Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31306
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิรินทร หยิบโชคอนันต์-
dc.contributor.advisorสิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา-
dc.contributor.authorศริญญา อัครไชยสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-05-25T06:50:12Z-
dc.date.available2013-05-25T06:50:12Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31306-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractไซยานิดินและอนุพันธ์เป็นสารธรรมชาติจัดอยู่ในกลุ่มสารแอนโธไซยานิน การศึกษาครั้งนี้สนใจเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านภาวะระดับกลูโคสในพลาสมาสูงของไซยานิดินและอนุพันธ์ การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง อนุพันธ์ที่ใช้ศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไซยานิดิน ไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ ไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ ไซยานิดิน-3-กาแลคโตไซด์ และไซยานิดิน-3,5-ไดกลูโคไซด์ จากนั้นนำมาหาค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-อะไมเลส ผลการทดลองพบว่า ไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์สามารถยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-อะไมเลสได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC₅₀ เท่ากับ 21.28±0.03 µM เรียงลำดับความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-อะไมเลส ได้ดังนี้ ไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ >ไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์>ไซยานิดิน>ไซยานิดิน-3-กาแลคโตไซด์ ≅ไซยานิดิน-3,5-ไดกลูโคไซด์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ยังมีค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-อะไมเลสน้อยกว่าอะคาร์โบส ซึ่งมีค่า IC₅₀ เท่ากับ 18.33±0.05 µM การยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-อะไมเลสของไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์เป็นแบบชนิดไม่แข่งขัน และไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ในขนาดความเข้มข้นต่ำ คือ 0.1 µM สามารถเสริมฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-อะไมเลสของอะคาร์โบสได้ นอกจากนี้ในการศึกษาในหนูแรทปกติ พบว่า เมื่อให้ไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ ขนาด 100 และ 300 มก./กก. สามารถลดระดับกลูโคสในพลาสมาภายหลังให้แป้ง ณ นาทีที่ 30, 60 และ 90 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ ขนาด 30 มก./กก. ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับกลูโคสในพลาสมา ในขณะเดียวกันเมื่อให้ไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ ขนาด 30 มก./กก. ร่วมกับอะคาร์โบส พบว่า สามารถเสริมฤทธิ์ของอะคาร์โบส ขนาด 0.5 มก./กก. ในการลดระดับกลูโคสในพลาสมาภายหลังให้แป้ง ณ นาทีที่ 30, 60 และ 90 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทั้งนี้ควรทำการศึกษาเกี่ยวกับพิษวิทยาและผลทางคลินิกเพิ่มเติม เพื่อนำไปข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันและรักษาโรคเบาหวานต่อไปen
dc.description.abstractalternativeCyanidin and its derivatives, the natural anthocyanins, were evaluated their antihyperglycemic activities in vitro and vivo. Five compounds including cyanidin, cyanidin-3-rutinoside, cyanidin-3-glucoside, cyanidin-3-galactoside, cyanidin-3,5-diglucoside were investigated the pancreatic α-amylase inhibition. The results showed that cyanidin-3-rutinoside was the most effective pancreatic α - amylase inhibitor with IC₅₀ value of 21.28±0.03 µM. When comparing the IC₅₀ values, it was found that pancreatic α - amylase inhibitory activity increased in the order of cyanidin-3-rutinoside > cyanidin-3-glucoside > cyanidin > cyanidin-3-galactoside ≅cyanidin-3,5-diglucoside. However, they were less potent than that of acarbose (IC₅₀ = 18.33±0.05 µM). A kinetic enzyme analysis revealed that cyanidin-3-rutinoside gave a noncompetitive type inhibition against pancreatic α-amylase. A low dose of cyanidin-3-rutinoside (0.1 µM) showed a synergistic inhibition when combined with acarbose. Moreover, the normal rats treated with cyanidin-3-rutinoside at dose of 100 and 300 mg/kg significantly decreased plasma glucose concentration after 30, 60 and 90 min of starch loading. However, the normal rats treated with cyanidin-3-rutinoside at dose of 30 mg/kg did not change plasma glucose concentration when compared to control group. In meanwhile, cyanidin-3-rutinoside (30 mg/kg) combined with acarbose (0.5 mg/kg) showed significantly suppressed plasma glucose concentration at 30, 60 and 90 min. These compounds were required to evaluate its toxicity and clinical efficacy for potential application in the prevention and treatment of diabetes mellitus.en
dc.format.extent1372509 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.897-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอะมีเลส -- สารยับยั้งen
dc.subjectน้ำตาลในเลือด -- การควบคุมen
dc.subjectแอนโธไซยานิน -- การใช้รักษาen
dc.titleฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-อะไมเลสและฤทธิ์ลดระดับกลูโคสในพลาสมาของไซยานิดินและอนุพันธ์en
dc.title.alternativeAlpha-amylase inhibitory activity and anti-hyperglycemic effects of cyanidin and its derivativesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirintorn.Y@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSirichai.A@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.897-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarinya_ak.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.