Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31390
Title: การใช้น้ำกากส่าของโรงงานสุราในการทำน้ำสกัดชีวภาพ
Other Titles: Bioextract prepared from slop distillery waste
Authors: ศุภัชญา ชนชนะชัย
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Thares.S@Chula.ac.th, fentss@eng.chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมสุรา
น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- วิธีทางชีวภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการใช้น้ำกากส่าของโรงงานสุราในการทำน้ำสกัดชีวภาพ ได้นำน้ำกากส่ามาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนแทนกากน้ำตาล โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่1 คือชุดควบคุมซึ่งเตรียมจากกากน้ำตาลเพียงอย่างเดียว ชุดที่ 2 เตรียมจากกากน้ำตาลผสมกับน้ำกากส่า และชุดที่ 3 เตรียมจากน้ำกากส่าเพียงอย่างเดียว และได้แปรเปลี่ยนปริมาณน้ำกากส่าเป็น 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 เท่าของกากน้ำตาล โดยใช้เวลาหมักนาน 90 วัน และในแต่ละชุดทดลองมีวัตถุดิบเป็นเศษผักบุ้งจีน เศษสับปะรด และเศษปลา จากการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้น้ำกากส่าแทนกากน้ำตาลพบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำน้ำสกัดชีวภาพของวัตถุดิบแต่ละประเภท ได้แก่ เศษผักบุ้งจีน 3 กก. :กากน้ำตาล 0.5 กก. : น้ำกากส่า 2.5 กก. : น้ำ 1 ลิตร : EM 0.15 ลิตร ที่เวลา 30 วัน เศษสับปะรด 3 กก. : น้ำกากส่า 2.5 กก. : น้ำ 1 ลิตร : EM 0.15 ลิตร ที่เวลา 30 วัน และเศษปลา 3 กก. : น้ำกากส่า 4.5 กก. : น้ำ 1.5 ลิตร : EM 0.2 ลิตร ที่เวลา 60 วัน เมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของน้ำสกัดชีวภาพพบว่าชุดควบคุมที่เตรียมจากกากน้ำตาลมีค่าพารามิเตอร์ต่างๆ สูงที่สุด รองลงมาคือชุดทดลองที่เตรียมจากกากน้ำตาลผสมกับน้ำกากส่า และชุดทดลองที่เตรียมจากน้ำกากส่าเพียงอย่างเดียว ตามลำดับ ในน้ำสกัดชีวภาพพบไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 0.09-1.49, 0.01-0.66 และ 0.42-1.07 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตามลำดับ เมื่อศึกษาปฏิกิริยาการย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจนของน้ำสกัดชีวภาพโดยพิจารณาจากค่าซีโอดี พบว่าน้ำสกัดชีวภาพที่มีวัตถุดิบเป็นเศษผักบุ้งจีน เศษสับปะรด และเศษปลา มีค่าซีโอดีเริ่มคงที่ที่เวลา 14, 56 และ 63 วัน ตามลำดับ ดังนั้นระยะเวลาสั้นที่สุดในการหมักน้ำสกัดชีวภาพคือวันที่ค่าซีโอดีเริ่มคงที่ซึ่งเป็นเวลาที่ปฏิกิริยาการย่อยสลายแบบไร้ออกซิเจนสมบูรณ์ และเนื่องจากน้ำสกัดชีวภาพมีพีเอชค่อนข้างต่ำจึงควรเจือจางในอัตราส่วน 1:250 ก่อนนำไปใช้เพื่อมิให้เกิดผลเสียต่อพืช จากงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าสามารถนำน้ำกากส่ามาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนแทนกากน้ำตาลในการทำน้ำสกัดชีวภาพได้
Other Abstract: In this study, water spinach (Impomoea aquatica), pineapple (Ananus comosus) and fresh fish residual are raw materials to obtain the bioextract that used slop distillery waste instead of molasses as a carbon source. In the test experiment are divided in to 3 groups which are control sample (molasses), the second; the mixed of carbon sources (molasses and slop distillery waste) and the third; the carbon source used only slop distillery waste that vary volume of slop distillery in 1.5, 2.0, 2.5, and 3.0 times of molasses in the fraction. The anaerobic digestion of bioextract has time period 90 days. The suitable fraction of bioextracts were sample of water spinach residual 3 kg : molasses 0.5 kg : slop distillery waste 2.5 kg : clean water 1 l : EM 0.15 l at 30 days, sample of pineapple residual 3 kg : slop distillery waste 2.5 kg : clean water 1 l : EM 0.15 l at 30 days, and sample of fresh fish residual 3 kg : slop distillery 4.50 kg : clean water 1.5 l : EM 0.20 l at 60 days. The control samples have the general characteristics of bioextract more than the sample were mixed of carbon source and samples that used only slop distillery waste The macro-nutrients such as nitrogen, phosphorus, and potassium found 0.09-1.49, 0.01-0.66, and 0.42-1.07 percent by weight, respectively. The COD of bioextracts prepared from water spinach, pineapple and fresh fish residual rather constant at 14, 56, and 63 days, respectively. In case of apply the bioextract for agricultural, the optimum ratio that obtain the maximum compost maturity is 1:250. The result of this study provided that slop distillery can be used as a carbon source for bioextract process instead of molasses with any raw material.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31390
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1160
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1160
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphatchaya_Ch.pdf16.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.