Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30768
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา-
dc.contributor.authorวิภาวี เรืองสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2013-05-03T08:24:06Z-
dc.date.available2013-05-03T08:24:06Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30768-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กและเยาวชนหญิงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กและเยาวชนหญิงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับเด็กและเยาวชนหญิงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เด็กและเยาวชน อายุ 10-24 ปี ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี จำนวน 30 คน การจัดกิจกรรมใช้ระยะเวลา 8 วัน รวมทั้งสิ้น 58 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ประเภท ได้แก่1) แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ความต้องการในจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน 3) แบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบวัดความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยโปรแกรม SPSS Version 17.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนสามารถพัฒนากิจกรรมได้ทั้งหมด 15 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมมีความสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ 15 ประการ โดยกิจกรรมแต่ละกิจกรรมดำเนินกิจกรรมผ่านกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 7 ขั้นตอนที่มีความต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอน ดังนี้ 1) การระบุหรือทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา 2) การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็น 3) การพิจาณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล 4) การแยกแยะความแตกต่างของข้อมูล 5) การตั้งสมมติฐาน 6) การลงสรุป 7) การประเมินผล แต่ละกิจกรรมมีความเชื่อมโยงต่อเนื่อง และเป็นฐานซึ่งกันและกันตั้งแต่กิจกรรมที่ 1 ถึงกิจกรรมที่ 15 2. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยจากแบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมาก (X = 4.34)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to1) develop non-formal education activities to enhance critical thinking for female children and youths in juvenile vocation training centers, Bangkok metropolis. 2) compare critical thinking before and after the experiment in female children and youth in juvenile vocational training centers, Bangkok metropolis. 3) study participants’ satisfaction towards non-formal education activities. The research methodology was experimental research. The research samples were 30 female children and youths in banpranee juvenile vocational training centers from ages 10-24 years old. Activities were organized for 8 days, a total of 58 hours. The research instruments used in this research were the non-formal education activities, need interview form, the Cornell Critical Thinking Test and the measure of satisfaction form. The data was analyzed by using means (X), standard deviation (S.D.), and dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance with SPSS Version 17.0 program The results were as follow : 1. The processes of developing non-formal education activities could be developed for 15 activities. Each of the activity was consistent with the characteristics of the critical thinking 15 factors. Also each activity carried out through a process of critical thinking 7 steps: 1) indentifying the problem, 2) collecting relevant information, 3) considering reliability of the information, 4) distinguishing the information, 5) assumption, 6) concluding, and 7) evaluation which continued and linked from activity 1 to activity 15. 2. After the experiment, the mean scores of Cornell Critical Thinking Test of the experimental group were higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance. 3. After the experiment, the experimental group scored at high level of significance of participating in non-formal education activities to enhance critical thinking.en
dc.format.extent4591610 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.265-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความคิดอย่างมีวิจารณญาณในเด็กen
dc.subjectความคิดอย่างมีวิจารณญาณในวัยรุ่นen
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.subjectสถานฝึกอบรมและฝึกอาชีพ -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนen
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับเด็กและเยาวชนหญิงในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeEffects of organizing non-formal education activities to enhance critical thinking for female children and youths in juvenile vocational training centers, Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorwirathep.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.265-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wipawee_ru.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.