Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31962
Title: | การศึกษาความไวหลอดลมของตำรวจจราจรพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Study of bronchial hypersensitivity in Bangkok traffic Police |
Authors: | คณา เกษมทรัพย์ |
Advisors: | สมเกียรติ วงษ์ทิม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somkiat.N@Chula.ac.th |
Subjects: | ตำรวจจราจร -- สุขภาพและอนามัย มลพิษทางอากาศ หลอดลม Traffic police -- Health and hygiene Air -- Pollution Bronchi |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา มีการศึกษาหลายการศึกษาที่พบว่ามลภาวะทางอากาศโดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (Particulate matter : PM₁₀) มีความสัมพันธ์กับอาการะบบทางเดินหายใจ จุดประสงค์การศึกษา เพื่อต้องการหาความชุกของความไวหลอดลมในตำรวจจราจรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสัมผัสกับมลภาวะทางอากาศและฝุ่นละอองโดยตรง และเปรียบเทียบสัดส่วนการเกิดภาวะหลอดลมไวในตำรวจจราจรเมื่อเปรียบเทียบตำรวจทั่วไป รูปแบบและวิธีการศึกษา การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครตำรวจและตำรวจจราจรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 3 เขต ได้แก่ ปทุมวัน ลุมพินี และบางรัก จำนวน 155 คน โดยอาสาสมัครทุกรายจะได้รับการตอบแบบสอบถาม ทำการทดสอบสมรรถภาพปอดและความไวหลอดลม ผลการศึกษาพบว่า มีอาสาสมัครที่เป็นตำรวจจราจร 69 คน และตำรวจทั่วไป 86 คน โดยอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ภูมิลำเนา ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ประวัติโรคหืดในครอบครัว การสูบบุหรี่ของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ผลการทดสอบสมรรถภาพปอด โดยพิจารณาจากค่า Forced expiratory volume (FEV₁) และค่า Forced vital capacity (FVC) ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน และผลการทดสอบความไวหลอดลม พบภาวะหลอดลมไวในตำรวจจราจรและตำรวจทั่วไปเท่ากับ 3 รายและ 2 รายตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันของทั้งสองกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา ความชุกในการเกิดภาวะหลอดลมไวในตำรวจทั่วไปมีค่าใกล้เคียงกับประชากรทั่วไป ความแตกต่างระหว่างความชุกของการเกิดภาวะหลอดลมไวและอัตราส่วนความชุกในการเกิดภาวะหลอดลมไวในตำรวจจราจรเมื่อเทียบตำรวจทั่วไปเท่ากับ ร้อยละ 2.03 และ 1.88 เท่า แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | Background : Previous studies demonstrated that particulated matter less than 10 micron (PM₁₀) associated with increase prevalence of bronchial hyperresponsiveness. Objective : Demonstrate and compare prevalence of bronchial hyperresponsiveness among Bangkok traffic polices and general polices. Methods : A cross-sectional analytic study, enrolled 155 subjects from 3 districts Pratumwan, Lumpini and Bangruk. Classified in 2 groups, 69 subjects in traffic police group and 86 subjects in police group. All enrolled subjects performed questionnaires, spirometry and methacholine challenge test as a bronchoprovocative test. Statistical analysis using Fisher’s exact and unpaired t-test depend on type of data. Results : Prevalence of bronchial hyperresponsiveness in Bangkok traffic police and police are 4.39% and 2.32% respectively with no significant statistical difference. No predictive factors that associated with positive result in brochoprovocative test. Conclusions : Prevalence of bronchial hyperresponsiveness between 2 group are not different. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31962 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1356 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1356 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kana_ka.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.