Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31290
Title: การฟอกเงินโดยองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร : ศึกษาเฉพาะกรณีข้อเสนอแนะพิเศษของหน่วยป้องกันอาชญากรรมการทางการเงิน
Other Titles: Money laundering by non profit organizations a case study of Financial Action Task Force special recommendations
Authors: สกนธ์กาญจน์ ปิฏกานนท์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
Subjects: องค์กรไม่แสวงหากำไร --การเงิน
การฟอกเงิน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษา กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวกับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร และข้อเสนอแนะพิเศษของหน่วยงานป้องกันอาชญากรรมทางการเงิน (FATF) เพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยถูกนำไปใช้เป็นแหล่งในการฟอกเงิน เพื่อสนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้าย โดยวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาของกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในต่างประเทศอย่างเช่น ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาด้วย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ประเทศไทยยังขาดกลไกในการควบคุมดูแลองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรอีกหลายประการ และยังต้องปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเพื่อให้ได้มาตรฐานในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นมาตรการในการจัดตั้งองค์กร การบริหารจัดการ ตลอดจนการลงโทษองค์กรที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และมาตรการทางกฎหมายฟอกเงินเพื่อให้สอดคล้องกันและสามารถประสานงานกันระหว่างหน่วยที่กำกับดูแลองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อเสนอแนะพิเศษของหน่วยป้องกันอาชญากรรมทางการเงิน ที่เกี่ยวกับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เพื่อนำมาวิเคราะห์หามาตรการทางกฎหมายอันเหมาะสมมาบังคับใช้กับมาตรการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้องค์กรการก่อการร้ายนำองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรไปใช้เป็นแหล่งในการฟอกเงินเพื่อนำเงินดังกล่าวไม่สนับสนุนการเงินแก่การก่อการร้ายได้อีกต่อไป
Other Abstract: This thesis is aimed at studying laws and rules related to a non-profit organization and special recommendations of the Financial Action Task Force, so as to prevent the non-profit organization from being illegally used as a source of money laundering to provide financial support for terrorism by analyzing the questions of laws currently applied. In addition, the legal measures concerning non-profit organization in the foreign countries such as the United Kingdom, the United States of America and Canada are also taken to study. The result of the study reveal that Thailand is lacking in the mechanisms for controlling the non-profit organization, and has to improve the legal measures as to non-profit organization to meet the international standard, regardless of the measures to establish the organization; management, including punishing the organization for breaching the laws, and the legal measure in connection with money laundering to be in harmony with each other, and to enable the entity supervising the non-profit organization to efficiently coordinate with the Anti-Money Laundering Office (AMLO). As a result, it is necessary to study the special recommendations of the Financial Action Task Force concerning the non-profit organization in order to analyze and find the appropriate legal measures to apply to the existing money laundering measures to be much more efficient, which prevents the terrorist organizations from using the non-profit organization as the source of money laundering to provide financial support for terrorism.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31290
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1263
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1263
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakonkam_Pi.pdf24.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.