Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31312
Title: | ผลของการเดินที่มีต่อสุขสมรรถนะของกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน |
Other Titles: | Effect of walking on health related physical fitness in overweight working group |
Authors: | ศศิภา จินาจิ้น |
Advisors: | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | thanomwong.k@chula.ac.th |
Subjects: | การเดิน สมรรถภาพทางกาย การออกกำลังกาย บุคคลน้ำหนักเกิน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเดินที่มีต่อสุขสมรรถนะของกลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคคลวัยทำงาน อายุระหว่าง 30 – 59 ปี เพศชายและเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ค่าดัชนีมวลกายระหว่าง 25-29.9 กก./ตร.ม. จำนวน 37 คน ทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานการเดินต่อวันเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยอาสาสมัครทุกคนได้รับเครื่องนับก้าว ยี่ห้อ ออมรอน รุ่น เฮชเจ 109 โดยติดเครื่องนับก้าวตั้งแต่เวลาตื่นนอนถึงเวลาเข้านอน ไว้ที่เอวด้านขวา สุ่มแบบง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เดินตามปกติจำนวน 18 คน และกลุ่มที่ 2 เดินตามจำนวนก้าวที่กำหนด จำนวน 19 คน ระยะเวลาการทดลอง 12 สัปดาห์ โดยกำหนดให้กลุ่มที่ 1 เดินตามปกติ มีการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และกลุ่มที่ 2 เดินตามจำนวนก้าวที่กำหนด ให้เพิ่มการเดินจากค่าพื้นฐานให้ถึงช่วง 7,500 – 9,999 ก้าวต่อวัน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และรักษาจำนวนก้าวในช่วง 7,500 – 9,999 ก้าวต่อวัน เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ทำการวัดดัชนีมวลกาย รอบเอว รอบสะโพก อัตราส่วนเอวต่อสะโพก อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด พลังงานที่ใช้ต่อวันและจำนวนการเดินต่อวัน ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 7 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำและการเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของแอลเอสดี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิต .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มที่ 2 เดินตามจำนวนก้าวที่กำหนดของเพศชาย มีดัชนีมวลกาย รอบเอว รอบสะโพก อัตราส่วนเอวต่อสะโพก อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด พลังงานที่ใช้ต่อวันและจำนวนการเดินต่อวันดีกว่ากลุ่มที่ 1 เดินตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพัฒนาการเกือบทุกตัวแปรดีกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มที่ 2 เดินตามจำนวนก้าวที่กำหนดของเพศหญิง มี ดัชนีมวลกาย รอบเอว อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวขณะพัก เปอร์เซ็นต์ไขมัน สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด พลังงานที่ใช้ต่อวันและจำนวนการเดินต่อวัน ดีกว่ากลุ่มที่ 1 เดินตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพัฒนาการเกือบทุกตัวแปรดีกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การเพิ่มกิจกรรมทางกายด้วยการเดิน 7,500 - 9,999 ก้าวต่อวัน มีผลที่ดีขึ้นต่อสุขสมรรถนะของบุคคลวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินทั้งเพศชายและเพศหญิง |
Other Abstract: | Purpose : The purpose of this investigation was to study the effect of walking on health related physical fitness in overweight working group. Method : The subjects were 37 volunteered males and females (ages 30-59) with overweight condition (BMI = 25-29.9 kg/m²). All subjects were instructed to wear the pedometer (Omron, HJ 109) on the right waist from wake up until go to bed. Step count baseline recorded for one week . The subjects were randomized and divided into 2 groups, group 1 (18 subjects) walking for normal step and having normal lifestyle while group 2 (19 subjects) walking for 7,500-9,999 steps per day from baseline for 2 weeks and maintain 7,500-9,999 steps per day for 10 week. BMI, waist and hip circumference, waist to hip ratio, resting heart rate, blood pressure, percent body fat, maximal oxygen consumption, energy expenditure, and steps/day were measured before the experiment, of the 7th, and 12th week of the experiment. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, one way analysis of covariance, one way analysis of variance with repeated measure, and multiple comparison by using LSD. Results : By the end of 12 weeks intervention, it was found that: 1. Group 2 walking for 7,500-9,999 steps/day in overweight males had body mass index, waist and hip circumference, waist-hip ratio, resting heart rate, diastolic blood pressure, percent fat, VO2 max, energy, and step/day more significantly improved and almost every variable of group 2 more than group 1. 2. Group 2 walking for 7,500-9,999 steps/day in overweight females had body mass index, waist circumference, resting heart rate, diastolic blood pressure, percent fat, VO2 max, energy, and step/day more significantly improved and almost every variable of group 2 more than group 1. Conclusion : Increased physical activity through walking between 7,500 – 9,999 step/day is good for health related physical fitness in overweight working group both males and females. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31312 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.598 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.598 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sasipa_Ji.pdf | 14.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.