Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31118
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชรี ปานกุล-
dc.contributor.advisorไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาลิก-
dc.contributor.authorอัญชลี ศิริโชติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-05-20T06:55:32Z-
dc.date.available2013-05-20T06:55:32Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745660922-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31118-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2528en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอบแห้งปลาหมึกกล้วยโดยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และศึกษาผลการใช้โปแตสเซียมซอร์เบทในกระบวนการผลิตปลาหมึกกล้วยแห้งตลอดจนหาภาชนะบรรจุที่เหมาะสม และอายุการเก็บของปลาหมึกกล้วยแห้ง ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่ 1, แบบที่ 2 และแบบที่ 3 มีพื้นที่แผงรับแสงอาทิตย์ ขนาด 6.0, 3.3 และ 2.8 ตารางเมตร พื้นที่สำหรับวางวัตถุอบแห้งขนาด 1.5, 2.0 และ 2.0 ตารางเมตรตามลำดับ เมื่ออบแห้งปลาหมึกกล้วยครั้งละ 5 กิโลกรัมจนมีปริมาณความชื้นร้อยละ 18-22 พบว่าตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่ 1, แบบที่ 2 และแบบที่ 3 มีอัตราการระเหยน้ำออกจากปลาหมึกกล้วยเท่ากับ 0.388, 0.380 และ 0.375 กิโลกรัม/ชั่วโมง เปรียบเทียบกับการตากแดดกลางแจ้ง มีอัตราการระเหยน้ำออกจากปลาหมึกกล้วยเท่ากับ 0.371 กิโลกรัม/ชั่วโมง ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของการอบแห้งเท่ากับ 6.99, 12.30 และ 13.45 เปอร์เซนต์ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการอบแห้งต่อหน่วยพลังงานของตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่ 1, แบบที่ 2 และแบบที่ 3 มีราคาประมาณ 1.15, 0.81 และ 0.91 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ตามลำดับ โดยคิดอายุการใช้งานของตู้อบแห้งนาน 2 ปี ปลาหมึกกล้วยแห้งจากตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่ 1, แบบที่ 2, แบบที่ 3 และการตากแดดกลางแจ้ง มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด 3.7x10³, 3.5x10³, 3.9x10³ และ 8.5x10³ โคโลนี/กรัม ตามลำดับ มีปริมาณเกลือแกงอยู่ในช่วงร้อยละ 3.42-3.96 เมื่อประเมินผลทางประสาทสัมผัสพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ พิจารณาจากอัตราการระเหยน้ำออกจากปลาหมึกกล้วย ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของการอบแห้ง คุณภาพของปลาหมึกกล้วยแห้งจากการประเมินผลทางประสาทสัมพัสและค่าใช้จ่ายในการอบแห้งต่อหน่วยพลังงาน พบว่าตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่ 2 เหมาะต่อกระบวนการผลิตปลาหมึกกล้วยแห้งมากที่สุดการแช่ปลาหมึกกล้วยในสารละลายโปแตสเซียมซอร์เบทความเข้มข้นร้อยละ 0.1, 0.2, 0.3 และ 0.4 เป็นเวลา 1 และ 5 นาที ก่อนอบแห้งพบว่าการแช่ในสารละลายโปแตสเซียมซอร์เบทความเข้มข้นร้อยละ 0.3 เป็นเวลา 5 นาที จะให้ปริมาณโปแตสเซียมซอร์เบทเคลือบผิว ที่เหมาะต่อกระบวนการผลิตปลาหมึกกล้วยแห้งมากที่สุด จากการอบแห้งปลาหมึกกล้วยที่ผ่านขั้นตอนการแช่หรือไม่แช่สารละลายโปแตสเซียมซอร์เบท โดยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบที่ 2 จนมีปริมาณความชื้นร้อยละ 18-22 บรรจุในถุงพลาสติกโพลีเอทธีลีน และโพลีโปรไพลีน ความหนา 0.22 มิลลิเมตร เก็บที่อุณหภูมิ 25.5-33.0°ซ. ตรวจสอบคุณภาพที่เวลาการเก็บ 5 ระยะคือ 0, 1, 2, 3 และ 4 เดือน ประเมินผลทางประสาทสัมผัสพบว่าระยะเวลาการเก็บมีผลต่อการทดสอบในเรื่องของลักษณะปรากฎและคะแนนรวมของผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ สารละลายโปแตสเซียมซอร์เบทและชนิดของภาชนะบรรจุ ไม่มีผลต่อการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ และผู้ทดสอบยังยอมรับผลิตภัณฑ์นี้อยู่ หลังจากเก็บไว้ 4 เดือน จากผลการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อราพบว่า ชนิดของภาชนะบรรจุไม่มีผลต่อปริมาณเชื้อราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ และผู้ทดสอบยังยอมรับผลิตภัณฑ์นี้อยู่ หลังจากเก็บไว้ 4 เดือน จากผลการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อราพบว่า ชนิดของภาชนะบรรจุไม่มีผลต่อปริมาณเชื้อราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ แต่ระยะเวลาการเก็บและการใช้สารละลายโปแตสเซียมซอร์เบทจะมีผลต่อปริมาณเชื้อราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ การแช่ปลาหมึกกล้วในสารละลายโปแตสเซียมซอร์เบทก่อนการอบแห้ง จะทำให้ปลาหมึกกล้วยแห้งเมื่อเก็บไว้ 4 เดือน มีปริมาณเชื้อราไม่เกิน 17 