Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประยูร จินดาประดิษฐ์
dc.contributor.advisorปิยรัตน์ กฤษณามระ
dc.contributor.authorอัจฉรา จิระพันธุ์วานิช
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-06-03T10:53:06Z
dc.date.available2013-06-03T10:53:06Z
dc.date.issued2532
dc.identifier.isbn9745760196
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31873
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวโน้มการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์ และเสนอแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธ์ ทั้งนี้ โดยมีสมมุติฐานว่ารายได้จากการให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นรายได้หลักประมาณ 70-80% ของรายได้ทั้งหมด มีแนวโน้มของอัตราเพิ่มที่ลดลง และรายได้ส่วนที่เหลือคือ รายได้จากการให้บริการและการลงทุนในหลักทรัพย์ มีแนวโน้มของอัตราเพิ่มที่สูงขึ้น ผลจากการวิจัยพบว่า รายได้ในอดีต ตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2530 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้คือ รายได้จากการให้สินเชื่อ มีอัตราเพิ่มที่ชะลอตัวลง และรายได้จากการให้บริการและการลงทุนในหลักทรัพย์ มีอัตราเพิ่มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และสำหรับการศึกษาถึงแนวโน้มในอนาคต ของการเปลี่ยนแปลงของรายได้ทั้งสองประเภท ตั้งแต่ พ.ศ.2531-2541 ใช้วิธีศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้และพยากรณ์ค่าในอนาคต แล้วนำมาใช้คาดคะเนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรายได้ทั้งสองประเภท ตั้งแต่ พ.ศ.2531-2541 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรายได้จากการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบได้แก่ ปริมาณการให้สินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมขั้นต่ำ และปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรายได้จากการให้บริการและการลงทุนในหลักทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ได้แก่ ปริมาณเงินลงทุนในหลักทรัพย์ปริมาณสินค้าส่งออกและนำเข้าและปริมาณเงินฝาก และปัจจัยทั้งหมดที่กล่าว มีผลในทางบวกต่อรายได้ นั่นคือ ถ้าปัจจัยเหล่านั้นมีค่าเพิ่มขึ้น รายได้ก็จะมีค่าสูงขึ้นไปด้วย และจากการนำค่าคาดคะเนของปัจจัยเหล่านั้นในอนาคต ไปใช้ในการคาดคะเนแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรายได้จากการให้สินเชื่อกับรายได้ จากการให้บริการและการลงทุนในหลักทรัพย์ ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2531-2541 พบว่า รายได้จากการให้สินเชื่อมีอัตราเพิ่มที่ช้าลงและรายได้จากการให้บริการและการลงทุนในหลักทรัพย์ มีอัตราเพิ่มที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อความสำเร็จในการหารายได้จากการให้บริการ ธนาคารพาณิชย์ควรปรับปรุงกลยุทธ์ในจุดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการหารายได้ดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยการปรับปรุงโครงสร้างองค์การให้เป็นโครงสร้างในลักษณะแบนราบ (Flat organization) โดยมีระดับการบังคับบัญชาน้อยระดับและมีการกระจายอำนาจค่อนข้างมาก ตลอดจนจัดให้มีการประสานงานเป็นอย่างดี นอกจากนี้ต้องมีการสรรหาหรือปรับปรุงบุคลากรให้มีคุณภาพ เพื่อสามารถให้บริการที่สร้างความพอใจให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี สำหรับกลยุทธ์ในด้านการตลาด ประกอบด้วยการพัฒนาบริการใหม่ เช่น ทางด้านวาณิชธนกิจ (Merchant banking or investment banking) การให้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic banking) และผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ ๆ (Financial innovations) เช่น เครื่องมือที่ใช้ประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราดอกเบี้ย การแปลงทรัพย์สินเป็นตราสารการเงินเพื่อนำออกขาย (Securitization) เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดในการหารายได้จากการให้บริการต่าง ๆ มากขึ้น ในการนำบริการออกสู่ตลาด ปัจจัยสำคัญที่ควรใช้ในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการให้บริการคือ คุณค่าของบริการนั้น ๆ ในสายตาของผู้ใช้บริการ สำหรับการนำบริการออกสู่ลูกค้านั้น ธนาคารอาจใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่พัฒนาไปมากเข้ามาช่วย โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของการลงทุนในข่ายงานสื่อสาร (Network) และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้วย สำหรับการส่งเสริมบริการธนาคาร ควรกระทำให้ถึงตัวลูกค้าโดยตรง ยกเว้นบริการที่ไม่สลับซับซ้อน และต้องการให้เข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก อาจใช้วิธีโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุหรือนิตยสาร เป็นต้น ทั้งหมดนี้ เป็นกลยุทธ์ที่ธนาคารควรปรับปรุงในการหารายได้จากการให้บริการ เพื่อสร้างความสำเร็จในการหารายได้ดังกล่าวต่อไปในอนาคต
dc.description.abstractalternativeThe theme of this study is the search for income generating trends in Thai banking institutions. From the study of income trend from 1977 to 1987, it has been found that the interests and discounts from loans have decreasing growth rates while the returns from security investments, exchange profits, and fee income have increasing growth rates. This leads to the next study of the factors that have influenced each. The correlation analysis technique is used to determine the relationship between the factors and income. The factors that have the most influence on income from loans are the loan amount and the minimum loan rate. The factors that have the most influence on income from security investment and bank services are the customer deposit amount, the amount of export plus import and the one from security investment. The forecasting of those factors’ changes is done by using the least square method and time series analysis in order to reflect the future moving trend of each income from 1988-1998. This is done by replacing the value of the forecasted factors into the model which represents the interaction of the factors and the income. The model is built by using the multiple regression analysis technique. The forecasting result is that, income from loans has a decreasing growth rate, and the income from security investment and bank services has an increasing growth rate. If the study results are true, it is necessary for the banks to realize such a change, and adjust their revenue generating strategies which mainly concerns their organization management, personnel management and marketing management. The flat organization that has less supervising levels and decentralized authority should be used to provide the flexibility and the efficiency of bank services. Well-qualified and well-trained personnel is also required for the success of customer service. A refined marketing plan resulting from the through study of market competition, customers’ needs, and the bank limited resources, is very necessary both for the current services and the new service development. For the new service development, the banks should consider some new services such as the merchant banking, investment banking, electronic banking, private banking and some financial innovations, which have been highly successful in foreign countries.
dc.format.extent9267672 bytes
dc.format.extent3398572 bytes
dc.format.extent15852773 bytes
dc.format.extent23664535 bytes
dc.format.extent31141915 bytes
dc.format.extent23493515 bytes
dc.format.extent5667038 bytes
dc.format.extent2043982 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการหารายได้ของธนาคารพาณิชย์ไทยen
dc.title.alternativeRevenue generation of Thai commercial banksen
dc.typeThesises
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_ji_front.pdf9.05 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ji_ch1.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ji_ch2.pdf15.48 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ji_ch3.pdf23.11 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ji_ch4.pdf30.41 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ji_ch5.pdf22.94 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ji_ch6.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ji_back.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.