Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3206
Title: | ความขัดแย้งในแนวอุดมการณ์ทางการเมือง "เผด็จการรัฐนิยม" กับ "สังคมนิยมประชาธิปไตย" ในช่วง พ.ศ. 2475-2490 |
Other Titles: | Political conflicts during 1932-1947 : authoritarian versus social democratic ideologies |
Authors: | พอเนตร พึ่งหลวง, 2518- |
Advisors: | สุชาย ตรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Subjects: | ป. พิบูลสงคราม, จอมพล, 2440-2507 ไทย--การเมืองและการปกครอง, 2475-2490 สังคมนิยม ประชาธิปไตย เผด็จการ คณะราษฎร์ อุดมการณ์ทางการเมือง ปรีดี พนมยงค์, 2443-2526 |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความขัดแย้งในแนวทางอุดมการณ์ทางการเมืองแบบ "เผด็จการรัฐนิยม" กับ "สังคมนิยมประชาธิปไตย" ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475-2490 เป็นการศึกษาที่มุ่งตรงต่อด้านอุดมการณ์ที่ว่า ปัจจัยทางด้านอุดมการณ์เป็นปัจจัยหนึ่งร่วมกับปัจจัยอื่น ได้แก่ ปัจจัยด้านอำนาจและผลประโยชน์ ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างกลุ่มของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และกลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ ในช่วงเวลาดังกล่าว การศึกษาจึงนำเสนอสาเหตุของความขัดแย้งในสังคมไทยระหว่างบุคคล 2 กลุ่มดังกล่าวว่ามีลักษณะเป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ และจากการศึกษาค้นคว้าทางด้านเอกสาร คือ เอกสารชั้นต้น เช่น สุนทรพจน์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม และงานเขียนของนายปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับเอกสารชั้นรองที่นักวิชาการท่านอื่นได้ศึกษาเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ในช่วง พ.ศ. 2475-2490 ได้พบว่าความขัดแย้งในกลุ่มผู้นำไทยระหว่างกลุ่มจอมพล ป. พิบูลสงคราม กับ กลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ ในช่วงเวลา พ.ศ. 2475-2490 นั้น มีเงื่อนแง่ของความแตกต่างของอุดมการณ์ หรือระบบความคิดทางการเมือง ที่ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งขึ้น แม้รูปแบบความขัดแย้งทางอุดมการณ์จะไม่เด่นชัด เท่าความขัดแย้งด้านอำนาจและผลประโยชน์ ที่มักจะถูกนำมาใช้อธิบายว่าเป็นเหตุของความขัดแย้ง แต่จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า สังคมไทยมีความขัดแย้งในแนวทางอุดมการณ์อยู่จริง และหากพิจารณาอย่างถ่องแท้จะเห็นความเชื่อมโยงได้ว่า การต่อสู้เพื่ออุดมการณ์หรือระบบความคิด ยังคงเป็นความขัดแย้งหลักประการหนึ่งในสังคมไทย ซึ่งเห็นได้จาก การต่อสู้เรียกร้องในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคความเป็นธรรมในด้านต่างๆ ในสังคม รวมไปจนถึงข้อคิดเห็นต่างๆ ที่มีต่อเรื่องเกี่ยวกับชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นต้น |
Other Abstract: | This thesis assumes that ideological factor is a key factor, coopting other factor: power and interest that raised conflict between field Marshall Por Phibulsongkram's group and Pridi Bhanomyong's group in the period. This thesis thus presents one of the causes of conflict between those two groups, which is ideological conflict. Many documents, primary and secondary, are used including speeches of Field Marshall Por Phibulsongkram, the writings of Pridi Bhanomyong, and secondary documents of 1932-1947 period researched by many academics. The findings are that the conflict among Thai elites, Por Phibulsongkram and Pridi Bhanomyong during 1932-1947 was governed by the difference of their political ideologies. Though its ideological conflict was not quite apparent as conflict of power and of interest which have been commonly and widely applied to explain the source of conflict. Nontheless, this findings suggest that ideological conflict does exist in Thai society. When considering further, the struggle for ideologies or thought systems, still be one of the key conflicts in Thai society for example, the fight for right, freedom, equality, and fairness in society, including opinions about nation, religion and the royalty. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3206 |
ISBN: | 9741702515 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
PornaidPu.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.