Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31603
Title: ผลการสัมผัสของนักจิตวิทยาการปรึกษาต่อการรับรู้ความร่วมรู้สึก
Other Titles: Effects of counselor touch on the perception of empathy
Authors: อรุณี บัวเร่งเทียนทอง
Advisors: จีน แบรี่
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการสัมผัสในการสร้างความร่วมรู้สึกของนักจิตวิทยาการปรึกษาที่แสดงต่อผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 จำนวน 240 คน จำแนกเป็นนิสิตชาย 120 คน และนิสิตหญิง 120 คน กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มอย่างง่ายออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยเป็นนิสิตชาย 15 คน นิสิตหญิง 15 คน แต่ละกลุ่มดูเทปบันทึกภาพการให้การปรึกษาและประเมินแบบวัดความร่วมรู้สึก สมมติฐานในการวิจัยคือ การรับรู้ความร่วมรู้สึกที่นักจิตวิทยาการปรึกษามีต่อผู้รับบริการที่ได้รับการสัมผัสแตกต่างจากการรับรู้ความร่วมรู้สึกที่นักจิตวิทยาการปรึกษามีต่อผู้รับบริการที่ไม่ได้รับการสัมผัส และการรับรู้ความร่วมรู้สึกจากผลการสัมผัสของนักจิตวิทยาการปรึกษาและผู้รับบริการเพศเดียวกันแตกต่างจากการรับรู้ความร่วมรู้สึกจากผลการสัมผัสของนักจิตวิทยาการปรึกษาและผู้รับบริการเพศตรงข้าม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เทปบันทึกภาพการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา 8 ชุด โดยแต่ละชุดมีกระบวนการให้การปรึกษาเหมือนกันต่างกันที่การสัมผัส/ไม่สัมผัส เพศของนักจิตวิทยาการปรึกษา และเพศของผู้รับบริการ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ดูเทปบันทึกภาพนักจิตวิทยาการปรึกษาสัมผัสผู้รับบริการรับรู้ถึงความร่วมรู้สึกที่นักจิตวิทยาการปรึกษามีต่อผู้รับบริการในระดับที่สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ดูเทปบันทึกภาพนักจิตวิทยาการปรึกษาไม่สัมผัสผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญ และกลุ่มตัวอย่างที่ดูเทปบันทึกภาพนักจิตวิทยาการปรึกษาสัมผัสผู้รับบริการเพศเดียวกัน (นักจิตวิทยาการปรึกษาหญิงสัมผัสผู้รับบริการหญิงและนักจิตวิทยาการปรึกษาชายสัมผัสผู้รับบริการชาย) รับรู้ถึงความร่วมรู้สึกสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ดูเทปบันทึกภาพนักจิตวิทยาการปรึกษาสัมผัสผู้รับบริการเพศตรงข้าม (นักจิตวิทยาการปรึกษาหญิงสัมผัสผู้รับบริการชายและนักจิตวิทยาการปรึกษาชายสัมผัสผู้รับบริการหญิง) อย่างมีนัยสำคัญ โดยความแตกต่างนี้ไม่ปรากฏในกลุ่มตัวอย่างที่ดูเทปบันทึกภาพนักจิตวิทยาการปรึกษาไม่สัมผัสผู้รับบริการ)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of touch on observers’ perceptions of counselor empathy. The participants were 120 male and 120 female third year undergraduate students at Chulalongkorn University during the academic year 1987. The participants were randomly assigned to one of eight treatment groups. Each group consisted of 15 males and 15 females. It was hypothesized that touch versus no touch and sex of the counselor influenced the participant’s perception of counselor empathy. The instruments used in this research were eight videotape vignettes of simulated counseling interviews. Each vignette was identical except for touch, the sex of counselor and client. After viewing the vignette, each group completed the empathy scale which was developed to measure the dependent variable. The t-test and the three-way factorial analysis of variance were performed. It was found that touch and the sex of the counselor significantly affected the perception of counselor empathy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31603
ISBN: 9745698016
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunee_bo_front.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_bo_ch1.pdf10.66 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_bo_ch2.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_bo_ch3.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_bo_ch4.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_bo_ch5.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open
Arunee_bo_back.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.