Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32112
Title: การปรับปรุงประสิทธิภาพการอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กโดยการใช้ Oxy burner
Other Titles: Efficiency improvement of ladle preheating by using oxy burner
Authors: วิริยะ โชติขันธ์
Advisors: มิ่งศักดิ์ ตั้งตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: mingsak.t@eng.chula.ac.th
Subjects: เบ้ารับโลหะหลอม
โลหะ -- การทำความร้อน
อุตสาหกรรมเหล็กกล้า
Foundry ladles
Metals -- Heating
Steel industry and trade
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เสนอผลการศึกษาด้วยการทดลอง เพื่อหาสภาวะทางความร้อนประสิทธิภาพการใช้พลังงานของการอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็ก ระหว่างการอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กด้วยแอร์เบิร์นเนอร์ (Air burner) ที่ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง กับการอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กด้วยออกซิเบิร์นเนอร์ (Oxy burner) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เบ้ารับน้ำเหล็กที่ใช้ในการศึกษามีขนาดความจุขนาด 18 ตันน้ำเหล็กงานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กด้วยแอร์เบิร์นเนอร์ 2 ครั้ง และอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กด้วยออกซิเบิร์นเนอร์ 3 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 1 และ 2 อุ่นด้วยโหมดอัตโนมัติ ส่วนครั้งที่ 3 อุ่นด้วยโหมดจ่ายเชื้อเพลิงสูง โดยในการทดลองแต่ละครั้งจะมีการอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็ก 2 กรณี คือ เบ้าเย็นและเบ้าร้อน จากการทดลองการอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กเย็นปรากฏว่า มีพลังงานสูญเสียในรูปก๊าซเสียและพลังงานสูญเสียอื่นๆ ของการอุ่นด้วยแอร์เบิร์นเนอร์ 59% ออกซิเบิร์นเนอร์โหมดอัตโนมัติและโหมดจ่ายเชื้อเพลิงสูงมีค่าประมาณ 31% ส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานของการอุ่นด้วยแอร์เบิร์นเนอร์มีค่าประมาณ 34% ออกซิเบิร์นเนอร์โหมดอัตโนมัติและโหมดจ่ายเชื้อเพลิงสูงมีค่าประมาณ 57% ส่วนการอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กร้อนปรากฏว่า มีพลังงานสูญเสียในรูปก๊าซเสียและพลังงานสูญเสียอื่นๆ ของการอุ่นด้วยแอร์เบิร์นเนอร์ 65% ออกซิเบิร์นเนอร์โหมดอัตโนมัติมีค่าประมาณ 43% โหมดจ่ายเชื้อเพลิงสูงมีค่าประมาณ 49% ส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานของการอุ่นด้วยแอร์เบิร์นเนอร์ 16% อุ่นด้วยออกซิเบิร์นเนอร์โหมดอัตโนมัติและโหมดจ่ายเชื้อเพลิงมีค่าประมาณ 30% สำหรับเบ้าเย็น การอุ่นเบ้ารับน้ำเหล็กด้วยออกซิเบิร์นเนอร์โหมดอัตโนมัติสามารถประหยัดพลังงานได้ 41% โหมดจ่ายเชื้อเพลิงสูงประหยัดพลังงานได้ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับแอร์เบิร์นเนอร์ สำหรับการอุ่นเบ้าร้อน ออกซิเบิร์นเนอร์โหมดอัตโนมัติสามารถประหยัดพลังงานได้ 58% โหมดจ่ายเชื้อเพลิงสูงสามารถประหยัดพลังงานได้ 56% เมื่อเปรียบเทียบกับแอร์เบิร์นเนอร์ นอกจากนี้ ออกซิเบิร์นเนอร์ยังลดเวลาการอุ่นเบ้าลง 40% โดยประมาณ
Other Abstract: This thesis presents experimental results of the ladle preheating efficiency and energy consumption in ladle preheating process. Two types of burners were taken under consideration. The oil-fired air burner and the gas-fired oxy burner. The 18 tons of liquid steel ladle was used for preheating. The ladle was preheated 2 times by the air burner and 3 times by the oxy burner. The first and second time of the oxy burner was set to an automatic mode while the third one was set to a high fire mode. In each time, the preheating process has a total of 4 steps. The first step preheats a cold ladle whereas the remaining ones preheat a hot ladle. For a cold ladle case, the amount of the flue gas loss and other loss is 59% in case of the air burner. The amount of the flue gas loss and other loss is 31% in case of the oxy burner. The efficiency of the air burner is 34%. The efficiency of the oxy burner in automatic and high fire mode is 57%. For a hot ladle case, the amount of the flue gas and other loss is 65% in case of the air burner. The amount of the flue gas and other loss is 43% in case of the oxy burner in automatic mode whereas high fire mode is 49%. The efficiency of air burner is 16%. The efficiency of the oxy burner in automatic and high fire mode is 30%. For a cold ladle, by comparing with the air burner preheating process, the oxy burner preheating process in automatic mode saves energy by 41% while that in high fire mode saves energy by 50%. For a hot ladle, the oxy burner preheating process in automatic mode saves energy by 58%. The oxy burner preheating process in high fire mode saves energy by 56%. Furthermore, the preheating period of time in case of oxy burner decreases by 40% compared with the air burner.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32112
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.328
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.328
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wiriya_ch.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.