Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31784
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorธิดารัตน์ ตันนิรัตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-05-31T23:51:57Z-
dc.date.available2013-05-31T23:51:57Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31784-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยป้อน กระบวนการผลิตครู และผลที่เกิดขึ้นกับนิสิตครูของหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 ปี และ 5 ปี และ (2) เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 5 ปีกับนโยบายของหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 5 ปีที่กำหนดแต่แรก กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มอาจารย์ จำนวน 45 คน กลุ่มที่ 3 กลุ่มนิสิตครู หลักสูตร 4 ปีและ 5 ปี จำนวน 429 คน และกลุ่มที่ 4 กลุ่มบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ผลการวิจัยการเปรียบเทียบปัจจัยป้อน กระบวนการผลิตครู และผลที่เกิดขึ้นกับนิสิตครู พบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะของอาจารย์ คุณลักษณะของนิสิตครู ปัจจัยด้านทรัพยากร การสอนของอาจารย์ ลักษณะการเรียนของนิสิตครู การเตรียมสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน และคุณภาพของนิสิตครูในหลักสูตร 4 ปีและ 5 ปีไม่มีความแตกต่างกัน แต่องค์ประกอบนโยบายของหลักสูตร 5 ปีมีการเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการของนิสิตครูให้มีความแม่นยำและลึกซึ้งมากขึ้น อีกทั้งมีการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้วิชาเรียนในหลักสูตร 5 ปีและการจัดการหลักสูตร 5 ปีต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายของหลักสูตร 5 ปี 2. ผลการวิจัยพบว่า นโยบายหลักสูตร 5 ปีที่กำหนดแต่แรก เน้นให้นิสิตครูเรียนเนื้อหาวิชาการในคณะที่เปิดสอนโดยตรง และเพิ่มการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็น 1 ปีการศึกษานั้น พบว่า ในทางปฏิบัติจริง เนื้อหาวิชาการบางสาขาวิชาไม่ได้เรียนกับคณะที่เปิดสอนโดยตรง และมีการเรียนวิชาครูเพิ่มเติม ส่วนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นไปตามนโยบายหลักสูตรที่กำหนดแต่แรกen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study and to compare the input processes and outcomes of 4-year and 5-year teacher education programs and (2) to compare 5-year teacher education programs and the initial program policy 5-year teacher education programs. The research sample consisted of four group: the first group was 3 experts, the second group 45 lecturers, the third group 429 pre-service teachers 4-year and 5-year education programs and the fourth group 99 service teachers. The research instruments were content analysis form, observation form, interview forms, focus group form and questionnaires. Data were analyzed through the use of content analysis, analytic induction, frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: The results of the comparison of inputs, processes and outcomes between 4- year and 5-year teacher education programs found that there were no differences among the components of lecturers’ characteristics, undergraduate education students’ characteristics, factors of resources, lecturers’ instructions, undergraduate education students’ learning characteristics, material setting of undergraduate education students, and qualities of undergraduate education students. However, a key component of the policy of the 5- year teacher education programs was to increase the accurate and comprehensive academic knowledge to undergraduate education students. Moreover, it was policy to increase the teacher professional practices to undergraduate education students. Consequently, subjects or courses and managements of 5-year teacher education programs must conform to the policy of 5- year teacher education programs. As for the initial policy of the 5-year teacher education programs that focused on subject studying of undergraduate education students in the faculty that directed instruction and their experiences of teacher professional practice were conducted for one academic year found that the authentic practices of subject studying of undergraduate education students in the program were not conformed to this policy. However, an increasing the units of credit in the pedagogy subject of program were conformed to this policy. Moreover, undergraduate education students’ experiences of teacher professional practice were conformed to this policy also.en
dc.format.extent2851599 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.432-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครู -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectการศึกษา -- หลักสูตรen
dc.subjectระบบการเรียนการสอนen
dc.subjectการประเมินหลักสูตรen
dc.subjectTeachers -- Study and teachingen
dc.subjectEducation -- Curriculaen
dc.subjectInstructional systemsen
dc.subjectCurriculum evaluationen
dc.titleการเปรียบเทียบหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 ปี และ 5 ปี : การศึกษาวิจัยแบบพหุวิธีen
dc.title.alternativeA comparison of 4-year and 5-year teacher education programs : a multi–research method studyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.432-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thidarat_ta.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.