Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32094
Title: | การลดเวลาการหยุดของสายการผลิตรถยนต์ด้วยระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง |
Other Titles: | Reduction of down time of automotive production line by using internal control system and risk management |
Authors: | ยมุนา ตรัสรู้ |
Advisors: | นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | napassavong.o@chula.ac.th |
Subjects: | รถยนต์ โรงงานผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตแบบลีน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมกระบวนการผลิต Automobiles Automobile factories Automobile industry and trade Lean manufacturing Risk management Process control |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาการหยุดของสายการผลิตรถยนต์ ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้คือน้อยกว่า100 ชั่วโมงต่อการผลิตรถยนต์ 400 คันต่อเดือนโดยอาศัยกรอบการบริหารความเสี่ยงตามแนวทาง 8 ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของCOSO จากการศึกษาพบว่ามีทั้งหมด 91 เหตุการณ์ที่ทำให้สายการผลิตหยุด จากนั้นทำการประเมินโดยพิจารณาโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและความรุนแรงพบว่ามี 16 เหตุการณ์ที่ถูกคัดเลือกมาแก้ไข โดยวิเคราะห์หาสาเหตุด้วยเทคนิค Why-Why Analysis จากนั้นนำเหตุการณ์ความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับไม่ได้มาพิจารณาหาทางจัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 50 แผนโดยมีค่าใช้จ่าย 3 แผน เป็นเงิน 243,000 บาท ที่เหลือ 47 แผนไม่มีค่าใช้จ่าย จากนั้นทำการรายงานและติดตามผล รวมทั้งมีการกำหนดและแก้ไขมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานเพื่อรักษามาตรฐานหลังการปรับปรุงไว้ ผลที่ได้คือสามารถลดเวลาการหยุดของสายการผลิตบรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยลดลงจาก 162.4 ชั่วโมงต่อการผลิตรถยนต์ 400 คันต่อเดือน เป็น 63.94 ชั่วโมง ต่อการผลิตรถยนต์ 400 คันต่อเดือนซึ่งคิดเป็น 60.63 % โดยมูลค่าความสูญเสียโอกาสทางการขายเวลาเดิมเฉลี่ย 92.69 ล้านบาทต่อเดือนลดลงเหลือเฉลี่ย 14.01 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็น 84.88 % และค่าใช้จ่ายในการทำงานล่วงเวลาเดิมเฉลี่ย3.4 ล้านบาทต่อเดือนลดลงเหลือเฉลี่ย 1.54 ล้านบาทต่อเดือน คิดเป็น 54.70 % |
Other Abstract: | The objective of this research was to reduce the downtime in automotive production line to an acceptable level of less than 100 hours per the production of 400 cars per month by using a framework of 8 steps of risk management and internal control (Enterprise Risk Management) of the COSO. According to the study, it was found that there were 91 situations causing the downtime in car production. After the situations had been evaluated with consideration on the likelihood and consequence, it was found that 16 situations were selected to be solved by analyzing the causes with the use of Why-Why Analysis. Fifty control plans were established with 3 expensed plans (243,000 baht) and 47 non- expensed plans. After operational risk treatments were implemented, the downtime in car production line could be reduced to the target under stability of control of the operation. The reduction was from 162.4 hours per the production of 400 cars per month to 63.94 hours per the production of 400 cars per month or 60.63%. The value of loss from opportunity cost was reduced from the average of 92.69 million baht per month to 14.01million baht per month or 84.88% .The value of loss from overtime cost was reduced from the average of 3.4 million baht per month to 1.54 baht per month or 54.70%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32094 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.315 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.315 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yamuna_tr.pdf | 7.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.