Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32004
Title: การออกแบบเครื่องมือ เพื่อกำจัดการปนเปื้อนด้วยแบคทีเรีย และฟังกัส ในระบบการเตรียมส่วนประกอบโลหิต และแยกส่วนประกอบของพลาสมา
Other Titles: Design of equipment to eliminate bacteria and fungus contamination in the system of blood component preparation and plasma fractionation
Authors: เอกชัย จิตต์รุ่งเรืองสุข
Advisors: อัมพิกา ไกรฤทธิ์
ชลัช ชวกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการออกแบบและทดสอบเครื่องมือเพื่อกำจัดการปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียและฟังกัส ในระบบการเตรียมส่วนประกอบโลหิต และแยกส่วนประกอบของพลาสมาซึ่งต้องการความสะอาดของสถานที่เป็นอย่างมาก และเพื่อป้องกันการติดเชื้อของผลิตภัณฑ์และวัสดุระหว่างผลิต โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องมือผลิตก๊าซโอโซนที่ใช้ในการกำจัดแบคทีเรียและฟังกัส โดยใช้หลอดอุลตราไวโอเลต ที่มีความยาวคลื่นของแสงต่ำกว่า 200 นาโนเมตร และวิเคราะห์ ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมในการผลิตของเครื่องมือนี้เปรียบเทียบกับวิธีการรมด้วยฟอร์มาลีนทำปฏิกิริยากับด่างทับทิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะของความสามารถในการกำจัดแบคทีเรียและฟังกัสของเครื่องมือในช่วงต้นของระยะเวลาการฉีดพ่น มีอัตราที่สูงกว่าช่วงระยะเวลาการฉีดพ่นที่มากขึ้น 2. ระยะเวลาการฉีดพ่นก๊าซโอโซนของเครื่องมือ ที่เหมาะสมต่อการกำจัดแบคทีเรีย และฟังกัส สำหรับสภาวะและขนาดของห้องตัวอย่างที่ทำการวิจัย คือ 4.0 ชั่วโมง โดยมีความสามารถในการกำจัดแบคทีเรียและฟังกัสได้ 84.7% และ 83.0% ตามลำดับ 3. จากการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่า การใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดแต่ละครั้งเมื่อเทียบกับการรมห้องด้วยวิธีเดิมได้ถึง 5.94 เท่า นอกจากนี้ การใช้เครื่องมือนี้ยังมีความสะดวกต่อการนำไปใช้งานมากกว่าและไม่มีสารเคมีที่จะตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน อีกด้วย
Other Abstract: This thesis was to design and test an equipment to eliminate bacteria and fungus contamination in the system of blood component preparation and plasma fractionation for protecting the disinfection of products and work-in process materials. The main task was to construct a set of ultraviolet lamp-ozone generated bulbs to eliminate bacteria and fungus. The wave length of the ultraviolet light is limited to less than 200 nm. Engineering economic analysis was also conducted to compare ozone fumigation method and the existing chemical method. The results are as follows: 1. Bacteria and fungus elimination rate is higher at the beginning of the fumigation process than that at later time. 2.The appropriate fumigation time for the tested room and conditions is 4 hours. The efficiencies to eliminate bacteria and fungus are 84.7% and 83.0%, respectively. 3. Engineering economic analysis shows a cost reduction of 5.94 times of the original procedure. Furthermore, the new method offers much easier and more convenient process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32004
ISBN: 9746323474
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eakkachai_ji_front.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open
Eakkachai_ji_ch1.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Eakkachai_ji_ch2.pdf9.08 MBAdobe PDFView/Open
Eakkachai_ji_ch3.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open
Eakkachai_ji_ch4.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open
Eakkachai_ji_ch5.pdf11.65 MBAdobe PDFView/Open
Eakkachai_ji_ch6.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Eakkachai_ji_back.pdf12.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.