Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32166
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริชัย กาญจนวาสี | - |
dc.contributor.advisor | นงลักษณ์ วิรัชชัย | - |
dc.contributor.author | ภิรดี วัชรสินธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-06-14T07:31:57Z | - |
dc.date.available | 2013-06-14T07:31:57Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32166 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีบริบทแตกต่างกัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ด้วยเทคนิคแผนที่ผลลัพธ์ และ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้และเปรียบเทียบระดับความสำเร็จระหว่างสถาบันอุดมศึกษากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ใช้และไม่ใช้รูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ด้วยเทคนิคแผนที่ผลลัพธ์ การวิจัยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ความสำเร็จของการจัดการความรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 9 คน บุคลากรระดับบริหารและระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา 442 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จาก 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ระยะที่ 2 และ 3 การพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้จำนวน90 คน เครื่องมือหลักในการวิจัยได้แก่ 1) แบบประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ 2) แบบประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ที่ใช้แผนที่ผลลัพธ์ และ 3) แบบประเมินความสามารถในการจัดการความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของตัวบ่งชี้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุนาม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปรแฝงความสำเร็จของการจัดการความรู้ ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้หลักด้านประสิทธิผล 3 ตัว ตัวบ่งชี้รอง 8 ตัว และตัวบ่งชี้ย่อย 35 ตัว โมเดลการวัดความสำเร็จของการจัดการความรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้างสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยค่า Chi-square = 1.031, df = 1, p = 0.310, GFI = 0.987, AGFI = 0.960, RMSEA = 0.019, RMR = 0.008 แบบประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.651-0.988 และมีอำนาจจำแนกสูง 2) รูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ปรัชญาและหลักการ แนวคิดพื้นฐาน วัตถุประสงค์ กระบวนการและกิจกรรม ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ เครื่องมือวัด/ แบบบันทึกข้อมูล และแนวทางการนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาการจัดการความรู้ในสถาบัน อุดมศึกษา และ 3) การทดลองใช้รูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้พบว่า รูปแบบการประเมิน ช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรในเรื่องหลักการจัดการความรู้ หลักคิดสำคัญของแผนที่ผลลัพธ์ และสามารถนำไปใช้กำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ กำกับติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานจัดการความรู้ของหน่วยงานได้ ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการประเมินกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้รูปแบบพบว่า หลังทดลองกลุ่มทดลองมีความสามารถในการจัดการความรู้และมีระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม ขนาดอิทธิพลของการใช้รูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ที่มีต่อความสำเร็จที่เกิดขึ้นเท่ากับ 0.746 | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were 1) to develop the indicators and criteria for assessing knowledge management success within higher education institutions with different context; 2) to develop an evaluative model of KM success with outcome mapping technique application; and 3) to implement KM success evaluative model and compare the results of KM success between the experimental and control institutions with and without application of outcome mapping technique. This study was conducted in 3 phases. Phase 1 aimed to develop indicators and criteria of KM success. The samples consisted of 9 experts and 442 KM executives and operation staffs from 40 higher education institutions selected by stratified sampling method. Phase 2 and 3 were to develop and implement the KM success evaluative model. The samples of this phases consisted of 90 staffs from faculty of education. Data collection tools were 1) KM success evaluation form, 2) KM/ OM success evaluation form, and 3) KM capabilities evaluation form. Data were analyzed using descriptive statistics, confirmatory factor analysis (CFA) for validating of indicators, multivariate analysis of variance (MANOVA) and SEM analysis using LISREL. The results of the study were as follows; 1) the indicators for assessing KM success in higher education institutions comprised 3 main indicators of KM effectiveness, 8 minor indicators and 35 sub-indicators. The KM success measurement model had structural validation and fit to the empirical data with Chi-square = 1.031, df = 1, p = 0.310, GFI = 0.987, AGFI = 0.960, RMSEA = 0.019, RMR = 0.008. The KM success evaluation form had reliability between 0.651 - 0.988, and powerful discrimination; 2) the KM evaluative model comprised philosophy and principles, basic concept, objectives, procedures and activities, indicators and criteria, measurement tools/ data record form, and guidelines for using KM assessment result for KM development in higher education institutions; 3) the implementation of KM evaluative model showed that it could enhance the staff knowledge and understanding of KM principles and outcome mapping concept; and could additionally identify the KM goals, KM monitoring and KM evaluation of the institutions. The comparison between the experimental group and the control group indicated that after the experiment, the experimental group had more KM capability and KM success than the control group. The effect size of KM evaluation practice on KM success was 0.746. | en |
dc.format.extent | 6177627 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1413 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย | en |
dc.subject | การบริหารองค์ความรู้ -- การประเมิน | en |
dc.subject | ความสำเร็จ -- การประเมิน | en |
dc.subject | Universities and colleges -- Thailand | en |
dc.subject | Knowledge management -- Evaluation | en |
dc.subject | Success -- Evaluation | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการประเมินความสำเร็จของการจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา การประยุกต์ใช้เทคนิคแผนที่ผลลัพธ์และการวิเคราะห์เอสอีเอ็มแบบมีตัวแปรแฝง | en |
dc.title.alternative | Development of an evaluative model of knowledge management success in higher education institutions : an application of outcome mapping technique and SEM with latent variable | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sirichai.K@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Nonglak.W@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1413 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phiradee_wa.pdf | 6.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.