Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31990
Title: วิธีการสกัดรูปแบบการใช้งานของอ็อบเจกต์โดยการค้นคืนด้วยชนิดของบริบทที่หลากหลาย
Other Titles: Object usage pattern extraction using various types of context sensitive retrieval
Authors: ปารัช สุพงษ์พันธุ์
Advisors: พรศิริ หมื่นไชยศรี
นัยนา สหเวชชภัณฑ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornsiri.m@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การโปรแกรมเชิงวัตถุ
การค้นข้อสนเทศ
ซอฟต์แวร์ -- การพัฒนา
Object-oriented programming (Computer science)
Information retrieval
Computer software -- Development
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน นักพัฒนาซอฟต์แวร์นิยมใช้กรอบงานและไลบรารีมาช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด แต่กรอบงานและไลบรารีเหล่านี้เรียนรู้และใช้งานยาก เนื่องจากเอกสารการใช้งานไม่ได้อธิบายวิธีการใช้อย่างละเอียด อีกทั้งรูปแบบการใช้งานของกรอบงานและไลบรารีจะซับซ้อน และประกอบไปด้วยคลาสจำนวนมาก นักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงนิยมใช้โค้ดตัวอย่างเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้การใช้งาน และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอวิธีการสกัดรูปแบบการใช้งานโค้ดจากคลังข้อมูล เพื่อแนะนำตัวอย่างรูปแบบการใช้งานที่มีบริบทโค้ดใกล้เคียงกับโปรแกรมที่กำลังพัฒนาให้แก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ประโยชน์ที่ได้รับจากวิทยานิพนธ์นี้คือ (1) วิธีการสกัดรูปแบบการใช้งานอ็อบเจกต์ (2) ประเภทของการสืบค้นรูปแบบการใช้งานอ็อบเจกต์โดยใช้บริบทโค้ดชนิดต่างๆ ช่วยคัดกรองผลลัพธ์ จากการทดลองพบว่า วิธีการที่นำเสนอสามารถตอบโจทย์ได้ครบถ้วน และสามารถเรียงอันดับผลลัพธ์ตามความสอดคล้องกับซอฟต์แวร์ที่กำลังพัฒนาได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: Today, software developers rely on frameworks and libraries to create highly qualified and full-featured applications on-time. These frameworks and libraries, however, cause a steep learning curve due to the sheer number of classes and complex APIs. It is thus common practice for programmers to use code samples to guide their software development effort. To assist programmers, in this work, I have extended previous work to enable programmers to query a sample code repository for usage patterns relevant to the programming task at hand. In particular, this thesis has two contributions (i) the innovative extraction algorithms that accommodate the range of queries and constrains the extraction process as needed to answer the usage patterns of a given object type; and (ii) the various degrees of context-sensitive queries for providing best-fit usage patterns. The experiment has shown that the methodology has significant potential to solve the programming tasks, and to perform well coverage of tasks and rankings for best-fit usage patterns.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31990
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1359
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1359
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parat_su.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.