Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31574
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดา ธนิตกุล | - |
dc.contributor.author | ศิริวรรณ เจียมใจไพบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2013-05-29T07:39:52Z | - |
dc.date.available | 2013-05-29T07:39:52Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31574 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ราคาของสินค้าและบริการเป็นไปตาม “กลไกราคา” (price mechanism) กล่าวคือ ราคาสินค้าแปละบริการจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน เมื่อสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดแต่ปริมาณสินค้ามีน้อย สินค้าก็จะมีราคาสูง ในขณะเดียวกันหากสินค้าเป็นที่ต้องการในตลาดต่ำ แต่มีปริมาณสินค้าน้อย ราคาสินค้าก็จะต่ำลง จนในที่สุดปริมาณและราคาของสินค้าก็จะสมดุลกันในจุดที่เรียกว่า “จุดดุลยภาพ” ซึ่งกลไกราคาข้างต้นเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดราคาขายต่อ คือ ข้อตกลง สัญญา หรือการกระทำใดๆ ที่ผู้ผลิตกำหนดให้ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ขายส่งขายสินค้าหรือบริการของตนในราคาและเงื่อนไขที่ผู้ผลิตกำหนด การกระทำดังกล่าวส่งผลให้ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ขายปลีกไม่มีอิสระในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับผู้จัดจำหน่ายรายนั้นๆ รวมถึงเป็นการจำกัดการแข่งขันในแนวดิ่งระหว่างผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายอีกด้วย โดยหากพิจารณาตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 จะพบว่า พฤติกรรมการกำหนดราคาขายต่อเป็นพฤติกรรมที่ขัดพระราชบัญญัติข้างต้น มาตรา 25 (กรณีผู้กำหนดราคาเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด), มาตรา 27 (กรณีมีการร่วมกันกำหนดราคาขายต่อ) และมาตรา 29 (กรณีขัดขวางการแข่งขันโดยเสรีอย่างไม่เป็นธรรม) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการกำหนดราคาขายต่อเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักกฎหมายการแข่งขันทางการค้า แต่ในสินค้าหรือบริการบางประเภทมีลักษณะเป็นสินค้าหรือบริการที่มีความสำคัญต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน ดังนั้น หากรัฐปล่อยให้ราคาสินค้าหรือบริการเป็นไปตามกลไกลตลาด ก็อาจส่งผลให้ราคาสินค้าหรือบริการมีความผันผวน และส่งผลเสียแก่ผู้บริโภคในที่สุด รัฐจึงมีความจำเป็นในการแทรกแซงราคาสินค้าหรือบริการบางชนิดตามหลัก “PRICE CONTROL” โดยมาตรการต่างๆ เช่น การตรวจตราราคา การตรึงราคา รวมถึงการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ เป็นต้น น้ำตาลทรายเป็นสินค้าที่มีความสำคัญในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ และเป็นสินค้าพื้นฐานในครัวเรือนและอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับปริมาณน้ำตาลที่ไม่เพียงพอหรือล้นเกินความต้องการของผู้บริโภค ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก รวมถึงปัญหาการแบ่งปันผลประโยชน์ของการจำหน่ายน้ำตาลทรายระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทราย ดังนั้นรัฐจึงแก้ไขปัญหาโดยการประกาศใช้กฎหมาย 2 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาลทราย คือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ซึ่งมีสาระสำคัญในการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลทรายในอัตราส่วน 70 : 30 และพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ประกาศให้น้ำตาลทรายเป็นสินค้าควบคุม รวมถึงกำหนดราคาขายส่งและขายปลีกน้ำตาลทราย เพื่อป้องกันมิให้ราคาน้ำตาลทรายผันผวนตามราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก แต่อย่างไรก็ตามปรากฏว่า จากการกำหนดราคาน้ำตาลทรายในประเทศซึ่งส่งผลให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกและภายในประเทศ มาตรการการกำหนดราคาน้ำตาลทรายจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาปริมาณน้ำตาลทรายที่ไม่เพียงพอได้ รวมถึงยังก่อให้เกิดปัญหาการจำหน่ายน้ำตาลทรายในตลาดมืด ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ผู้เขียนมีความเห็นว่า รัฐควรใช้ระบบการกำหนดราคาน้ำตาลทราย “กึ่งลอยตัว” กล่าวคือ รัฐควรปล่อยให้ผู้ประกอบการกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายอย่างเสรี แต่มิให้ต่ำกว่าเพดานขั้นต่ำ หรือสูงกว่าเพดานขั้นสูงที่รัฐกำหนด เพื่อให้มีความแตกต่างระหว่างราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกและในประเทศน้อยที่สุด มาตรการดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ และแก้ไขปัญหาราคาและปริมาณน้ำตาลทรายได้ | en |
dc.format.extent | 2735438 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.301 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับน้ำตาล -- ไทย | en |
dc.subject | การค้าปลีก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en |
dc.subject | ข้อบังคับทางการค้า -- ไทย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมน้ำตาล -- ราคา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | en |
dc.subject | การควบคุมราคา -- ไทย | en |
dc.subject | Sugar laws and legislation -- Thailand | en |
dc.subject | Retail trade -- Law and legislation -- Thailand | en |
dc.subject | Trade regulation -- Thailand | en |
dc.subject | Sugar trade -- Prices -- Law and legislation -- Thailand | en |
dc.subject | Price regulation -- Thailand | en |
dc.title | ประเด็นปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดราคาขายปลีกน้ำตาลทรายในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Legal issues relating to resale price maintenance of sugar in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | sakda-boonto@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.301 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siriwan_ji.pdf | 2.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.