Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30823
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิไล อัศวเดชศักดิ์-
dc.contributor.authorหัฐณัฐ นาคไพจิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)-
dc.date.accessioned2013-05-07T02:30:59Z-
dc.date.available2013-05-07T02:30:59Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30823-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์เพื่อสื่อสารวัฒนธรรมอีสาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดองค์ประกอบและหลักการเรขศิลป์จากผ้าทอลายขิด ที่สามารถสื่อถึงวัฒนธรรมอีสานได้อย่างชัดเจน และมีความเหมาะสม ดำเนินการวิจัย โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาผ้าทอลายขิดและการใช้องค์ ประกอบทางเรขศิลป์ จากการศึกษาวรรณกรรมพบว่ามีเกณฑ์การแบ่งกลุ่มแม่ลายผ้าทอลายขิด ออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ ประเภทที่ 1 ลายเรขาคณิต ประเภทที่ 2 ลายจากธรรมชาติและสิ่งของเครื่องใช้ ประเภทที่3 ลายพัฒนา และประเภทที่ 4 ลายผสม วิจัยกลุ่มตัวอย่างผ้าทอลายขิดทั้งสิ้น 109 ลาย นำไปสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูล จากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าทอลายขิดจำนวน 5 ท่าน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้กลับมาทำการวิเคราะห์และสรุปผล โดยแสดงในรูปจำนวนของร้อยละ และจัดเรียงตามลำดับคะแนนสูงต่ำผลสรุปของการวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบได้ดังนี้การออกแบบสื่อเรขศิลป์เพื่อสื่อสารถึงวัฒนธรรมอีสาน มีการหาที่มาของผ้าทอลายขิด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบทั้งหมด 4 ลำดับ โดยมีที่มาจากพรรณไม้มากที่สุด รองลงมาคือ มีที่มาจากสิ่งของเครื่องใช้ ความเชื่อและจินตนาการ และรูปทรงเรขาคณิตการออกแบบสื่อเรขศิลป์เพื่อสื่อสารถึงวัฒนธรรมอีสาน มีการใช้ทฤษฏีเรื่องรูปทรงเรขาคณิต เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบทางเรขศิลป์ทั้งหมด 5 รูปทรง โดยมีการใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและ รูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมากที่สุด รองลงมาคือ รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว และรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าการออกแบบสื่อเรขศิลป์เพื่อสื่อสารถึงวัฒนธรรมอีสาน มีการใช้โทนสี เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบทางเรขศิลป์ทั้งหมด 2 โทนสี โดยมีการใช้โทนสี Vivid Tones และ Subdued Tones การออกแบบสื่อเรขศิลป์เพื่อสื่อสารถึงวัฒนธรรมอีสาน มีการใช้ทฤษฏีเรื่องรูปทรงระนาบ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบทางเรขศิลป์ทั้งหมด 3 รูปทรง โดยมีการใช้รูปทรงเรขาคณิต (Geometric Form) มากที่สุด รองลงมาคือ รูปทรงจากเส้นตรง (Rectilinear Form) และรูปทรงอปกติ (Irregular Form)การออกแบบสื่อเรขศิลป์เพื่อสื่อสารถึงวัฒนธรรมอีสาน มีการใช้ทฤษฏีเรื่องการซ้ำ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบทางเรขศิลป์ทั้งหมด 4 โครงสร้าง โดยมีการใช้โครงสร้างการซ้ำแบบโครงสร้างสี่เหลี่ยม (Square network) มากที่สุด รองลงมาคือ โครง สร้างแบบเรียงลำดับและลดหลั่น (Brick & Half - Drop network) โครงสร้างสามเหลี่ยม (Triangle network) และโครงสร้างรูปเพชร (Diamond network)การออกแบบสื่อเรขศิลป์เพื่อสื่อสารถึงวัฒนธรรมอีสาน มีการใช้ทฤษฏีเรื่องจังหวะ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบทางเรขศิลป์ทั้งหมด 2 จังหวะ โดยมีการใช้จังหวะการซ้ำ (Repetition Rhythm) มากที่สุด รองลงมาคือ จังหวะการสลับ (Alternation Rhythm)en
dc.description.abstractalternativeThe research of The application of graphic elements from Khid silk to reflect Thai northeastern culture is a qualitative research, which objective is to determine the elements and principles of graphic designs in Khid silk in order to reflect Thai northeastern culture clearly and appropriately. This research is conducted by studying the ideas, theories and other researches related to Khid silk and graphic elements. According to literary studies, Khid silk patterns are classified into 4 main groups: 1) geometric patterns, 2) patterns obtained from nature and utensils, 3) progressive patterns, and 4) mixed patterns, from a total number of 109 patterns studied. Then a questionnaire is designed to gather data from 5 Khid silk specialists. The data is then brought back to be analyzed and summarized. The final result is shown in percentages, sorted numerically. The results of the research can be used as a design guideline according to the following conclusions. 1. In designing graphics to reflect northeastern culture, there are 4 types of sources used as design basis, the most frequent is from plants, followed by utensils, beliefs and imagination, and geometric shapes. 2. In designing graphics to reflect northeastern culture, there are 5 geometric shapes used in total, the most commonly used are the rectangles and rhombi, followed by squares, parallelograms, isosceles triangles and equilateral triangles. 3. In designing graphics to reflect northeastern culture, there are 2 color tones used, the most commonly used is the vivid tone, the other is the subdued tone. 4. In designing graphics to reflect northeastern culture, there are 3 forms used in total, the most commonly used is the geometric forms, followed by rectilinear forms and irregular forms. 5. In designing graphics to reflect northeastern culture, there are 4 network forms used in total, the most commonly used is the square network, followed by brick and half-drop network, triangle network, and diamond network. 6. In designing graphics to reflect northeastern culture, there are 2 rhythms used, the most commonly used is the repetition rhythm, the other is the alternation rhythm.en
dc.format.extent3734881 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.154-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหัตถกรรมสิ่งทอ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en
dc.subjectการออกแบบลายผ้า -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en
dc.subjectการเขียนแบบเรขาคณิต -- แง่สังคมen
dc.subjectไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- วัฒนธรรมen
dc.titleการประยุกต์ใช้องค์ประกอบทางเรขศิลป์จากผ้าทอลายขิตเพื่อสื่อวัฒนธรรมอีสานen
dc.title.alternativeThe application of graphic elements from Khid silk to reflect Northeastern cultureen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนฤมิตศิลป์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.154-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
hattanut_na.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.