Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31142
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย รัตนโกมุท-
dc.contributor.authorธงชัย สันติร่วมใจรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-05-20T10:06:20Z-
dc.date.available2013-05-20T10:06:20Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745640603-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31142-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสาเหตุการขาดเสถียรภาพทางการค้าระหว่างประเทศของไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2525 ดัชนีที่ใช้วัดระดับการขาดเสถียรภาพทางการค้าระหว่างประเทศ คือ อัตราการแลกเปลี่ยนทางรายได้ โดยแบ่งการวิเคราะห์เป็นสองส่วนใหญ่ ๆคือ ส่วนแรก: วิเคราะห์ระดับมหภาค ส่วนสอง: วิเคราะห์ระดับจุลภาค ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ระดับมหภาค ปรากฏว่า สาเหตุสำคัญของการขาดเสถียรภาพทางการค้าระหว่างประเทศของไทย มาจากการแปรผันทางด้านอุปทานหรือการแปรปรวนของผลผลิตภายในประเทศเป็นหลัก โดยมีการแปรผันทางด้านอุปสงค์จากต่างประเทศเป็นสาเหตุรอง การแปรผันในอุปทานและอุปสงค์มีค่าเสริมกันในการก่อให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อสรุปนี้อธิบายได้จากความจริงที่ว่า สัดส่วนการส่งสินค้าออกของไทยส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยหมวดสินค้าอาหารที่จำเป็นสำหรับการบริโภค ดังนั้น อุปสงค์ที่มีต่อสินค้าเหล่านี้ค่อนข้างมีเสถียรภาพส่วนการวิเคราะห์การแปรผันในอัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้า พบว่าสาเหตุสำคัญของการแปรผัน ไม่ได้มาจากการแปรผันในราคาส่งออกหรือราคานำเข้า สาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่มาจากการแปรผันในทิศทางเดียวกันของทั้งราคาส่งออกและราคานำเข้า ผลการศึกษาระดับจุลภาค โดยวิเคราะห์สาเหตุการขาดเสถียรภาพทางการค้าระหว่างประเทศของสินค้าส่งออกสำคัญเก้าชนิดของไทย ปรากฏว่า สินค้าที่ดัชนีการขาดเสถียรภาพของอัตราการแลกเปลี่ยนทางรายได้จากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สับปะรดกระป๋อง ยางพารา ข้าว กุ้งสดแช่แข็ง ดีบุก ข้าวโพด และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง สินค้าเจ็ดชนิดได้แก่ ข้าว ดีบุก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสดแช่แข็ง น้ำตาล ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และสับปะรดกระป๋อง การแปรผันทางการค้าระหว่างประเทศมาจากการแปรผันในอุปทานภายในประเทศเป็นสาเหตุสำคัญ สินค้าเหล่านี้ปรากฏว่า หมวดสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ น้ำตาล ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และสับปะรดกระป๋อง มีดัชนีการขาดเสถียรภาพของอัตราการแลกเปลี่ยนทางรายได้สูงสุดตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าทั้งสามชนิดเป็นสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่พึ่งพิงสินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบในการผลิต ปัญหาส่วนใหญ่มาจากความไม่แน่นอนของวัตถุดิบการเกษตร ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ และคุณภาพวัตถุดิบต่ำ มีสินค้าสองชนิดได้แก่ ยางพารา และข้าวโพด การแปรผันทางการค้าระหว่างประเทศมาจากการแปรผันในอุปสงค์จากต่างประเทศเป็นสาเหตุสำคัญ ทั้งนี้เพราะสินค้าทั้งสองชนิดผลิตเพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์จากต่างประเทศเป็นหลัก ทำให้ตลาดส่งออกของสินค้าทั้งสองเป็นตลาดของผู้ซื้อฝ่ายเดียว นอกจากนั้นพบว่าสินค้าส่งออกส่วนใหญ่การแปรผันในอุปทานและอุปสงค์มีค่าเสริมกันในการก่อให้เกิดการแปรผันทางการค้าระหว่างประเทศ โดยมีสินค้าเพียงสองชนิด ได้แก่ ข้าวและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง การแปรผันในอุปทานและอุปสงค์มีค่าหักล้างกันในการก่อให้เกิดการแปรผันทางการค้าระหว่างประเทศ การวิเคราะห์แยกองค์ประกอบสาเหตุการขาดเสถียรภาพทางการค้าระหว่างประเทศโดยพิจารณาจากสาเหตุของการแปรผันในปริมาณส่งออก และการแปรผันในอัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้าของสินค้าส่งออกสำคัญ ผลปรากฏว่าสาเหตุของการแปรผันในปริมาณส่งออก มาจากความแปรปรวนของปริมาณส่งออกเท่ากับ 96 เปอร์เซ็นต์ และมาจากความแปรปรวนร่วมระหว่างปริมาณส่งออก เท่ากับ 4 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าอิทธิพลของการแปรผันในปริมาณส่งออกสินค้าสำคัญมาจากความแปรปรวนของปริมาณส่งออกเป็นสาเหตุสำคัญ ส่วนอิทธิพลจากความแปรปรวนร่วมมีน้อยมาก สินค้าที่มีเปอร์เซ็นต์ก่อให้เกิดการแปรผันในปริมาณส่งออกสินค้าสำคัญสูงสุด ได้แก่ ข้าว น้ำตาลและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่มีสินค้าสามชนิดที่มีเปอร์เซ็นต์ในการก่อให้เกิดการแปรผันในปริมาณส่งออกลดลงได้แก่ ข้าวโพด ยางพารา และดีบุก ผลการวิเคราะห์การแปรผันในอัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้า ปรากฏว่าสาเหตุสำคัญมาจากความแปรปรวนของอัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้าเท่ากับ 63 เปอร์เซ็นต์ และมาจากความแปรปรวนร่วมระหว่างอัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้าของสินค้าส่งออกสำคัญ เท่ากับ 37 เปอร์เซ็นต์ สินค้าที่มีเปอร์เซ็นต์ในการก่อให้เกิดการ แปรผันในอัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้าสูงสุด