Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30989
Title: การกำหนดนโยบายการจัดสรรโควต้าการส่งออกสินค้าสิ่งทอไทย ไปยังตลาดข้อตกลง ระหว่างปี 2522-2532
Other Titles: The policy making of export quota allocation of Thai multi-fiber textiles to agreement markets during 1979-1989 A.D.
Authors: ปิยะวรรณ ยุวนิมิ
Advisors: พิทยา บวรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาตัวแสดงนโยบายที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายการจัดสรรโควตาการส่งออกสินค้าสิ่งทอไทยไปยังตลาดข้อตกลงระหว่างปี พ.ศ. 2522-2532 และอิทธิพลของตัวแสดงนโยบายแต่ละกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ตัวแสดงนโยบายที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายมี 4 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มการเมือง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และพรรคการเมือง (2) กลุ่มข้าราชการประจำ ได้แก่ ข้าราชการประจำกรมการค้าต่างประเทศ (3) กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศ และกลุ่มผลประโยชน์ต่างประเทศ (4) กลุ่มทางสังคม ได้แก่ ประชาชน สื่อมวลชน และนักวิชาการ อิทธิพลของตัวแสดงนโยบายแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาโดยกลุ่มข้าราชการประจำจะเข้ามามีอิทธิพลมากที่สุดในยุคแรก (ปี 2522- ปี 2527) สำหรับกลุ่มการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่างประเทศจะเป็นกลุ่มที่เข้ามามีอิทธิพลมากในยุคกลาง (ปี 2528- ปี 2529) และในยุคปัจจุบัน (ปี 2530- ปี 2532) ปรากฎว่ากลุ่มตัวแสดงนโยบายทั้ง 4 กลุ่ม มีระดับการเข้ามามีอิทธิพลอยู่ในระดับที่เท่าเทียมกัน ปัจจัยที่ทำให้อิทธิพลของตัวแสดงนโยบายแต่ละกลุ่มแตกต่างกันก็คือ (1) ความรอบรู้ในข้อมูลข่าวสาร (2) บทบาทของผู้นำกลุ่ม และ (3) ความต่อเนื่องของตัวแสดงนโยบายในกระบวนการกำหนดนโยบาย
Other Abstract: This research identifies critical policy actors involved in the policy making of export quota allocation of Thai multi-fiber textiles to agreement markets during 1979-1989 A.D. and to determine the influence of each policy actors. It was found that there are four groups of policy actors: (1) The political group includes the minister of commerce and political parties; (2) The civil servant group comprises of government officials of foreign trade department; (3) The economic interest groups consists of local interest groups, and foreign interest groups and (4) The social group includes the public mass media and academicians. The influence of each policy actors varies during different periods. The civil servant group is the most influential group during the first period (1979-1984). The polical group and the foreign interest groups are found to be the most influential group during the second period (1985-1986); however, during the period of 1987-1989 A.D.; there four policy actors are found to be equally influential Factors which determine the different levels of influence of policy actors are; (1) Sufficient knowledge of information (2) The role of the group leader (3) The continuation of policy actors in policy making process.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30989
ISBN: 9745778214
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan_yu_front.pdf866.93 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch1.pdf920.51 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch2.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch3.pdf737.7 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch4.pdf411.42 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch5.pdf577.12 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch6.pdf452.52 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch7.pdf563.08 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch8.pdf803.66 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_ch9.pdf343.02 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_yu_back.pdf451.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.