Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30873
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้ม-ช่วงเวลา-ความถี่ของฝน ในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย
Other Titles: Rainfall intensity-duration-frequency relationships in Central and Eastern region of Thailand
Authors: ไพฑูรย์ กิติสุนทร
Advisors: ธำรง เปรมปรีดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบโครงสร้างชลศาสตร์สำหรับพื้นที่รับน้ำขนาดเล็กนั้น มักจะอาศัยการประเมินค่าน้ำนองผิวดินสูงสุด จากค่าปริมาณฝนสูงสุดที่มีช่วงเวลาสั้นๆ ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งประเมินได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลกราฟฝน (pluviograph) สำหรับในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนั้น ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของความเข้ม-ช่วงเวลา-ความถี่ของฝน ที่มีช่วงเวลาสั้นๆ ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง ไว้แล้วแต่ยังมีพื้นที่รับน้ำขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย ที่ยังขาดแคลนข้อมูลกราฟฝน การวิจัยครั้งนี้เป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนข้อมูลกราฟฝน โดยอาศัยหลักการบางอย่างสำหรับการประเมินค่าปริมาณฝนที่มีช่วงเวลาสั้นๆ ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง จากค่าปริมาณฝนรายวันสูงสุด ในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์ทดสอบความเหมาะสมของทฤษฎีการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่างๆ และได้ว่าการแจกแจงแบบลอกนอร์มอลชนิด 2-พารามิเตอร์ (2-Parameter Lognormal) มีความเหมาะสมที่สุด จึงใช้การแจกแจงแบบลอกนอร์มอลชนิด 2-พารามิเตอร์ นี้วิเคราะห์ความถี่ของข้อมูลกราฟฝน ที่มีช่วงเวลา 15 นาที ถึง 24 ชั่วโมง และข้อมูลฝนรายวันที่มีช่วงเวลา 1,2 และ 3 วัน แล้วนำผลการวิเคราะห์ความถี่ที่ได้มาศึกษาหาหลักการโดยทั่วไป ของความสัมพันธ์ระหว่างความเข้ม-ช่วงเวลา-ความถี่ของฝนในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยอาศัยหลักการและสมมติฐานบางอย่างที่ได้มีผู้ทำการศึกษาวิจัยมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ และเสนอแนะไว้เป็นแนวทางสำหรับการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณฝนที่มีช่วงเวลา 15 นาที ถึง 24 ชั่วโมง (ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลกราฟฝน) จะมีความสัมพันธ์กันดีมากกับค่าปริมาณฝนที่มีช่วงเวลา 1 วัน (ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลฝนรายวัน) ค่าอัตราส่วนปริมาณฝน-ช่วงเวลา ของค่าปริมาณฝนที่มีช่วงเวลา 15 นาที ถึง 24 ชั่วโมง ต่อค่าปริมาณฝน 1 วันนั้น จะมีค่าแปรผันตามลักษณะของภูมิประเทศเล็กน้อย ตามหลักการที่เสนอโดย Hersfield (1962) และค่าอัตราส่วนปริมาณฝน-ช่วงเวลา ที่มีช่วงเวลา 15 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ต่อค่าปริมาณฝน 1 ชั่วโมงนั้น จะมีค่าใกล้เคียงกันระหว่างค่าที่ได้ในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทยในครั้งนี้ กับผลวิจัยในต่างประเทศที่เสนอโดย Bell (1969) ส่วนค่าอัตราส่วนปริมาณฝน-ความถี่ (เมื่อใช้ค่าปริมาณฝนในรอบปี 10 ปี เป็นหลัก) จะมีค่าแตกต่างกันเล็กน้อยกับผลวิจันที่ได้ในต่างประเทศ ผู้วิจัยได้เสนอวิธีการประเมินค่าปริมาณฝน ที่มีช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 5 นาที ถึง 24 ชั่วโมง ตามจุดต่างๆ ของเขตพื้นที่ในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทยไว้ด้วย
Other Abstract: In the design of hydraulic structures for small watershed, it is always important to estimate the maximum surface run-off from the maximum rainfall depth with a shorter period than 24 hours duration. This has to be analysed from pluviograph records. In Northern and North Eastern Region of Thailand, there are many studies of rainfall intensity-duration­ frequency relationships for a shorter period than 24 hours duration, but there are still many other small watershed areas in Central and Eastern region of Thailand which have sparse data of pluviograph. The purpose of this study is to solve problems of estimating of run-off in areas that lack pluviograph records by giving ways for the estimation of the short duration rainfall with a shorter period than 24 hours from the maximum daily rainfall. In the study, test of goodness of fit of data was carried out and it was found that the 2-Parameter Lognormal distribution gives better fit, therefore the 2-Pararneter Lognormal distribution was selected and employed as the basic principle for the frequency analysis of the maximum annual rainfall from 15 minutes to 24 hours duration from pluviograph records, and for 1 day to 3 days duration from daily rainfall records. The generalized rainfall intensity-duration-frequency relationships in Central and Eastern region of Thailand were analysed using the outcome of the frequency analysis and from some other research findings both in Thailand and elsewhere which were recommended. It was found also that the relationship between rainfall depth for 15 minutes to 24 hours duration from frequency analyses of pluviograph records and daily rainfall depth from frequency analyses of maximum annual daily rainfall has a very good correlation. Depth-duration ratios based on 1 day duration for 15 minutes to 24 hours duration varied slightly from locality to locality as suggested by Hersfield (1962), and depth-duration ratios based on 1 hour for 15 minutes to 2 hours duration of Central and Eastern region of Thailand was similar to findings in other countries as suggested by Bell (1969). Depth-frequency ratios based on 10 years return period showed slight differences with findings in other countries. Some methods are also presented to estimate rainfall of 5 minutes to 24 hours duration at any location in Central and Eastern region of Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30873
ISBN: 9745648345
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paitoorn_ki_front.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch1.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch3.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch4.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch5.pdf618.22 kBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch6.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch7.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_ch8.pdf758.6 kBAdobe PDFView/Open
Paitoorn_ki_back.pdf25.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.