โคโลนี/กรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณเชื้อราในปลาหมึกกล้วยแห้งที่ไม่ได้แช่ในสารละลายโปแตสเซียมซอร์เบท นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ปริมาณความชื้นพบว่าระยะเวลาการเก็บ การใช้สารละลายโปแตสเซียมซอร์เบท และชนิดของภาชนะบรรจุไม่มีผลต่อปริมาณความชื้นของผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ ถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธีลีนจึงเหมาะต่อการบรรจุผลิตภัณฑ์มากกว่าถุงพลาสติกชนิดโพลีโปรไพลีน-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the drying of squid (Loligo sp.) with various solar dryers, the effect of potassium sorbate in the production of dried-squid process and to find the satisfactory packaging material and storage life of dried-squid. Three type of solar dryers; mode l, mode 2 and mode 3 having 6.0, 3.3, 2.8 m² collector area and 1.5, 2.0, 2.0 m²mat area were studied. .When 5 kg of squid was dried to the moisture content of 18-22 percent, the evaporation rate of solar dryers mode 1, mode 2 and mode 3 were 0.388, 0.380 and 0.375 kg/h. compared to sun-drying method at 0.371 kg/h and thermal efficiency of the three solar dryers were 6.99, 12.30 and 13.45 percent respectively. An economic evaluation of mode 1, mode 2 and mode 3 were at 1.15, 0.81 and 0.91 baht/KWh. based on expected life of 2 years. Dried squid from mode 1, mode 2 and mode 3 solar dryers and sun-drying method have total micro-organism 3.7 x 10³, 1 3.5 x 10³, 3.9 x10³, 8.5 x 10³. colonies/g and sodium chloride in the range of 3,42 to 3, 96 percent, The sensory evaluation of these dried-squid was not different from each other at 95 percent confidence level. The solar dryers were screened based on rate of water evaporation, thermal efficiency, quality of the product and an economic evaluation. It was found that the best solar dryer for drying squid was mode 2. In the study of using potassium sorbate solution, it was found that soaking in 0.3 percent potassium sorbate solution for 5 minutes was most suitable for the production of dried-squid. The squid soaked or unsoaked in potassium sorbate solution were dried by solar dryer mode 2 to moisture content of 18-22 percent, packed in polyethylene and polypropylene 0.22 mm. thicked bags and stored at 25.5-33.0°C. Product quality was tested at storage time of 0, l, 2, 3 and 4 months. Results from sensory evaluation showed that storage time significantly affected appearance scores and total scores at 95 percent confidence level; while potassium sorbate solution and packaging material did not. The dried squid were accepted after 4 months storage. For the analysis of mold count, the type of packaging material did not have any effect at 95 percent confidence level. Mold count in dried treated squid was 17 colonies/g which was near to mold count in untreated dried squid. For the analysis of moisture content storage time potassium sorbate and type of packaging material did not affect moisture content at 95 percent confidence level, Therefore, polyethylene bag was satisfactory packaging material than polypropylene bag.-
dc.format.extent1232052 bytes-
dc.format.extent276028 bytes-
dc.format.extent1334118 bytes-
dc.format.extent872409 bytes-
dc.format.extent2123748 bytes-
dc.format.extent748446 bytes-
dc.format.extent388130 bytes-
dc.format.extent4494283 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการอบแห้งปลาหมึกกล้วย (Loligo sp.) โดยตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์en
dc.title.alternativeDrying of squid (Loligo sp.) with solar sryeren
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางอาหารes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchalee_si_front.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Anchalee_si_ch1.pdf269.56 kBAdobe PDFView/Open
Anchalee_si_ch2.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Anchalee_si_ch3.pdf851.96 kBAdobe PDFView/Open
Anchalee_si_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Anchalee_si_ch5.pdf730.9 kBAdobe PDFView/Open
Anchalee_si_ch6.pdf379.03 kBAdobe PDFView/Open
Anchalee_si_back.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.