Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32053
Title: | การพัฒนาโปรแกรมแสดงผลตัวอักษรไทยระบบเท็กซ์ |
Other Titles: | Development of a program for displaying Thai characters on the TeX system |
Authors: | พีรวัฒน์ ธรรมาภิมณฑ์ |
Advisors: | บุญเสริม กิจศิริกุล ธงชัย โรจน์กังสดาล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2539 |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการแสดงผลตัวอักษรไทยให้สามารถใช้งานได้กับการทำงานของระบบเท็กซ์มาตรฐานซึ่งเป็นระบบที่มีแนวโน้มว่าจะแพร่หลายต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ การวิจัยนี้เริ่มต้นจากการศึกษาการทำงานของระบบเท็กซ์และเมตาฟอนต์ ทำการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมสร้างตัวอักษรไทยขึ้นด้วยคำสั่งของเมตาฟอนต์ จากนั้นจะทำการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมสำหรับอ่านแฟ้มเอกสารที่ประกอบด้วยตัวอักษรไทยเข้าไปแล้วเปลี่ยนให้เป็นแฟ้มเอกสารรูปแบบที่เท็กซ์รู้จักและสามารถนำไปประมวลผลต่อได้ การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมสร้างตัวอักษรไทยทำได้โดยการศึกษาองค์ประกอบของตัวอักษรภาษาไทยแต่ละตัว ใช้คำสั่งของเมตาฟอนต์กำหนดตำแหน่งและสร้างภาพตัวอักษรแต่ละตัวภายในกล่องพร้อมทั้งให้ค่ารหัสแอสกีเพื่อที่จะนำไปเรียกใช้ต่อไป ในส่วนของการออกแบบโปรแกรมสำหรับอ่านแฟ้มเอกสารเพื่อที่เปลี่ยนเป็นรูปแบบที่เท็กซ์รู้จักนั้นจะใช้อัลกอริธึมตัดคำของ CW ในการหาจุดแทรกคำสั่งมาโครสำหรับจัดการกับภาษาไทย หลังจากนั้นจะนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเก็บไว้ในแฟ้มรูปแบบของเท็กซ์เพื่อทำการประมวลผลด้วยเท็กซ์ต่อไป ผลจากการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นทั้งหมดทำให้ผู้ใช้งานระบบเท็กซ์มีทางเลือกที่จะเรียกใช้ภาษาไทยได้ ซึ่งทำให้การใช้ภาษาไทยแพร่หลายต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is the development of displaying Thai characters to comply with standard TeX system which will be a world-wided system in the near future. This research started by studying the operating of TeX and METAFONT systems analize and design the program to read document file composed of Thai characters, change them into the format known and capable to be proceeded by TeX system. The analysis and design the program to generate Thai characters are done by studying the components of each character then using METAFONT’s instruction to locate the co-ordinates, draw them within the box and give the ASCII value in order to call them later. In the part of designing the program to read document file and changed it into the TeX-known format, CW words separating algorithms are used to seek the location to insert macro instructions to arrange Thai font and then the output will be stored in the TeX’s format file which will be proceeded later. An outcome of the above developed program allows the users to call Thai font on Tex systems leading to distribution of Thai language. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32053 |
ISBN: | 9746330365 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Perawat_ta_front.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Perawat_ta_ch1.pdf | 2.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Perawat_ta_ch2.pdf | 8.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Perawat_ta_ch3.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Perawat_ta_ch4.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Perawat_ta_ch5.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Perawat_ta_back.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.