ได้แก่ ข้าว น้ำตาล และยางพารา แต่มีสินค้าสองชนิดที่มีเปอร์เซ็นต์ในการก่อให้เกิดการแปรผันในอัตราการแลกเปลี่ยนทางการค้าลดลง ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis was to study causes of Thailand's trade instability during the period 1967-1982. A measurement of direct effects on the economy is income terms of trade. This analysis was principally divided into two steps: the first one dealt with macro analysis, and the second dealt with micro analysis. From the results of macro analysis, it was found that instability of Thailand's trade was mainly caused by supply fluctuations or variations in domestic production, demand variations seemed to be minor cause. This conclusion could be drawn from the fact that a large proportion of Thailand's exports consisted of stable food items for necessary consumption, and demand for these exports appeared to be relatively stable. From the analysis of causes of fluctuations in the commodity terms of trade was neither the result of fluctuation in export price index nor the fluctuation in import price index but mainly from fluctuations in both export price index and import price index in the same direction. From micro analysis, it was found that extremely unstable commodities in the income terms of trade were sugar, followed by textile products, canned pineapple, rubber, rice, frozen shrimp, tin, maize and tapioca products respectively. Fluctuations in domestic supply were the main cause of fluctuations in trade of each seven commodities including rice, tin, tapioca products, frozen shrimp, sugar, textile products and canned pineapple. Among these commodities-sugar, textile products and canned pineapple were commodities with high instability of the income terms of trade. These products are agro-industry products that depended on agricultural intermediate products and domestic raw materials. Therefore, causes of fluctuations in industrial products were mainly caused by low quality and uncertainty of the main raw material supply. However, in case of two other commodities- rubber and maize-fluctuations in demand were the reasons of fluctuations in their trade. For most of Commodities, fluctuations in supply and demand were additive rather than offsetting in producing the fluctuations in trade of each individual commodity. Fluctuations in the supply of and the demand for rice and tapioca products were offsetting each other and resulted in lower degree of trade fluctuation. From the decomposition of causes of trade instability for major exports, it was found that 96 percent of the variance of the quantity of exports was separately the result of variation of quantities of in - dividual commodity group. The remaining 4 percent was the result of combined effects of quantities of the same direction at about the same time. Rice, sugar and tapioca products were the most influential products producing fluctuations in the quantities of the major exports. However fluctuations decreased for three commodities-maize, rubber and tin. From the analysis of causes of fluctuations in commodity terms of trade, it was found that 63 percent of the variance was the result of variation of prices of individual commodity groups. The remaining 37 percent was the result of combined price effect of various commodities moving in the same direction at about the same time. Rice, sugar and rubber were the most influential products producing fluctuations in commodity terms of trade. However, there were .two commodities-frozen shrimp, textile products-whose fluctuations were decreased.-
dc.format.extent1270709 bytes-
dc.format.extent2205110 bytes-
dc.format.extent1474306 bytes-
dc.format.extent5515419 bytes-
dc.format.extent1218769 bytes-
dc.format.extent874885 bytes-
dc.format.extent3076347 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดการขาดเสถียรภาพทางการค้า ระหว่างประเทศของไทยู ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510-2525en
dc.title.alternativeThe analysis of determination factors of trade instability of Thailand 1967-1982en
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thongchai_su_front.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Thongchai_su_ch1.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Thongchai_su_ch2.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Thongchai_su_ch3.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open
Thongchai_su_ch4.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Thongchai_su_ch5.pdf854.38 kBAdobe PDFView/Open
Thongchai_su_back.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.