Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30940
Title: ครูในโรงเรียนชั้นนำในกรุงเทพมหานครกับเหตุการณ์ทางการเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีเหตุการณ์รัฐประหารของคณะ รสช. 2534 และกรณีเดือนพฤษภาคม 2535
Other Titles: Teachers in Bangkok's leading high schools and political incident : a case study of February 23, 1991 Coup d'etat and the May 1992
Authors: ไพฑูรย์ คุ้มสระพรหม
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวความคิดของครูในโรงเรียนชั้นนำในกรุงเทพมหานครกับเหตุการณ์ทางการเมือง กรณีเฉพาะเหตุการณ์รัฐประหารของคณะ รสช. 2534 และกรณีเดือนพฤษภาคม 2535 โดยถือเอากลุ่มตัวอย่างจากครูในโรงเรียนชั้นนำในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 4 โรงเรียน ทั้งที่เป็นโรงเรียนราษฎร์ และโรงเรียนเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 417 คน โดยการแจกแบบสอบถามให้แก่ครูทั้งหมดในโรงเรียนแต่ละแห่ง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่ามัธยฐาน การหาค่าร้อยละ การหาค่าฐานนิยม และการหาค่าพิสัยของควอไทล์ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เลือกประชากรที่มีสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ใกล้เคียงกัน เมื่อรวมแล้วให้ได้มากที่สุด การออกไปทดสอบแต่ละครั้งผู้วิจัยได้ไปทำการทดสอบด้วยตนเองและควบคุมกลุ่มตัวอย่างวิจัยอย่างใกล้ชิด โดยให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ครูผู้ตอบแบบสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า ครูในโรงเรียนชั้นนำในกรุงเทพมหานคร ให้ความสนใจต่อข่าวสารทางการเมืองในระดับปานกลาง โดยครูผู้ชายมักให้ความสนใจมากกว่าครูผู้หญิง การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของครูมมักเป็นการรับทราบข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ที่นับว่ามีความสำคัญ และได้รับความนิยมจากครูมากที่สุด อย่างไรก็ดีความคิดเห็นของครูในส่วนของความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อต่างๆ นั้น มีความเห็นว่าข้อมูลที่ได้รับทางสื่อต่างๆ มีความน่าเชื่อถือในระดับปานกลาง สำหรับทัศนคติที่มีต่อเหตุการณ์รัฐประหาร ของคณะ รสช. 2534 และกรณีเดือนพฤษภาคม 2535 ครูในโรงเรียนชั้นนำในเขตกรุงเทพมหานครส่วนมาก มีความพอใจต่อนดยบายการบริหารประเทศของพล. อ. ชาติชาย ชุณหวัน ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้า เมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร โดยคณะ รสช. ในปี 2534 นั้น ผลการวิจัยพบว่า ครู่ส่วนใหญ่ก็ยังคงพอใจต่อการที่ นายอานันท์ ปันยารชุน เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งรัฐบาลในการบริหารประเทศ รวมถึงการทำงานของรัฐบาลของนายอานันนท์ ปันยารชุน สมัยที่ 2 ที่เข้ามาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2535 ให้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่า ครูในโรงเรียนชั้นนำในเขตกรุงเทพมหานคร เห็นว่าข่าวสารทางการเมืองที่ได้รับจากสื่อต่างๆ มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในสังคม รวมถึงครูผู้มีบทบาทในการอบรมเยาวชนของชาติให้มีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this research is to examine the attitudes towards the political incidents in the case of 23rd February 1991 Coup d' etat and May 1992 Incidents of teachers in Bangkok's leading high schools either private or state sampling groups of 417 teachers and questionnaires were given to these sampling groups of teachers. The analysis of the collected data was done via EDFR technics. Teachers' attitude towards the case of 23rd February 1991 Coup d' etat and May 1992 incident resulting from the research have shown that they are satisfied with the ex-Prime Minister Chatchai Xunhawan's administrative policy which did much good to the country's economy. Later, when the 23rd February 1991 Coup d' etat occurred, most of the teachers still consider Mr. Anun Panyarachun's administration as satisfactory and also his second term of prime Ministership during which he managed to amend the constitution of the year 1992 to meet with popular needs and standards. The research also revealed that teachers in leading schools in Bangkok perceive that political informations received via several kind of medias has effects on human behavior in the society including teachers whose roles are to provide the youth understanding and knowledge of the democratic region.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30940
ISBN: 9746319108
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pkaitoon_ko_front.pdf705.43 kBAdobe PDFView/Open
Pkaitoon_ko_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Pkaitoon_ko_ch2.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open
Pkaitoon_ko_ch3.pdf489.46 kBAdobe PDFView/Open
Pkaitoon_ko_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Pkaitoon_ko_ch5.pdf502.66 kBAdobe PDFView/Open
Pkaitoon_ko_back.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.