Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31106
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมบัติ จันทรวงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | สมบูรณ์ สุขสำราญ | - |
dc.contributor.author | พิบูลย์ หัตถกิจโกศล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-05-20T04:52:54Z | - |
dc.date.available | 2013-05-20T04:52:54Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745638455 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31106 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | อนุสาวรีย์ที่ปรากฏอยู่โดยทั่วไปตามถนนหนทาง หรือตามสถานที่สาธารณะทั่วๆ ไปนั้น เป็นอนุสาวรีย์แบบสมัยใหม่ที่รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตกเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 แล้วได้มีการสร้างกันอย่างจริงขึ้นในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 นับตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมาการสร้างอนุสาวรีย์ก็รับความนิยมมาตลอด ดังจะเห็นได้ว่าจำนวนของอนุสาวรีย์มีเพิ่มขึ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ จากจำนวนที่ค่อนข้างมาก และการปรากฏตัวตามที่สาธารณะของอนุสาวรีย์ในปัจจุบัน ทำให้อนุสาวรีย์เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชน และสังคมอย่างปฏิเสธไม่ได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการสร้างอนุสาวรีย์กับการเมืองไทย และบทบาทของอนุสาวรีย์ที่มีต่อการเมือง และสังคมไทยโดยเฉพาะบทบาทในการหล่อหลอมกล่อมเกลาประชาชน ที่ผู้มีอำนาจในแต่ละยุคแต่ละสมัยพยายามที่สร้างขึ้นผ่านอนุสาวรีย์ ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็น ค่านิยม ความคิด ความเชื่อของผู้มีอำนาจและประชาชนในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้ และยังมุ่งศึกษาถึงแนวโน้มทางความคิดของประชาชนในปัจจุบันที่ต้องรับรู้ซึมทราบกับอนุสาวรีย์เหล่านี้อยู่ตลอดเวลาด้วยว่า จะเป็นไปในทิศทางใด โดยการสร้างภาพสะท้อนทางการเมืองและสังคมไทยจากอนุสาวรีย์ทั้งหมด ผลจากการศึกษาพบว่า กระบวนการสร้างอนุสาวรีย์มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเมืองไทย และอนุสาวรีย์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองไทยมาตลอด ทั้งในด้านการถูกใช้เพื่อหาผลประโยชน์ทางการเมือง และในการหล่อหลอมกล่อมเกลาประชาชน โดยตัวอนุสาวรีย์เองสามารถสะท้อนให้เห็น ค่านิยม ความคิด ความเชื่อของผู้มีอำนาจและประชาชนในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่อนุสาวรีย์แห่งนั้นเกิดขึ้นได้ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นภาพความขัดแย้ง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยได้ในบางส่วนอีกด้วย ในด้านของการพยายามหล่อหลอมกล่อมเกลาทางการเมืองและสังคมนั้น จะเห็นได้ว่า ความคิดที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่แสดงผ่านอนุสาวรีย์คือ ความคิดที่มุ่งให้ความสำคัญไปที่สถาบันกษัตริย์ราชวงศ์จักรีความคิดที่มีความสำคัญรองลงมาได้แก่ ความคิดทหารนิยม และความคิดชาตินิยม ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อกลุ่มทหาร ส่วนความคิดที่ปรากฏผ่านอนุสาวรีย์น้อยที่สุดคือ ความคิดทางด้านประชาธิปไตย ภาพสะท้อนทางการเมืองและสังคมไทยจากอนุสาวรีย์จึงเป็นภาพของการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผสมอยู่กับการปกครองในแบบเผด็จการทหารที่สอดคล้องกับความคิดที่กล่าวมา ซึ่งถ้าเป็นจริงว่า อนุสาวรีย์สามารถหล่อหลอมกล่อมเกลาได้แล้ว แนวโน้มทางความคิดของประชาชนและอนุชนก็จะเป็นไปในลักษณะที่สนองตอบและยอมรับต่อการปกครองในระบอบดังกล่าวมากกว่าอย่างอื่น | - |
dc.description.abstractalternative | Monuments in Thailand which generally appear in public are modern monuments influenced by the West from the time of King Rama IV. But they gained more serious attention towards the end of the reign of King Rama V. Since then, construction of monuments became popular as evidenced by the regular increase of their number. From the high number of monuments and their public existence, it is undeniable that the role of monuments is related to the people's way of life and society. This thesis is an attempt to study the relationship of monument construction process and Thai politics and the role of monuments on Thai society and politics, especially their role as socializing agents. During each period, the power elites have tried to construct monuments which simultaneously reflect the people's value, ideology and belief as well as theirs. This thesis also aims to study the present trends of people's thought which are influenced by the existence of these monuments all the time by projecting a social and political reflection from these monuments. It is clear that monument construction process is directly related to Thai politics. Monuments themselves relate to Thai politics both for gaining political interest and to socialize people. Monuments also reflect value, thought, and belief of the elites and people in the period when they were built. They can also partially reflect political conflict and changes in Thai society. As a socializing agent, the most important thought that has been reflected through monuments, is the significance of the monarchy with a special emphasis on the present dynasty. The second and third most important thoughts reflected is militarism and nationalism that is directly useful for the military. The least important political idea reflected through monuments is democracy. The Thai political and social portrait as reflected from monuments, is a picture of an amalgamation between absolute monarchy and military dictatorship in accordance with the thoughts already mention. If it is really true that monuments can serve as a socializing agents, then the people and later generation's trends of thoughts will be responsive and congruent to this regime more than anything else. | - |
dc.format.extent | 849521 bytes | - |
dc.format.extent | 878648 bytes | - |
dc.format.extent | 828580 bytes | - |
dc.format.extent | 5433185 bytes | - |
dc.format.extent | 8483519 bytes | - |
dc.format.extent | 3261534 bytes | - |
dc.format.extent | 985201 bytes | - |
dc.format.extent | 1510946 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | อนุสาวรีย์ไทย : การศึกษาในเชิงการเมือง | en |
dc.title.alternative | Public monuments in Thailand : a political study | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การปกครอง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piboon_ha_front.pdf | 829.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboon_ha_ch1.pdf | 858.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboon_ha_ch2.pdf | 809.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboon_ha_ch3.pdf | 5.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboon_ha_ch4.pdf | 8.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboon_ha_ch5.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboon_ha_ch6.pdf | 962.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piboon_ha_back.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.