Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32058
Title: อุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศไทยกับกฎหมายป้องกันการผูกขาด
Other Titles: Antitrust law implication and carbonated soft-drink industry in Thailand
Authors: พีระ พวงมาลา
Advisors: สุธรรม อยู่ในธรรม
สุธีร์ ศุภนิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหามาตรการทางกฎหมายป้องกันการผูกขาดที่เหมาะสมเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมการไม่แข่งขันด้านราคาของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจของประเทศ ผลการวิจัยพบว่าการไม่แข่งขันด้านราคาของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมเป็นสภาพที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากถูกกำหนดตลอดเวลาจากโครงสร้างตลาดที่เป็นแบบผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) หลักการของกฎหมายแม้ว่าจะเข้มงวดตามมาตรการของพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 ก็ตาม ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพโครงสร้างตลาดที่เป็นอยู่และทำให้โครงสร้างตลาดมีการแข่งขันเกิดขึ้นได้ วิถีทางของมาตรการทางกฎหมายที่อาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดหรือทำให้ตลาดดังกล่าวมีการแข่งขันเกิดขึ้นและอาจจะนำมาซึ่งการแข่งขันด้านราคาในที่สุดได้นั้น ต้องเป็นมาตรการที่เลือกควบคุมพฤติกรรมของผู้ที่มีอำนาจเหนือตลาดอยู่แล้วในตลาดน้ำอัดลมโดยตรง (Dominant Position) มิให้ใช้อำนาจที่มีอยู่เหนือผู้อื่นไปในทางมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายและไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่อยู่ในตลาดเดียวกัน และผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาในตลาด การควบคุมพฤติกรรมของผู้มีอำนาจเหนือตลาดดังกล่าว จะเอื้อประโยชน์ให้แก่คู่แข่งขัน ลูกค้า ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค และผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่ตลาด การนำหลักดังกล่าวมาปรับใช้จะทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งทางตลาดร่วมกันสูงสุดของตลาดน้ำอัดลมทั้งประเทศ ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ราย คือ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) จัดได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดแล้ว จึงไม่สามารถใช้อำนาจตลาดที่มีอยู่เพื่อกีดกันมิให้ผู้อื่นเข้ามาในตลาดได้ ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น ตลาดน้ำอัดลมจึงเปิดกว้างและอาจนำไปสู่การแข่งขันด้านราคาได้ในที่สุด
Other Abstract: The objective of this research is to seek appropriate antitrust measures to effectively control and curb non-price competition behavior in the carbonated soft-drink industry in Thailand. According to the research it indicates that the market structure of the carbonated soft-drink industry is Oligopoly. Therefore, non-price competition behavior is inevitable. In spite of stringent enforcement of Thailand Antitrust Law, B.E. 2522, such market structure persists and no additional competition is created. The only legal recourse to curb the oligopolistic nature of the market must be focused on control measures which selectively control conduct of players in the Dominant Position. This will control power abuse which can be damaging and unfair to other competitors, customers, suppliers, consumers, and new market entrants. Control of Dominant Position in the market will benefit competitors, customers, distributors, consumers and new market entrants. Use of the above mentioned control measures will ensure that dominant players in the carbonated soft-drink industry in Thailand, Thai Pure Drinks Limited and Sermsuk Public Company Limited, will not exercise their power because of their dominance to block out the new entrants. Therefore, barriers to new entry will be diminished. Hence, the market will be more open, leading to more price competition in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32058
ISBN: 9746332805
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pira_po_front.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open
Pira_po_ch1.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Pira_po_ch2.pdf11.96 MBAdobe PDFView/Open
Pira_po_ch3.pdf13.6 MBAdobe PDFView/Open
Pira_po_ch4.pdf13.87 MBAdobe PDFView/Open
Pira_po_ch5.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open
Pira_po_ch6.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open
Pira_po_back.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.