Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31036
Title: โครงการวิจัยการศึกษารหัสพันธุกรรมในคนไทยที่มีไขมันในเลือดชนิดเอชดีแอลสูงมาก โดยวิธีถอดรหัสและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงหน้าที่
Other Titles: Genetic characterization of patients with hyperalphalipoproteinemia using resequencing approach and functional analysis
Authors: วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ
วาณี เปล่งพาณิชย์
ปาล์ม ชาติยิ่งเจริญ
LeGoff, Wilfried
Email: wkhovid@gmail.com
wplengpanit@gmail.com
magnams@hotmail.com
legoff@chups.jussieu.fr
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Hospital de la Pittie. INSERM
Subjects: ไขมันในเลือดชนิดแอชดีแอล
ภาวะระดับลิโพโปรตีนสูงในเลือด -- แง่พันธุศาสตร์
ภาวะระดับลิโพโปรตีนสูงในเลือด -- ไทย -- แง่พันธุศาสตร์
การถอดรหัสพันธุกรรม -- ไทย
พันธุกรรม -- การวิจัย -- ไทย
หลอดเลือดแดงแข็ง -- ไทย
หลอดเลือดแดงแข็ง -- ไทย -- แง่พันธุศาสตร์
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: ปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะเอชดีแอลในเลือดสูงยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด คณะผู้วิจัยทำการถอดรหัสพันธุกรรมยีน 3 ยีน คือ CETP, LIPC และ LIPG ซึ่งสร้างโปรตีน คอเลสเตอริล เอสเทอร์ ทรานสเฟอร์ โปรตีน, เฮบพาติค ไลเปส และ เอนทีเลียล ไลเปส ตามลำดับ ในคนไทยที่มีระดับเอชดีแอลในเลือดสูงมากเทียบกับประชากรกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยทำการถอดรหัสยีน CETP, LIPC และ LIPG ในส่วนของ exon และ exon-intron junctions เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในคนไทย 64 คนที่มีระดับเอชดีแอล ≥ 2.59 มิลลิโมล/ลิตร (100 มิลลิกรัม/เดซิเมตร) และเปรียบเทียบกับผลในประชากรกลุ่มควบคุม 113 คน ผลการวิจัย ใน coding region ของยีน CETP พบมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีการรายงานมาก่อน 2 ตำแหน่ง คือ deletion mutation ใน exon 9 (c.785-788 delTCCC หรือ p.Leu262ProfsX31) และ duplication mutation ใน exon 13 (c.1226-1230 dupAGACT หรือ p.Val411ArgX6) และพบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีการรายงานมาก่อนอีก 4 ตำแหน่งในส่วนของ CETP promoter ได้แก่ 18-bp deletion mutation (g.4989-5006delGGGCGGACATACATATAC) 1 ตำแหน่งและ point mutation 3 ตำแหน่ง (g.4982G > T, g.4961C > T และ g.4659C > T) ในยีน LIPC พบมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยมีการรายงานมาก่อนแบบ missense mutations 2 ตำแหน่ง คือ p.Gly141Ser และ P.Val173Met การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมดังกล่าวไม่พบในกลุ่มควบคุมเลย การทดลองทำ site-directed mutagenesis และศึกษาการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในระดับเซลล์ พบว่าการเปลี่ยนแปลง 18-bp deletion mutation mutagenesis และศึกษาการเปลี่ยนแปลงหน้าที่นระดับเซลล์ พบว่าการเปลี่ยนแปลง 18-bp deletion mutation ที่ CETP promoter มีผลทำให้ transcriptional activity ลดลง นอกจากนี้ พบว่าการเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยในยีน CETP คือ p.Asp459Gly หรือ D459G ที่พบบ่อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มคนไข้ที่มีระดับเอชดีแอลสูงเทียบกับกลุ่มควบคุม (23% และ 4% ตามลำดับ, P < 0.0001) สำหรับในยีน LIPGไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมใหม่ สรุป คณะผู้วิจัยพบการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อนในยีน CETP และ LIPC ในกลุ่มคนที่มีระดับเอชดีแอลสูง การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในยีน CEPT และ LIIPC ทั้งแบบที่พบใหม่และที่มีการรายงานมาก่อน พบได่ประมาณ 1 ใน 3 ของคนที่มีระดับเอชดีแอลสูงดังกล่าว
Other Abstract: Objective: Genetic factors associated with high HDL-cholesterol levels or hyperalphalipoproteinemia are incompletely understood. We resequenced 3 candidate genes, CETP, LIPC and LIPG, which encode cholesteryl ester transfer protein, hepatic lipase, and endothelial lipase, respectively, in Thai subjects with very high levels of HDL-cholesterol compared with healthy controls. Materials and Methods: Sequence variants of the CETP, LIPC and LIPG genes were identified by sequencing the exon and exon-intron junctions in 64 subjects with HDL-cholesterol levels ≥ 2.59 mmol/L (100 mg/dL) and compared with 113 normolipidemic subjects. Results: In the CETP gene, we found 2 novel mutations in the coding sequence, a deletion mutation in exon 9 (c.785-788 delTCCC or p.Leu262ProfsX31) and a duplication in exon 13 (c.1226-1230 dupAGACT or p.ValArgfsX6). Four other novel mutations in the CETP promoter, one deletion mutation (g.4989-5006delGGGCGGACATACATATAC) and 3 point mutations (g.4982 > T, g.4961C > T, g.4659C > T) were also identified. In the LIPC gene, 2 novel missense mutations (p.Gly141Ser and p.Val173Met) were found. None of these mutations were found in the control group. Site-directed mutagenesis and functional studies in vitro confirmed that the 18-bp deletion mutation in the CETP promoter was associated with a reduction in transcriptional activity. One common variant in the CETP gene (p.Asp459Gly ot D459G) was also found more commonly in the hyperalphalipoproteinemia group compared to the control group (23% vs 4%, respectively, P < 0.0001). No rare or novel variants in the LIPG gene were identified. Conclusion: Several variants were found in the CETP and LIPC genes in subjects with high HDL-cholesterol levels. Rare and common variants in the CETP and LIPC genes contribute to approximately one-third of the Thai subjects with hyperalphalipoproteinemia.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31036
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
weerapun_kh_2553.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.