Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32082
Title: บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนากับการเข้าร่วมโครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ของชาวบ้านห้วยยาง จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: The role of monks in local development and participation of villagers through a case study of Pandintam Pandintong project, Huwyang village, Udon Thane
Authors: พูนทรัพย์ สิทธิพรหม
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การสื่อสารระหว่างบุคคล
สงฆ์กับการพัฒนาชนบท
โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง
การพัฒนาชุมชน -- ไทย
ห้วยยาง (อุดรธานี)
Interpersonal communication
Community development
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความน่าเชื่อถือพฤติกรรมการสื่อสาร และบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่นในเขตหมู่บ้านห้วยยาง กับการยอมรับโครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทองของประชาชนในเขตบ้านห้วยยาง ตำบลโพนสูง อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจตัวแปรที่เกิดขึ้นแล้วด้วยการวัดผลครั้งสุดท้ายครั้งเดียว ประชากรในการศึกษาคือชาวบ้านในเขตหมู่บ้านห้วยยาง ตำบลโพนสูง อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 156 คน ที่ยอมรับโครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ประชากรมีความเชื่อถือในพระสงฆ์ ไว้วางใจในตัวพระสงฆ์ เชื่อในความสามารถใช้สติปัญญาไหวพริบในการแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน เชื่อในความกระตือรือร้นของพระสงฆ์ และเชื่อในทักษะการสื่อสารของพระสงฆ์ ซึ่งความเชื่อของประชากรมีความสัมพันธ์กับการยอมรับโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองของชาวบ้านห้วยยาง อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี นอกจากนั้นยังพบว่า ทักษะในการสื่อสารของพระสงฆ์เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับโครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทองของชาวบ้านห้วยยางมากที่สุด รองลงมาเป็นตัวแปรเกี่ยวกับความน่าไว้วางใจในพระสงฆ์ การศึกษาวิจัยนี้ทำให้เข้าใจได้ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับประชาชนมีมากขึ้น ในสาระสำคัญว่า พระสงฆ์เป็นสื่อบุคคลที่สามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดียิ่ง ทั้งนี้เพราะในทัศนะของชาวบ้านห้วยยาง เห็นว่าพระสงฆ์นั้นนอกจากจะเป็นบุคคลที่น่าศรัทธานับถืออย่างสูงแล้ว ยังเป็นบุคคลที่มีทักษะในการสื่อสารเป็นอย่างดียิ่งด้วย
Other Abstract: The main purpose of this study was to identify the relationship between Buddhist monks’ trustfulness, communication behavior, and role in rural development of Ban Hauy-Yang, Ponsoong, Chaivan district, Udonthanee Province and their acceptation and the participation in Pandin-Dham Pandin-Thong project. The survey study was conducted according the lest final evaluation of variables. The one hundred and fifty six correspondents were selected for being accepted and participed in Pandin-Dham Pandin-Thong project. The method of data collection was employed as questionnaire with interview. The major findings indicated that the monks were to be faithful, assuring, thoughful for problem-solving, encouraging, and skillful for effective communication. All correspondents had faith in monks related to their acceptation for participation in the Pandin-Dham Pandin-Thong project.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32082
ISBN: 9745773409
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonsap_si_front.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Poonsap_si_ch1.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
Poonsap_si_ch2.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open
Poonsap_si_ch3.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Poonsap_si_ch4.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open
Poonsap_si_ch5.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open
Poonsap_si_back.pdf8.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.