Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30917
Title: | การผลิตน้ำตาลจากฐานดอกและต้นทานตะวันโดยการไฮโดรไลซ์ด้วยกรดและการฉายรังสีแกมมาร่วมกับกรด |
Other Titles: | Production of sugar from sunflower heads and stalks by acid hydrolysis and gamma irradiation followed by acid hydrolysis |
Authors: | วัฒนา พุ่มมะลิ |
Advisors: | ศิริวัฒนา บัญชรเทวกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | fnesbc@eng.chula.ac.th, Siriwattana.B@Chula.ac.th |
Subjects: | ทานตะวัน น้ำตาล การแยกสลายด้วยน้ำ รังสีแกมมา |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การผลิตน้ำตาลจากฐานดอกและลำต้นทานตะวัน โดยการไฮโดรไลซ์ด้วยกรดซัลฟิวริกเจือจาง (ความเข้มข้นไม่เกิน 15%) พบว่า สภาวะที่ดีที่สุดในการไฮโดรไลซ์ครั้งแรกสำหรับฐานดอกและลำต้นทานตะวันคือ กรดซัลฟิวริก 5% อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 psi เวลา 15 นาที และสภาวะที่ดีที่สุดของการไฮโดรไลซ์กากที่เหลือ คือ กรดซัลฟิวริก 15% ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 psi เวลา 20 นาที สำหรับฐานดอกทานตะวันควรทำการไฮโดรไลซ์ต่อเนื่องสองครั้ง (ไฮโดรไลซ์ฐานดอกทานตะวันครั้งแรก แล้วไฮโดรไลซ์กากที่เหลือซ้ำอีกหนึ่งครั้ง) สำหรับลำต้นทานตะวันควรทำการไฮโดรไลซ์ต่อเนื่องสี่ครั้ง (ไฮโดรไลซ์ต้นทานตะวันครั้งแรก จากนั้นไฮโดรไลว์กากที่เหลือซ้ำอีกสามครั้ง) การไฮโดรไลซ์ฐานดอกทานตะวันได้ปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวทั้งหมด 25.83% ต่อน้ำหนักแห้ง คิดเป็น 58.44% ของปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวทั้งหมดที่มีในฐานดอก หรือคิดเป็น 134.11% ของปริมาณเส้นใยเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ส่วนการไฮโดรไลซ์ต้นทานตะวันได้ปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวทั้งหมด 37.63% ต่อน้ำหนักแห้ง คิดเป็น 64.26% ของปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวทั้งหมดที่มีในลำต้น หรือคิดเป็น 70.00% ของปริมาณเส้นใยเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส ส่วนการฉายรังสีวัสดุทั้งสองในช่วงปริมาณรังสี 100-700 kGy ก่อนทำการไฮโดรไลซ์ต่อด้วยกรดซัลฟิวริกเจือจาง พบว่า ได้ปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเพิ่มขึ้น 19.54% ในกรณีลำต้นทานตะวัน แต่ได้ปริมาณน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวน้อยลง 3.35% ในกรณีฐานดอกทานตะวัน และการแยกน้ำตาลออกจากสารละลาย (ที่ไฮโดรไลซ์ด้วยกรด) ด้วยวิธี Ion exclusion ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เพื่อนำกรดกลับมาใช้ใหม่ได้ %Recovery ของน้ำตาลเท่ากับ 93.10% ในกรณีฐานดอกทานตะวัน และ 97.10% ในกรณีของลำต้นทานตะวัน ตามลำดับ |
Other Abstract: | Production of monosaccharide sugars from sunflower heads and stalks by diluted acid hydrolysis were studied. The optimum hydrolysis conditions were found to be 5% (w/v) sulfuric acid, 121 0C, 15 psi and 15 minutes for first hydrolysis, and 15% (w/v) sulfuric acid, 121 0C, 15 psi and 20 minutes for residue hydrolysis. After first hydrolysis, one time residue hydrolysis was needed for sunflower heads while 3 times for sunflower stalks. The overall monosaccharide sugars of 25.83% (w/w), for sunflower heads were obtained in this study. This value is equivalent to 64.26% of the total monosaccharide sugars or 134.11% of the total fibers (cellulose& hemicelluloses). And the overall monosaccharide sugars of 37.63% (w/w), for sunflower stalks were obtained in this study. This value is equivalent to 64.26% of the total monosaccharide sugars or 70.00% of the total fibers. Irradiation of both materials at gamma dose of 100-700 kGy range before diluted acid hydrolysis could yield monosaccharide sugars up 19.54% (w/w) for sunflower stalks, while drop down 3.35% (w/w) for sunflower heads in comparison with un-irradiated results. And sugar-acid separation by ion exclusion technique could recover the acid for reusing. At 60 0C, the sugar recovery of 93.10% for sugar-acid from sunflower heads, and 97.10% for sugar-acid from sunflower stalks were obtained in this study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30917 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1351 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1351 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wattana_pu.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.