Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31588
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุพิน พิพิธกุล
dc.contributor.authorอรุณศรี อึ้งประเสริฐ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-05-29T08:33:02Z
dc.date.available2013-05-29T08:33:02Z
dc.date.issued2533
dc.identifier.isbn9745775452
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31588
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยสอบถามความคิดเห็นครูคณิตศาสตร์จำนวน 189 คน เกี่ยวกับเนื้อหาคณิตศาสตร์ที่สามารถสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรม ความรู้ด้านจริยธรรมที่สามารถนำมาสอดแทรกในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิธีการที่ใช้ในการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำเสนอรูปแบบการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นผลการวิจัยมีดังนี้ ครูคณิตศาสตร์มีความเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ความรู้ด้านจริยธรรมที่นำมาสอดแทรกในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิธีการที่ใช้ในการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ว่าเหมาะสมมาก เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่สามารถสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมคือ เศษส่วนและทศนิยม สมการและอสมการ อัตราส่วนและร้อยละ พื้นที่ปริมาตรและพื้นที่ผิว ทฤษฎีปีทาโกรัส ความน่าจะเป็นและสถิติ และเรขาคณิต ความรู้ด้านจริยธรรมที่สามารถนำมาสอดแทรกในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์คือความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี การประหยัด ความยุติธรรม ความอุตสาหะและความเมตตากรุณา วิธีการทางอ้อมที่ใช้ในการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ได้แก่ (1) ให้นักเรียนลงมือปฏิบั ติ เช่น การมอบหมายงานให้นักเรียนทำล่วงหน้า การแบ่งกลุ่มให้ทำงานและการให้นักเรียนทำงานเป็นรายบุคคล (2) ครูใช้กลวิธีสอน เช่น การยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาที่อ้างอิงถึงความรู้ด้านจริยธรรมและการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม ผู้วิจัยสร้างรูปแบบการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งประกอบด้วยหลักการและเหตุผล จุดประสงค์ เนื้อหาคณิตศาสตร์ที่สามารถสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรม ความรู้ด้านจริยธรรมที่สามารถนำมาสอดแทรกในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิธีการที่ใช้ในการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรมในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และเสนอตัวอย่างแผนการสอนสองฉบับ
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to propose a model of insinuating ethic knowledge in mathematics instruction at the lower secondary education level. The questionnaires concerning mathematics contents which could be insinuated with ethic knowledge, the ethic knowledge which could be insinuated in mathematics instruction and the techniques used in insinuating echic knowledge in mathematics instruction were sent to 189 mathematics teachers. The mathematics teachers’ opinions were used as guidelines for proposing a model of insinuating ethic knowledge in mathematics instruction at the lower secondary education level. The findings of the research were as follows: Mathematics teachers’ opinions concerning the consistency among mathematics contents, ethic knowledge in mathematics instruction and techniques to insinuate ethic knowledge in mathematics instruction were highly appropriate. The mathematics contents which could be insinuated ethic knowledge were: fraction, decimal, equation and inequality, ratio and percentage, area, volume and surface, Pythagorean theorem, probability, statistics and geometry. The ethic knowledge which could be insinuated in mathematics instruction were: responsibility, honesty, reasonableness, gratefulness, discipline, devotion, unity, preservation, justice, deligence and mercy. The indirect techniques used in insinuating ethic knowledge in mathematics instruction were: (1) student’s practice, such as giving assignment, group working and individual study. (2) teaching strategies, such as giving the examples to infer the ethic knowledge and using programmed lesson. The researcher constructed a model of insinuating ethic knowledge in mathematics instruction. The model consisted of rationale, objectives, mathematics contents, ethic knowledge, techniques to insinuate ethic knowledge and two illustrated lesson plans were also developed.
dc.format.extent3880981 bytes
dc.format.extent2859035 bytes
dc.format.extent16324828 bytes
dc.format.extent3551990 bytes
dc.format.extent11250310 bytes
dc.format.extent5365600 bytes
dc.format.extent2369226 bytes
dc.format.extent20504223 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการนำเสนอรูปแบบการสอดแทรกความรู้ด้านจริยธรรม ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeA proposed model of insinuating ethic knowledge in mathematics instruction at the lower secondary education levelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunsri_en_front.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
Arunsri_en_ch1.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Arunsri_en_ch2.pdf15.94 MBAdobe PDFView/Open
Arunsri_en_ch3.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Arunsri_en_ch4.pdf10.99 MBAdobe PDFView/Open
Arunsri_en_ch5.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Arunsri_en_ch6.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Arunsri_en_back.pdf20.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.