Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31095
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางชีวเคมีกับการเจริญ ของเนื้องอก
Other Titles: Correlation of certain biochemical changes with tumour growth
Authors: อัญชลี มไหศิริโยดม
Advisors: ปรีดา ชัยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงแอคติวิตีของแลคเตตดีไฮโดรจีเนสรวมทั้งรูปแบบของไอโซไซม์ในเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมเปรียบเทียบกับในเนื้อเยื่อเต้านมปกติและเนื้องอกเต้านม ปรากฎว่าแอคติวิตีของเอ็นไซม์นี้ในเนื้อเยื่อทั้งสามชนิดนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอย่างไรก็ดี ค่าเฉลี่ยอัตราส่วนแอคติวิตีของ LDH-4/LDH-3 หรือ LDH-5/LDH-1 ในเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมสูงกว่าในเนื้อเยื่อเต้านมปกติและเนื้องอกเต้านม ถึงแม้ว่าจะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทำให้เห็นแนวโน้มว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของไอโซไซม์เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านม จากการเปรียบเทียบปริมาณโพลีเอมีนในปัสสาวะของผู้ป่วยมะเร็งและของคนปกติได้แสดงให้เห็นว่า ในปัสสาวะของผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งกระเพาะอาหาร มีปริมาณของโพลีเอมีนสูงกว่าของคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมากทุกรายมีสเปอร์มิดีนในปัสสาวะสูงกว่าระดับปกติ จึงน่าจะใช้สเปอร์มีดีนเป็นตัวบ่งชี้การเป็นมะเร็งเหล่านี้ในระยะแรกเริ่มได้ และการลดลงของปริมาณโพลีเอมีนในปัสสาวะของผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งต่อมลูกหมาก หลังการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกจากผู้ป่วยแล้วเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ปริมาณโพลีเอมีนที่เพิ่มขึ้นในปัสสาวะของผู้ป่วยมะเร็งนั้นมาจากเซลล์มะเร็ง ในการติดตามวัดปริมาณโพลีเอมีนในปัสสาวะของผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งเหงือก มะเร็งต่อมทอนซิล มะเร็งที่ลิ้น มะเร็งที่คอ มะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งรังไข่และมะเร็งต่อน้ำเหลือง ในระหว่างได้รับการรักษาโดยรังสีรักษาและเคมีบำบัด ปรากฎว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ตอบสนองต่อการรักษาขั้น complete response จะมีปริมาณโพลีเอมีนในปัสสาวะสูงขึ้นหลังจากเริ่มการรักษา 1-2 สัปดาห์ และในที่สุดจะลดลงจนใกล้เคียงปกติเมื่ออาการของโรคทุเลาลง ส่วนคนไข้ที่ตอบสนองต่อการรักษาขั้น partial response จะมีปริมาณโพลีเอมีนในปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนและแตกต่างกันในแต่ละราย ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาส่วนใหญ่มีปริมาณโพลีเอมีนในปัสสาวะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าขณะที่เซลล์มะเร็งถูกทำลายด้วยยาหรือรังสี ปริมาณโพลีเอมีนในปัสสาวะจะเพิ่มขึ้นภายหลังจากเริ่มการรักษาไม่นาน
Other Abstract: Lactate dehydrogenase activity and its isozyme patterns in normal and breast tumour tissues were compared. There was no significantly different in the enzymic activity between these tissues. However, the mean value of LDH-4/LDH-3 or LDH-5/LDH-1 activity in breast cancer tissue was lower, though not significantly, than benign or normal breast tissue. It appears likely that different isozyme pattern was present in breast cancer tissue. Urinary polyamine concentrations in cancer patients including carcinoma of the breast, lung, prostate, liver, esophagus, nasopharynx, ovary, colon, lymphoma, cervix and stomach were significantly higher than those of normal subjects. Every patient with cancer of the liver, breast, lung and prostate, in this study, had elevated urinary spermidine levels above 2 standard deviation of the normal mean value. This raises the hope that the urinary spermidine determination might be useful in detecting the presence of these malignancies at an early stage. A decrease in urinary polyamine levels in patients with carcinoma of the ovary, breast, esophagus, colon, stomach and prostate after removing of tumour mass supports the hypothesis that the increments in polyamines in extracellular fluids were derived mainly from tumour cells. Follow-up measurement of urinary polyamine concentrations in patients with cancer of the nasopharynx, gum, tonsil, tongue, hypopharynx, breast, esophagus, ovary and lymphode during radiotherapy or chemotherapy revealed that the initial rise in urinary polyamine concentration was associated with a complete response to therapy, and the subsequent low levels were in a period of remission. Those patients with partial response showed variation in urinary polyamine concentrations during treatment and different pattern for each patient. Most of the non­responders had slightly change in urinary polyamine levels during therapy. This observation suggests that the increase in urinary polyamine level which occurs during tumour regression might be due to the release of polyamines from dead or dying tumour cells.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31095
ISBN: 9745623741
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchlee_ma_front.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Anchlee_ma_ch1.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Anchlee_ma_ch2.pdf429.09 kBAdobe PDFView/Open
Anchlee_ma_ch3.pdf831.3 kBAdobe PDFView/Open
Anchlee_ma_ch4.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Anchlee_ma_ch5.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Anchlee_ma_back.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.