Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30752
Title: การสร้างสรรค์ละครเพลงของ บริษัท ดรีมบอกซ์ เอนเตอร์ เทนเมนท์ จำกัด และ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด พ.ศ.2533 – 2553
Other Titles: The creation of musicals by dreambox entertainment co., ltd. And scenario co., ltd. (1990-2010)
Authors: ชโลธร จันทะวงศ์
Advisors: ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Thiranan.A@chula.ac.th
Subjects: Dreambox Entertainment CO.,LTD.
Scenario CO.,LTD.
นาฏกรรมเพลง -- การผลิตและการกำกับรายการ -- ไทย
ศิลปะการแสดง -- การผลิตและการกำกับรายการ -- ไทย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการสร้างสรรค์เพลงและดนตรีสำหรับละครเพลงของทั้งสองบริษัท ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์เพลงและดนตรีสำหรับละครเพลง และศึกษาทัศนคติของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ นักการละคร และกลุ่มผู้ชมที่มีต่อละครเพลง การวิจัยครั้งนี้พบว่า บริษัท ดรีมบอกซ์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ยึดบทละครจากผู้ประพันธ์คนเดียว โดยนำบทพูดมาใช้เป็นเนื้อร้อง บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ประพันธ์บทละครร่วมเป็นทีม และมีผู้ประพันธ์คำร้องแยกต่างหาก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยใช้สหวิธีการ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาหรือตัวบท การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และการสำรวจความคิดเห็นของผู้รับสารโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 100 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ดึงดูดให้ผู้มาชมละครเพลงของทั้งสองบริษัทนั้นมีความแตกต่างกัน กลุ่มผู้ชมที่ผู้วิจัยสำรวจความเห็นทางอินเตอร์เน็ตพบว่าสนใจใน บทละคร ของบริษัท ดรีมบอกซ์ ฯ เป็นอันดับแรก ในขณะที่กลุ่มผู้ชมให้ความสนใจกับ นักแสดง ของบริษัท ซีเนริโอ ฯ เป็นอันดับแรก ทั้งสองบริษัทมีการแบ่งฝ่ายงานที่ชัดเจน แต่มีระบบในการทำงานที่ต่างกัน เป้าหมายเชิงพาณิชย์ของทั้งสองบริษัทอยู่ในระดับต่างกัน ส่งผลต่อรูปแบบและความซับซ้อนของเพลงและดนตรีสำหรับละครเพลง บริษัท ดรีมบอกซ์ ฯ มุ่งเน้นการสร้างเพลงและดนตรีเฉพาะสำหรับการสอดรับอารมณ์ หรือเล่าเรื่องเฉพาะในบริบทของละครเพลงเรื่องนั้นๆ จึงส่งผลให้รูปแบบของเพลงมีความซับซ้อนทางดนตรีสูง ส่วนบริษัท ซีเนริโอ ฯ มุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้า และการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ง่าย จึงส่งผลให้รูปแบบของเพลงอยู่ในลักษณะที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเข้าถึงของกลุ่มผู้ชม
Other Abstract: This research aims to study the music and songs creation for musical plays produced by both companies, the factors affecting the creating process, and the attitude of experts and general audience towards musical plays. The study shows that for the productions of Dreambox, each script is written by one author and the songs’ lyrics are based on the written dialogues, while Scenario usually appoints a team of writers to write each script and has songs’ lyrics written separately. Mixed methods applied to the study were; analyzing contents and scripts, conducting in-depth interviews with 9 experts, and conducting an audience opinion survey via online questionnaires with the sample size of 100. The study shows that there are different attractions in the two companies’ plays. According to the internet based survey, the main attractions of plays produced by Dreambox are the contents and scripts, while those of Scenario’s plays are the celebrity casts. Also, duties and responsibility of both companies’ staff members are clearly allocated. However, the operating systems of the companies are different. The difference in commercial goals affects the styles and complexity of the songs and music in their plays. Dreambox mainly focuses on using music to affect the audience emotions and in storytelling, which results in a highly complex musical style, whereas Scenario focuses on commercial success and accessibility to a general audience resulting in a simple and more accessible style of music.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สื่อสารการแสดง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30752
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1242
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1242
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chalotorn_ju.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.