Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30749
Title: ไฮโดรดีออกซิจิเนชันของสารประกอบฟีนอล บนตัวเร่งปฏิกิริยา CoWS และ CoWO แบบไม่มีตัวรองรับ
Other Titles: Hydrodeoxygenation of phenologic compounds over unsupported CoWS and CoWO catalysts
Authors: อรุณี วิชญมาศ
Advisors: ภัทรพรรณ ประศาสน์สารกิจ
บุญญาวัณย์ อยู่สุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Pattarapan.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ตัวเร่งปฏิกิริยา
สารประกอบฟีนอล
พลังงานชีวมวล
ไฮโดรจีเนชัน
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำมันชีวภาพที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิสและลิควิแฟกชันนั้นประกอบด้วยสารประกอบฟีนอลซึ่งมีปริมาณออกซิเจนอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 10-50 เปอร์เซ็นต์โดยมวล โดยปฏิกิริยาที่สำคัญในการกำจัดออกซิเจนออกจากน้ำมันชีวภาพในรูปของน้ำ คือปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชัน ตัวเร่งปฏิกิริยาที่นิยมใช้ในปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชัน คือ MoS2 และ WS2 โดยมีการเติมตัวส่งเสริม (โคบอลต์) ในงานวิจัยนี้เป็นการเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา WS และ WO แบบไม่มีตัวรองรับจากการสลายตัวด้วยความร้อนของแอมโมเนียมเตตระไทโอทังสเตต แอมโมเนียมทังสเตต โคบอลต์ไนเตรด โดยใช้สารละลายอินทรีย์ น้ำ และแก๊สไฮโดรเจนร่วมด้วย ความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยานี้ทดสอบในปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชันของสารประกอบฟีนอลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักในน้ำมันชีวภาพ ในงานวิจัยนี้ทำการศึกษาปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชันของฟีนอลในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตช์ พบว่า กลไกการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชันของฟีนอลนั้นต้องผ่าน 2 ปฏิกิริยาหลัก คือ ปฏิกิริยาไฮโดรจิโนไลซิสและปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน และได้ผลิตภัณฑ์ดังนี้ เบนซีน ไซโคลเฮกซะโนน ไซโคลเฮกซีน และ ไซโคลเฮกเซน นอกจากนี้ ร้อยละการเปลี่ยนไปของฟีนอลและร้อยละการเลือกเกิดของผลิตภัณฑ์ขึ้นกับชนิดของตัวส่งเสริมและภาวะในการทำปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชัน ตัวเร่งปฏิกิริยา CoWS และ CoWOที่อัตราส่วนโดยโมลของ Co/(W+Co) = 0.50 แสดงการเปลี่ยนของฟีนอลสูงสุด และแสดงการเลือกเกิดของไซโคลเฮกเซนสูงที่สุด บอกเป็นนัยว่าปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชันของฟีนอลเกิดผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชันเป็นส่วนใหญ่
Other Abstract: Bio-oil from biomass fast pyrolysis or liquefaction usually consists of phenolic compounds which have high oxygen content compounds (10-50 wt%). Therefore, the oxygen in oil could be removed in the form of water via hydrodeoxygenation (HDO). Catalysts containing W as an active element and Co as a promoter have been used intensively for HDO process. In this present study, unsupported W based sulfide and oxide catalysts were prepared from ammonium tetrathiotungstate (ATTW), ammonium tungstate (ATT) and cobalt nitrate by using a hydrothermal synthesis method involving water, organic solvent and hydrogen. The activity of these catalysts was investigated for hydrodeoxygenation (HDO) of phenolic compounds as the major portion of oxygenated species in bio-oil. In this work, the HDO of phenol was carried out in a batch reactor. The results revealed that HDO of phenol proceeded through two major pathways (hydrogenolysis and hydrogenation) and their products were benzene, cyclohexanone, cyclohexene and cyclohexane. Phenol conversion and product selectivity were strongly dependent on type of promoter and HDO reaction conditions. The CoWS and CoWO catalyst with Co/(W+Co) ratio of 0.50 displayed the highest phenol conversion and the highest selectivity toward cyclohexane, suggesting that the HDO of phenol proceeded through the major pathway of hydrogenation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30749
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1241
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1241
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arunee_wi.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.