพงศ์ วงศ์แสวง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Doonyapong.W@Chula.ac.th |
Subjects: | อาหาร -- อายุการใช้ อาหาร -- การเก็บและรักษา ไข่ -- การเก็บและรักษา รังสีแกมมา ไคโตแซน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอนุพันธ์ของไคติน เตรียมได้จากการลดหมู่อะซีติลของไคติน (Deacetylation) ที่ได้จากเปลือกกุ้ง เปลือกปู แกนปลาหมึกและผนังเซลล์ของเชื้อราบางชนิด ทำการตัดทอนโมเลกุลของไคโตซานด้วยการฉายรังสีแกมมาในช่วง 10 ถึง 100 กิโลเกรย์ ในรูปแบบของแข็งซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว โดยที่โครงสร้างของไคโตซานไม่เปลี่ยนแปลง จากนั้นทำการละลายไคโตซานที่ได้จากการฉายรังสีแกมมาในกรดอะซิติก 2 % (v/v) ให้ได้ความเข้มข้นสุดท้ายของสาระลายไคโตซานเป็น 1 % (w/v) ปรับค่า pH ให้มีค่า 5.6 ด้วย 6 N โซเดียมไฮดรอกไซด์ แล้วทำการเคลือบไข่ไก่โดยการจุ่มแช่ในสารละลายไคโตซานเป็นเวลา 5 วินาที และศึกษาการเคลือบ 1, 2 และ 3 ชั้น พร้อมทำการประเมินคุณภาพของไข่ไก่ในส่วนของ pH ของไข่ขาว การสูญเสียน้ำหนัก ความสดของไข่ไก่ การแยกกันของไข่ขาวและไข่แดง และน้ำหนักของไข่ขาวและไข่แดง ที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเฉลี่ย 30 องศาเซลเซียส ในระยะเวลา 0 ถึง 8 สัปดาห์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ไข่ไก่ที่เคลือบด้วยไคซานที่ฉายรังสี 10 กิโลเกรย์ น้ำหนักโมเลกุล 492 กิโลดาลตัน เป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการเคลือบไข่ไก่ ซึ่งสามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 6 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับไข่ไก่ที่ไม่ได้เคลือบด้วยไคโตซาน ซึ่งเก็บได้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้นที่ยังคงคุณภาพดีที่สุด งานวิจัยนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไข่ชนิดอื่นๆ รวมทั้งในกระบวนการอุตสาหกรรมผลิตไข่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ |
Other Abstract: | Chitosan is a biopolymer derivative of chitin prepared from deacetylation of chitin from shrimp shells, crab shells, squid pens and cell walls of certain fungi. In this study, chitosan powder was degraded by gamma irradiation in the range of 10 to 100 kGy in order to obtain an appropriate molecular size. Gamma irradiation of chitosan in the solid state is easy, convenient and fast, and does not alter the molecular structure of chitosan. Irradiated chitosan was subsequently dissolved in 2 % (v/v) acetic acid to obtain 1 % (wt/v) final concentration. The pH of the solution was then adjusted to 5.6 using 6 N NaOH. The final product was applied to coat hen eggs by dipping each egg in the solution for 5 seconds. Coatings of 1, 2 and 3 layers were studied. Egg quality stored at room temperature (30 °C) for 0 to 8 weeks in terms of pH of albumin, weight loss, haugh unit, separation of albumin and yolk, and weights of albumin and yolk of was evaluated. Results indicated that chitosan irradiated at 10 kGy with the molecular weight of 492 kDa was most suitable to coat hen eggs, as the shelf life of chitosan-coated eggs increased to 6 weeks compared with only 2 weeks for uncoated eggs. This technique can be applied to other kinds of eggs as well as scaling-up for commercial applications in egg processing industry. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30737 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1234 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1234 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sukanya_ya.pdf | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.