Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31485
Title: การเปรียบเทียบความสามารถด้านความถนัดทางศิลปะ มิติสัมพันธ์เหตุผลเชิงนามธรรมและความสนใจในวิชาชีพ ระหว่างนักศึกษาสาขาศิลปหัตถกรรม ที่เรียนกลุ่มวิชาต่างกัน ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of abilityin artistic aptitude, spacial relation, abstract reasoning and vocational of Aris and Crafts stusents with different majors in vocational volleges, Bangkok Metropolis
Authors: อริยา ปานหงษา
Advisors: ปิยะชาติ แสงอรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านความถนัดทางศิลปะ มิติสัมพันธ์ เหตุผลเชิงนามธรรมและความสนใจในวิชาชีพระหว่างนักศึกษาสาขาศิลปหัตถกรรมที่เรียนกลุ่มวิชาเอกต่างกัน ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร ผลจากการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านความถนัดทางศิลปะ ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านเหตุผลเชิงนามธรรม ระหว่างนักศึกษาสาขาศิลปหัตถกรรมที่เรียนกลุ่มวิชาเอกต่างกัน มีความสามารถต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 โดยนักศึกษาที่เรียนกลุ่มวิจิตรศิลป์จะมีคะแนนความสามารถสูงกว่าทุกด้าน และนักศึกษาที่เรียนกลุ่มหัตถอุตสาหกรรมจะมีคะแนนความสามารถต่ำกว่าทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบความสนใจในวิชาชีพระหว่างนักศึกษาสาขาศิลปหัตถกรรมที่เรียนกลุ่มวิชาเอกต่างกันพบว่ามีความสนใจในวิชาชีพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objective of this research thesis is to compare the ability in artistic aptitude, special relation, abstract reasoning, and vocational interest among arts and crafts students who take different majors in vocational colleges in Bangkok Metropolis. The study reveals that when comparing the concerned aspects of the ability in artistic aptitude, spacial relation, and abstract reasoning among Arts and Crafts Students who take different majors, their abilities statically show the level of significance at .01 and .05. That is, the Fine Arts Students get higher scores in all aspects, whereas the Industrial Arts Students get lower scores in all aspects. When the vocational interests is considered in the group of Arts and Crafts Students, the study reveals that there is no difference on the level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31485
ISBN: 9745776637
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ariya_pa_front.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_pa_ch1.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_pa_ch2.pdf28.99 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_pa_ch3.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_pa_ch4.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_pa_ch5.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_pa_back.pdf14.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.