Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30815
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิวัฒน์ โชติเลอศักดิ์-
dc.contributor.authorอุษณี ภูชัชวนิชกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-05-04T14:01:22Z-
dc.date.available2013-05-04T14:01:22Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745631957-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30815-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractในระยะที่ผ่านมาผลผลิตทางการเกษตรได้มีการขยายตัวในอัตราที่สูงเป็นผลมาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไป แต่การเพิ่มผลผลิตด้วยวิธีดังกล่าวมีขีดจำกัด เนื่องจากพื้นที่ทีจะทำการบุกเบิกมีน้อยและเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะกับการเกษตร ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตในอนาคตจึงขึ้นอยู่กับการปรับปรุงผลิตภาพทางการเกษตร โดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น ปุ๋ย เครื่องทุ่นแรง เป็นต้น ซึ้งจะต้องมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อจะสนันสนุนการผลิตแบบสินเชื่อและอื่นๆด้วย ในการวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาเพื่อดู มาตรการต่างๆ ดังกล่าวมีส่วนช่ายเพิ่มหรือปรับปรุงผลิตภาพของที่ดินหรือไม่ ในการศึกษาได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis) และทำการหา correlation ระหว่างตัวประกอบที่ได้กับผลิตภาพของที่ดิน โดยตั้งสมมุติฐานว่า ผลิตภาพของที่ดินน่าจะมีความสัมพันธ์กัน 1. ปัจจัยการผลิต เช่น แรงงานคน แรงงานสัตว์ ปริมาณน้ำฝน และเทคโนโลยี 2. การรับและการเผยแพร่เทคโนโลยี 3. การได้รับประโยชน์ทางโครงสร้างขั้นพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมทางการเกษตรโดยใช้ตัวแปรในการศึกษาทั้งหมด 17 ตัว ซึ่งเป็นข้อมูลรายจังหวัดปี 2522 ได้ ผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. ปัจจัยที่มีผลกระทบและมีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดิน ได้ทำการพิจารณาแยกเป็น 2 ส่วนคือ 1.1 ระดับประเทศ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในการศึกษาระดับประเทศที่มี 5 ตัว คือ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ผลกระทบของ เมือง-อุตสาหกรรม การติดตามข่าวสาร แหล่งนี้เพื่อการเกษตร และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน แต่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ คือ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยมีนัยสำคัญ 0.01 1.2 ระดับภาค แบ่งออกเป็น 5 ภาค คือ 1.2.1 ภาคเหนือปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินคือ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ โครงสร้างขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยี ผลกระทบของ เมือง-อุตสาหกรรม การใช้ที่ดินและการติดตามข่าวสาร ในจำนวนนี้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี ผลกระทบของเมือง-อุตสาหกรรม และโครงสร้างขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ 0.01 0.1 และ 0.01 ตามลำดับ 1.2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพที่ดินได้แก่ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน ผลกระทบของเมือง และการติดตามข่าวสาร โดยมีปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ เพียงตัวเดียวที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ 0.1 1.2.3 ภาคกลาง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินได้แก่ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ ผลกระทบของเมือง โครงสร้างขี้นพื้นฐานอิทธิพลจากสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ accessibility ปรากฎว่าอิทธิพลจากสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญ 0.05 1.2.4 ภาคตะวันออก ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตของที่ดิน ได้แก่ ปัจจัยที่สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยี โครงสร้างขั้นพื้นฐาน ปัจจัยการผลิตแบบดั้งเดิมและผลกระทบของเมือง-อุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญคือ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ 0.05 1.2.5 ภาคใต้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตภาพของที่ดินมีเพียง 4 ตัวคือ ปัจจัยการผลิตแบบดั้งเดิม ผลกระทบของเมืองและโครงสร้างขั้นพื้นฐาน เทคโนโลยีใหม่ และการศึกษา แต่ไม่ปรากฎว่ามีปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินอย่างมีนัยสำคัญเลย 2. เปรียบเทียบผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศและภาค โดยแยกการพิจารณาเปรียบเทียบออกเป็น 2.1 การเปรียบเทียบผลในการศึกษาระหว่างประเทศกับภาค ปัจจัยหรือตัวประกอบที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศโดยทั่วไปแล้วจะมีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดิน ในระดับภาคด้วยยกเว้นภาคใต้ และตัวประกอบแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศ แต่ไม่มีผลต่อผลิตภาพของที่ดินในระดับภาค สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลิตภาพของที่ดิน ปรากฏว่ามีเฉพาะ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี เท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินในระดับประเทศและระดับภาคเฉพาะภาคเหนือ และภาคอีสาน 2.2 เปรียบเทียบผลในการศึกษาระหว่างภาค มีปัจจัย 4 ตัวที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ได้แก่ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ ผลกระทบของเมือง-อุตสาหกรรม การติดตามข่าวสาร และโครงสร้างขั้นพื้นฐาน สำหรับภาคใต้ ซึ่งมีลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศต่างจากภาคอื่น มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดิน ที่สอดคล้องกับภาคตะวันออก 2 ตัวคือ เทคโนโลยี และปัจจัยการผลิตแบบดั้งเดิม สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลิตภาพของที่ดิน ปรากฎว่ามีเพียงปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่เท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์กับผลิตภาพของที่ดินในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปัจจัยอื่นจะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลิตภาพของที่ดินในแต่ละภาคจะแตกต่างกันไป โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า การกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อปรับปรุงผลิตภาพของที่ดินควรคำนึงถึงปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีใหม่เป็นสำคัญ เนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลิตภาพของที่ดินไม่ว่าทั่วประเทศหรือรายภาค อย่างไรก็ตามในแต่ละภาคนั้นมีรายละเอียดของการกำหนดผลิตภาพของที่ดินแตกต่างกันอยู่บ้าง ฉะนั้นในการส่งเสริมหรือพัฒนาควรคำนึงถึงรายละเอียดของแต่ละภาคมาประกอบการพิจารณาด้วย
dc.format.extent520888 bytes-
dc.format.extent565245 bytes-
dc.format.extent555575 bytes-
dc.format.extent1154938 bytes-
dc.format.extent1075401 bytes-
dc.format.extent378883 bytes-
dc.format.extent644325 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเกษตรกรรม -- แง่เศรษฐกิจen
dc.subjectผลิตผลการเกษตรen
dc.subjectที่ดินen
dc.titleตัวกำหนดผลิตภาพทางการเกษตร : ปัจจัยการผลิตเทคโนโลยี่และสภาพแวดล้อม ที่มีอิทธิพลต่อผลิตภาพของที่ดินen
dc.title.alternativeDeterminant of agricultural productivity : the impact of inputs, and context on land productivityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usanee_Po_front.pdf508.68 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Po_ch1.pdf552 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Po_ch2.pdf542.55 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Po_ch3.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Usanee_Po_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Usanee_Po_ch5.pdf370 kBAdobe PDFView/Open
Usanee_Po_back.pdf629.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.