Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31876
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงเดือน พิศาลบุตร
dc.contributor.authorอัจฉรา ทองพลาย
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-06-03T11:07:14Z
dc.date.available2013-06-03T11:07:14Z
dc.date.issued2530
dc.identifier.isbn9745678562
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31876
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาวัฒนธรรมพื้นบ้านในพื้นที่เขตการศึกษา 6 ด้านประเพณี การละเล่นพื้นบ้าน และหัตถกรรมพื้นบ้านที่สามารถนำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านแก่นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 2. เพื่อศึกษาบทบาทของครูในการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านให้แก่นักเรียนด้านประเพณีการละเล่นพื้นบ้านและหัตถกรรมพื้นบ้าน และศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบทบาทของครูในการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน 3. เพื่อศึกษาบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การศึกษาค้นคว้าและการเข้าร่วมกิจกรรมและเผยแพร่ความรู้ด้านวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูและนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ คือ การวิจัยเอกสารและการสำรวจ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6 จาก 18 แห่ง จำนวน 361 คน และ 570 คน ตามลำดับ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ และมาตราส่วนประเมินค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. ในพื้นที่เขตการศึกษา 6 มีวัฒนธรรมพื้นบ้านด้านประเพณีและหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านในโรงเรียนได้มาก ส่วนการละเล่นพื้นบ้านส่วนใหญ่ไม่เป็นที่นิยมของประชาชนในปัจจุบัน ดังนั้นถ้าจะนำการละเล่นพื้นบ้านมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคมปัจจุบันเสียก่อน ครูควรมีบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านด้านประเพณี การละเล่นพื้นบ้าน และหัตกรรมพื้นบ้านด้วยการศึกษา อนุรักษ์ และถ่ายทอดวัฒนธรรมพื้นบ้านแก่นักเรียน และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อบทบาทของครูในการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านมี 9 ประการ 2. ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นว่าครูควรมีบทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูควรมีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูควรใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับประเพณีการละเล่นพื้นบ้านและหัตถกรรมพื้นบ้านมาประกอบการสอน และควรจัดตั้งชุมนุมวัฒนธรรมขึ้นในโรงเรียนที่ยังไม่มีชุมนุมนี้มาก่อน 2) การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ควรมีการจัดนิทรรศการ แผ่นป้ายนิเทศและจัดหนังสือวารสารด้านวัฒนธรรมไว้ในห้องสมุดให้มากขึ้น และครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนด้วย 3) การศึกษาค้นคว้าด้านวัฒนธรรม ครูควรศึกษาหาความรู้จากงานเทศกาลและประเพณี จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในชุมชน และเยี่ยมชมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านแล้วบันทึกความรู้เหล่านั้นไว้เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษา 4) การเข้าร่วมกิจกรรมและเผยแพร่ความรู้ด้านวัฒนธรรม ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนผลิตและนำหัตถกรรมพื้นบ้านมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือนำออกจำหน่ายในงานนิทรรศการของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ ที่จัดขึ้นในท้องถิ่น และครูควรมีส่วนร่วมในการสร้างความสัมพันธ์หรือส่งเสริมให้ประชาชนร่วมมือกันปรับปรุง ส่งเสริม และรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านของตน 3. ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และการศึกษาค้นคว้าด้านวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
dc.description.abstractalternativePurposes of the research The purposes of this research were: 1. To study the folklore in the Educational Region Six concerning traditions, folk plays, and folk handicrafts which could be applied to folklore promotion activities in secondary schools under the auspices of the Department of the General Education in the Educational Region Six. 2. To study the teacher’s roles on the students for folklore promotion concerning traditions, folk plays, and folk handicrafts and to study the factors which affected the teacher’s roles in folklore promotion. 3. To study the teacher’s role in folklore promotion concerning in structional activities, school environment managing, researching, activity participating and culture propagating which perceived by the teachers and students. Findings 1. In the Educational Region Six, there were folklores concerning traditions and folk handicrafts which could be applied to the instructional activities for folklore promotion in the secondary schools. Most folk plays were not interested by the people. The folk plays had to be adapted if they were used in instructional activities. The teachers should have roles in folklore promotion concerning traditions, folk plays and folk handicrafts by studying, preservation and transference the folklores to their students. There were 9 factors which affected the teachers’ roles in folklore promotion. 2. The teachers and students perceived that the teachers should have roles at the high level in folklore promotion, expecially these following aspects: 1) In instructional activities, the teachers should use equipment concerning traditions, folk plays, and folk handicrafts. They should establish culture clubs in their schools. 2) In school environment managing, the teachers should set up exhibition, posters and books about folklores in their school libraries. They should be models of culture for their students. 3) In researching in culture, the teachers should acquire knowledge of festive seasons and traditions from society and the people and record the knowledge in order to be useful for education. 4) In participating and propagating culture, the teachers should promote their students to invent and use folk handicrafts in their daily lives or sell them. The teachers should have roles in promotion the people to revive, promote and preserve their folklores. 3. The opinions of teachers and students concerning the teachers’ roles in instructional activities, school environment managing, and researching in culture showed difference at the 0.05 level of significance.
dc.format.extent12877944 bytes
dc.format.extent7545229 bytes
dc.format.extent39192782 bytes
dc.format.extent8949746 bytes
dc.format.extent173813091 bytes
dc.format.extent55042375 bytes
dc.format.extent49661301 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleบทบาทของครูในการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6en
dc.title.alternativeThe teacher's poles in folklope promotion in secondary schools under the aspices of the Department of General Education in the educational region sixen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสารัตถศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_to_front.pdf12.58 MBAdobe PDFView/Open
Achara_to_ch1.pdf7.37 MBAdobe PDFView/Open
Achara_to_ch2.pdf38.27 MBAdobe PDFView/Open
Achara_to_ch3.pdf8.74 MBAdobe PDFView/Open
Achara_to_ch4.pdf169.74 MBAdobe PDFView/Open
Achara_to_ch5.pdf53.75 MBAdobe PDFView/Open
Achara_to_back.pdf48.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.