Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32115
Title: การเปรียบเทียบผลการควบคุมค่าการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยในวอร์ฟารินคลินิกกับคลินิกทั่วไปของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Comparison of anticoagulation control among patients attending warfarin and general practice clinic in King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ชนัญญา ไชยอำพร
Advisors: ถาวร สุทธิไชยากุล
ศริญญา ภูวนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: s_taworn@hotmail.com
spuwanant@gmail.com
Subjects: การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ -- ไทย
วาร์ฟาริน -- ไทย
วาร์ฟาริน -- การใช้รักษา -- ไทย
สารกันเลือดเป็นลิ่ม
Blood coagulation disorders -- Thailand
Warfarin -- Thailand
Warfarin -- Therapeutic use -- Thailand
Anticoagulants (Medicine)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ :ระดับค่าการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยที่ได้รับยาวอร์ฟารินในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดปัญหาเลือดออกและลิ่มเลือดอุดตันสูง ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีการศึกษาในต่างประเทศที่สนับสนุนว่าวอร์ฟารินคลินิกสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมระดับค่าการแข็งตัวของเลือดเข้าเป้าหมายมากขึ้นแต่อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลที่เปรียบเทียบและแลดงผลการควบคุมค่าการแข็งตัวของเลือดโดยวอร์ฟารินคลินิกในประเทศไทย วิธีการศึกษา : การเก็บข้อมูลผู้ป่วยในวอร์ฟารินคลินิกเป็นแบบย้อนหลัง-ไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยทุกคนที่อยู่ในวอร์ฟารินคลินิกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2554 ส่วนข้อมูลในกลุ่มควบคุมได้จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ถูกเลือกมาแบบสุ่มในอัตราส่วน 1:1 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยในวอร์ฟารินคลินิก โดยผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอกอื่นๆของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่ได้รับยาวอร์ฟารินในช่วงเวลาเดียวกัน วัดผลโดยเปรียบเทียบสัดส่วนของระยะเวลาที่ค่าการแข็งตัวของเลือดอยู่ในช่วงการรักษาที่เหมาะสมซึ่งอ้างอิงตามแนวทางเวชปฏิบัติมาตรฐานหากไม่ได้ระบุไว้โดยชัดเจน และเปรียบเทียบการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยจำนวนกลุ่มละ 59 คนในวอร์ฟารินคลินิกและคลินิกทั่วไป ผู้ป่วยในวอร์ฟารินคลินิกมีระดับค่าการแข็งตัวของเลือดอยู่ในเป้าหมายเป็นระยะเวลา 55.8% ซึ่งสูงกว่าผู้ป่วยในคลินิกทั่วไปที่มีค่าการแข็งตัวของเลือดอยู่ในเป้าหมายเป็นระยะเวลา 43.4% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.043) ระยะห่างของการตรวจติดตามค่าการแข็งตัวของเลือดของผู้ป่วยในวอร์ฟารินคลินิกน้อยกว่าของคลินิกทั่วไป คือ 30 และ 76 วัน ตามลำดับ (p < 0.001) วอร์ฟารินคลินิกมีแนวโน้มการเกิดภาวะเลือดออกบ่อยกว่าแต่การเกิดลิ่มเลือดอุดตันน้อยกว่ากลุ่มคลินิกทั่วไปแต่อย่างไรก็ตามไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา : วอร์ฟารินคลินิกสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมระดับค่าการแข็งตัวของเลือดเข้าเป้าหมายมากขึ้นแต่ไม่ลดการการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาวอร์ฟาริน
Other Abstract: Background: The INR response to warfarin in clinical practice in Thailand was suboptimal with a higher rate of adverse events compared to international data. Growing evidence has documented the ability of anticoagulant clinic help patients receiving warfarin therapy achieve better outcomes, but there was no data to support the efficacy of anticoagulation control in anticoagulant clinic model in Thailand. Methods: We retro-prospectively collected data on all patients who were attending warfarin clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH) between November 2010 and October 2011. The historical control group was the patients who received warfarin therapy and were managed by their physicians during the same evaluation period. We evaluated the quality of warfarin management by calculating percentage of time of INR that was within the individual target therapeutic range in warfarin clinic as opposed to the control group over 12 months. The individual target therapeutic ranges were classified as standard guidelines unless otherwise indicated. We also measured the rate of thromboembolic and hemorrhagic complications in the both groups. Results: There were 59 patients in each group. The INR values of patients in warfarin clinic were within the therapeutic range 55.8% of time versus 43.4% of time for those in general practice clinic (p = 0.043). Shorter interval of INR measurement was found in warfarin clinic compare to the general practice (mean interval = 30 vs. 76 days, p < 0.001). Patients in the warfarin clinic tended to have more bleeding events and less thromboembolism compared to those in the general practice group, but there was no statistically significance. Conclusion: Warfarin clinic provided better anticoagulation control compared to general practice clinic did but the adverse events related to warfarin therapy were not significantly different.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32115
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.330
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.330
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chananya_ch.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.