Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32161
Title: | ปัจจัยทางกายภาพกับความแตกต่างของอุณหภูมิในพื้นที่เมือง : กรณีศึกษากรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Other Titles: | Physical factors and the viriarions of temperature in urban areas : a case study of Bangkok metropolis and its vicinity |
Authors: | อรรฆพล ห่อมณี |
Advisors: | นพนันท์ ตาปนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | อุณหภูมิในพื้นที่เมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ อาคาร -- ไทย -- กรุงเทพฯ ผังเมือง การใช้ที่ดิน -- การวางแผน Urban temperature -- Thailand -- Bangkok Buildings -- Thailand -- Bangkok City planning Land use -- Planning |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงอุณหภูมิที่เกิดขึ้นในเมือง โดยมุ่งเน้นถึงการศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะพื้นที่ประเภทต่างๆกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศในพื้นที่เมือง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา และเป็นแนวทางในการออกแบบชุมชนเมืองและวางผังเมืองต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลจากพื้นที่ศึกษา 5 พื้นที่ที่มีอุณหภูมิพื้นผิวและลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันโดยใช้การวิเคราะห์อุณหภูมิพื้นผิวภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท ช่วงคลื่นความร้อน (Landzat TM Thermal Band) และทำการสำรวจเพื่อเก็บข้อมูล จากนั้นใช้วิธีวิเคราะห์แบบ Simple linear regression เพื่อหาความสัมพันธ์ของลักษณะพื้นที่ประเภทต่างๆกับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศในพื้นที่เมือง โดยพบว่าเมื่อความหนาแน่นของเมือง ปริมาณพื้นที่มีสิ่งปลูกสร้างปกคลุมเพิ่มขั้น 50 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 0.19 และ 6.5 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนความสัมพันธ์ของปริมาณพื้นที่สีเขียวกับอุณหภูมินั้น มีความสัมพันธ์กันในลักษณะแปรผกผันกัน คือเมื่อปริมาณของพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิจะลดลง 3.5 องศาเซลเซียส หรือเมื่อปริมาณเมื่อความหนาแน่นของเมืองและปริมาณพื้นที่มีสิ่งปลูกสร้างปกคลุมเพิ่มขึ้นอุณหภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นและปริมาณของพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นอุณหภูมิอากาศจะลดลงตามไปด้วย ซึ่งแนวการในการแก้ไขปัญหาอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในเมือง คือการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มีปริมาณมากขึ้น และลดความหนาแน่นของสิ่งปลูกสร้างในเมือง |
Other Abstract: | The purpose of this research is to observe the changing of temperature focusing on the relationship between the changing of temperatur and the physical components of areas in the city. All knowledge that we got from the research will be used to make the impact & efficiency of city/village outlining in the future. During the research, the observer had observed 5 areas that were different in physical components and the temperature. After that the observer used the "Landzat TM Thermal band" to anaiyze and collect all inforrnation and then used the simple linear regression analysis method to find the relationship between the physical components of the areas and the temperature changed. The observer has found out that the city that has the density up to 50 percent of built-up coverage area will get 0.19 ℃ and 6.5℃ warmer than the areas covered by the green areas or trees. The research had shown that the green areas up to 50 percent will ge 3.5℃ colder. Therefor, the point of view is that the observer get from this research is to lower down the city's temperature by increasing the green areas and reducing buildings. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32161 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1412 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1412 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
akapol_ho.pdf | 3.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.