Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31486
Title: บทบาทของพระภิกษุในการพัฒนาชุมชนชนบทไทย (พ.ศ. 2500-2520)
Other Titles: Roles of Buddhist monks in the development of Thai rural communities (1957-1977)
Authors: อริยา ลิ้มสุวัฒน์
Advisors: ธิดา สาระยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากประวัติพระพุทธศาสนาซึ่งมีเรื่องราวสืบเนื่องติดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า ๒๕๐๐ ปี ได้แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุเป็นผู้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งในสังคมในฐานะผู้นำทางจิตใจ ผู้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตอันดีงาม และผู้บำเพ็ญประโยชน์สงเคราะห์มวลชน อันเป็นบทบาทที่สืบเนื่องจากการดำเนินรอยตามพุทธจริยาซึ่งได้ทรงปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง และเป็นการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ซึ่งกำหนดให้พระภิกษุสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสังคมอย่างใกล้ชิด และให้เกื้อกูลในกิจอันเป็นประโยชน์สุขแก่ชาวโลกด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่าพระภิกษุนับแต่ครั้งอดีตกาลเรื่อยมา ได้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสังคม ในการพัฒนาชีวิตจิตใจและความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามควรแก่สมณวิสัยอยู่เสมอ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาให้ทราบถึงสาเหตุที่พระภิกษุได้เข้าร่วมในโครงการพัฒนาชุมชนชนบทของไทย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๒๐ โดยเน้นถึงผลที่เกิดจากกิจกรรมดังกล่าว ทั้งในส่วนที่มีต่อชุมชนเหล่านั้น และส่วนที่มีต่อรัฐบาลและพระภิกษุเอง เมื่อสังคมไทยได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นแบบสมัยใหม่ตามความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการตะวันตกนั้น วิถีชีวิตและค่านิยมของชาวไทยก็เริ่มเบี่ยงเบนไป มีการรับเอาความเจริญทางวัตถุแบบใหม่ ๆ และสถาบันต่าง ๆ ก็เริ่มเข้ามาแทนที่ความสำคัญของวัดและพระภิกษุซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของชุมชนไทย โดยเฉพาะหน้าที่ในการให้การศึกษา ซึ่งเคยเป็นบทบาทดั้งเดิมที่พระภิกษุได้รับผิดชอบอย่างเต็มภาคภูมิมาโดยตลอด ตั้งแต่ครั้งอดีตกาลอันยาวนานก็ได้หมดสิ้นลงไปด้วย สาเหตุเหล่านี้ได้เป็นแรงจูงใจให้พระภิกษุเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุงและฟื้นฟูฐานะของตนในสังคม โดยเริ่มจากการก่อตั้งสถาบันการศึกษาในระดับสูงของคณะสงฆ์ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ในวิชาการสมัยใหม่ควบคู่ไปกับด้านปริยัติธรรม เพื่อช่วยให้พระภิกษุสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานะของสังคมได้ และได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจช่วยเหลือสังคมตามหลักการดั้งเดิม ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือจากคณะสงฆ์ในการพัฒนาประเทศเพื่อความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงปลอดภัยของบ้านเมือง จึงเป็นแรงผลักดันให้พระภิกษุเข้าเกี่ยวข้องในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายในการบริหารประเทศของรัฐบาล จากการศึกษาได้พบว่า ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่กระทบกระเทือนต่อฐานะในทางสังคมของพระภิกษุดังกล่าว มีผลโดยตรงในชุมชนเมืองเป็นส่วนใหญ่ แต่ในชุมชนชนบทโดยทั่วไป ชีวิตความเป็นอยู่ภายในสังคมชาวไทยยังเป็นแบบเดิมเป็นส่วนมาก เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบสังคมสมัยใหม่ยังมิได้แผ่ขยายเข้าไปในท้องถิ่นอันห่างไกลเหล่านี้ได้ทั่วถึงนัก พระภิกษุในชนบทจึงยังคงมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ได้รับความเคารพยกย่องจากชาวบ้าน ทั้งยังมีบทบาทเป็นผู้นำคนสำคัญในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในทางสังคมร่วมกับชาวบ้านอยู่ตามเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ การดำเนินงานพัฒนาชุมชนโดยพระภิกษุ จึงแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะตามสภาพการที่เป็นอยู่ ลักษณะแรกคือพระภิกษุในชนบท ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการนำพัฒนาความเจริญให้แก่หมู่บ้านอยู่แล้ว ก็จะทำการพัฒนาร่วมกันกับชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ ไปอย่างเสรี ตามความเหมาะสมและสภาพความจำเป็นในแต่ละท้องถิ่น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งคือ การที่คณะสงฆ์ในส่วนกลางได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการพัฒนาชุมชนที่ดำเนินการโดยคณะสงฆ์ และด้วยความร่วมมือสนับสนุนทางด้านการเงินและการประสานงานจากรัฐบาลเป็นหลัก เพื่อส่งพระภิกษุออกไปปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนาและช่วยเหลือในการพัฒนาทั้งทางวัตถุและจิตใจแก่ชาวชนบท งานพัฒนาชุมชนที่ดำเนินการโดยพระภิกษุนั้น มีทั้งในด้านการพัฒนาวัด การพัฒนาหมู่บ้าน การพัฒนาจิตใจและการศึกษา รวมทั้งการให้บริการสงเคราะห์ในเรื่องอื่น ๆ แก่ชาวบ้านโดยทั่วไป ซึ่งปรากฏผลว่า การพัฒนาชุมชนที่พระภิกษุได้ดำเนินการเองอย่างเสรีนั้น ส่วนใหญ่จะสามารถช่วยเหลือชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี อันเป็นผลจากการที่ชาวบ้านยอมรับบทบาทผู้นำของพระภิกษุในชุมชนของตน เพราะเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวบ้าน ประกอบกับการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านอย่างจริงจังด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์และเสียสละ ทำให้ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาและให้ความร่วมมือสนับสนุนให้งานพัฒนานั้นสำเร็จลุล่วง ส่วนโครงการพัฒนาชุมชนที่คณะสงฆ์และรัฐร่วมกันดำเนินการนั้น เนื่องจากถูกมองอย่างสงสัยว่ารัฐบาลได้อาศัยคณะสงฆ์เป็นเครื่องมือในทางการเมือง เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และเพื่อรวมความจงรักภักดีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ทำให้การเข้ามายุ่งเกี่ยวกับรัฐอย่างเปิดเผยและการจัดกิจกรรมในทางโลก เพื่อพัฒนาชาวชนบทโดยคณะสงฆ์นั้นไม่ได้รับการยอมรับและให้ความร่วมมือจากชาวบ้านเท่าที่ควร นอกจากนี้ การส่งพระภิกษุจากส่วนกลางที่ชาวชนบทไม่มีความรู้จักคุ้นเคยอย่างแท้จริง ตลอดจนการดำเนินงานเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้นภายในรอบปีหนึ่ง ๆ และอุปสรรคด้านอื่น ๆ อีกหลายประการ ทำให้โครงการเหล่านี้ ไม่เจริญก้าวหน้าและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
Other Abstract: The history of Buddhism has been told for over 2,500 years that monks have a very special role in society in terms of being spiritual leaders, giving guidance to the people’s daily lives and pre-viding social services for the people. These follow the footsteps of Lord Buddha: practices and disciplines, which require monks to have a close relation with the communities and to promote activities which will bring about peace and prosperity to mankind. Therefore it appears that form time of immemorial monks have been playing an important role in society in the spiritual development and the quality of life of the people. The objective[e]s of this thesis are to examine the cause and effect of the Buddhist monks participation in the Thai rural community development from 1957-1977, by focusing the outcomes of such programmes and their impacts on the communities, the government and the monks. As the ways of life and social values of Thai people have changed with the acceptance of progressive Western technology. New material development and institutions have been adopted resulting in diminishing the important roles of temples and monks as the centre of Thai communities. Particularly the monks’ roles in education has been diminished. Monks are compelled to improve their status in society. The higher educational institutions for monks were established in order that monks can study modern technology hand in hand with the study of Buddhism. At the same time many activities with a view to disseminate Buddhism and resuming the former roles of monks in society have been introduced. This movement occurred at a time when the government was compelled to seek the cooperation from monks in national development for prosperity and security of the country. As a result, monks were involved in carrying out the government’s administrative policy. The study yields some facts concerning the status of monks in society. These roles are less important in urban areas. But in the rural communities they remain unchanged. In the rural areas monks gain respect from the people. Their activities may be divided into 2 categories: firstly, monks carrying out their activities freely corresponding with the needs and conditions of each locality; secondly, monks formulating the community development programmes with financial support and cooperation from the government. Since monks involve in maintaining temples, educating people, community development as well as other welfare activities, they tend to succeed in improving the daily lives of the rural people. Sometimes monks have been drawn in organizing worldly activities for community development and thus do not receive the people support and cooperation. The monks, sent by the central administrative organization, are not well acquainted with the rural people and their presence is of a temporally nature. Thus the positive result of the community development shared by monks from the central administrative organization is doubtful.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31486
ISBN: 9745623717
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ariya_li_front.pdf6.81 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_li_ch0.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_li_ch1.pdf19.32 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_li_ch2.pdf24.37 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_li_ch3.pdf33.58 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_li_ch4.pdf20.23 MBAdobe PDFView/Open
Ariya_li_back.pdf8.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.