Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30748
Title: | การออกแบบเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกฝนเสียงในการแสดง |
Other Titles: | Design of electronic voice training equipment for stage Performance |
Authors: | อารียา เฟื่องประดิษฐ์กุล |
Advisors: | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jirayudh.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การควบคุมเสียง -- การศึกษาและการสอน -- โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา การสอนด้วยสื่อ ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ ศิลปะการแสดงสด -- การศึกษาและการสอน -- โสตทัศนูปกรณ์ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์(Creative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการฝึกฝนเสียงในการแสดง และเพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนการแสดงที่มีต่อเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์นี้ โดยใช้แบบสอบถามวัดทัศนคติของนักเรียนการแสดง จำนวน 50 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก (In-depth Interview)นักเรียนการแสดงจำนวน 18 คน รวมทั้งสำรวจทัศนคติของอาจารย์สอนด้านการแสดง จำนวน 6 คน จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผลการวิจัยพบว่า ในกระบวนการสร้างสรรค์เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกฝนเสียงในการแสดง ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการสร้างสรรค์อย่างเป็นขั้นตอน โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจเรื่องอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการใช้เสียง สามารถฝึกฝนและพัฒนาการออกเสียงได้ ตลอดจนเห็นแนวทางของการใช้เสียงในการแสดง โดยเนื้อหาเน้นเรื่องการใช้เสียงในการแสดงเพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปปรับในการแสดงได้อย่างเหมาะสม จากการสำรวจทัศนคติของนักเรียนการแสดงและอาจารย์สอนด้านการแสดง พบว่า นักเรียนการแสดงมีความพึงพอใจต่อเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกฝนเสียงในการแสดง อยู่ในระดับมาก แต่ครูก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในการเรียนการสอน เนื่องจากวิชาการแสดงเป็นศาสตร์ของการสื่อสารและถ่ายทอดเชิงอารมณ์ ความรู้สึกระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ผลป้อนกลับได้ดีกว่าเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อจำกัดด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบทเรียนกับผู้เรียน รวมทั้งการให้ผลป้อนกลับเชิงอารมณ์ ความรู้สึก แต่อย่างไรก็ดีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์นี้ สามารถใช้ประกอบการสอนเนื้อหาเรื่องโครงสร้างหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวกับการใช้เสียงได้ดี ทำให้ผู้เรียนเห็นภาพที่ชัดเจน ช่วยเสริมความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรเพิ่มตัวอย่างการใช้เสียง และการแสดงในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบถึงความแตกต่าง รวมทั้งตัวอย่างของการใช้เสียงที่ไม่ถูกต้องพร้อมวิธีแก้ไข เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดเหลานั้นได้ด้วยตนเอง |
Other Abstract: | This Creative Research aims to create electronic voice training equipment and to study the attitudes of students towards this electronic equipment. The data derives from the 50 attitudes questionnaires of Performing Arts students and the in-depth interviews of 18 Performing Arts students, including 6 Performing Arts lecturers from Faculty of Communication Arts at Chulalongkorn University, Faculty of Fine Arts at Srinakharinwirot University, and Faculty of Communication Arts at University of Thai Chamber of Commerce. The research results show that: The creating of electronic voice training equipment for stage performance. The researcher focuses on the student’s knowledge and understanding of the organs involve in voice usages and abilities to practice and develop how to pronounce as well as the guidelines of voice usages in the performance which the content focuses in order to adjust properly. A survey of the student’s attitude reveals that they are satisfy with the electronic voice training equipment for stage performance, but still consider a teacher’s role to be important. Performing Arts is the science of communication that convey emotion and feeling among human beings, so the teacher who responsible for providing feedback is better than the electronic equipment that has a limit interaction with the students and lessons as well as the emotional feedback, however, this electronic equipment is able to teach the structural functions of organs associate with the voice usages. The students see clear pictures and promote a better understanding. In addition, the examples of voice usage and performance should be increase in various forms to allow students to compare the differences and the examples of using the wrong voice with a solution so that students could correct their own errors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สื่อสารการแสดง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30748 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1240 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1240 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
areeya_fu.pdf | 8.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.